Loading...

01. หน่วยวิจัยด้านการสังเคราะห์และการประยุกต์ใช้แกรฟีนแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

Thammasat University Research Unit in Synthesis and Applications of Graphene

หัวหน้าหน่วยวิจัย :

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. อรรฆวัชร รวมไมตรี

สังกัด :

คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

     พันธกิจของหน่วยวิจัย

     - ส่งเสริมและสนับสนุนการศึกษาการสังเคราะห์แกรฟีนโดยใช้วัสดุที่หาได้ง่ายในประเทศหรือวัสดุที่เป็นขยะของเสียที่เป็นปัญหาต่อสิ่งแวดล้อม เพื่อให้ได้แกรฟีนราคาประหยัดและลดปัญหาสิ่งแวดล้อม

     - ส่งเสริมและสนับสนุนการศึกษาการประยุกต์ใช้แกรฟีนเพื่อให้เกิดผลิตภัณฑ์ชนิดใหม่หรือปรับปรุงผลิตภัณฑ์เดิมให้มีประสิทธิภาพดียิ่งขึ้น

     - ส่งเสริมและเผยแพร่ผลงานวิจัยสู่สังคมและวงวิชาการ

     วัตถุประสงค์ของหน่วยวิจัย

     - ศึกษาการสังเคราะห์แกรฟีนโดยใช้วัสดุที่หาได้ง่ายในประเทศหรือวัสดุที่เป็นขยะของเสียที่เป็นปัญหาต่อสิ่งแวดล้อม เพื่อให้ได้แกรฟีนราคาประหยัดและลดปัญหาสิ่งแวดล้อม

     - ศึกษาการประยุกต์ใช้แกรฟีนเพื่อให้เกิดผลิตภัณฑ์ชนิดใหม่หรือปรับปรุงผลิตภัณฑ์เดิมให้มีประสิทธิภาพดียิ่งขึ้น

     - ส่งเสริมและเผยแพร่ผลงานวิจัยสู่สังคมและวงวิชาการ

02. หน่วยวิจัยด้านการเรียนรู้ข้อมูลแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

Thammasat University Research Unit in Data Learning

หัวหน้าหน่วยวิจัย :

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. แสงดาว วงค์สาย

สังกัด :

คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

     พันธกิจของหน่วยวิจัย

     - สร้างผลงานวิจัยและนวัตกรรมข้อมูลเพื่อชี้นำสังคม

     - สร้างสังคมการเรียนรู้ข้อมูลทุกช่วงวัย

     วัตถุประสงค์ของหน่วยวิจัย

     - ใช้ความรู้ การวิจัย และนวัตกรรมด้านคณิตศาสตร์และสถิติ เพื่อตอบโจทย์ปัญหาท้าทายระดับชุมชน สังคม และประเทศชาติ สอดคล้องกับยุทธศาสตร์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี

     - พัฒนาระบบนิเวศการเรียนรู้ (Learning ecosystem) เพื่อการเติมความรู้และทักษะ (Reskill) การยกระดับความรู้และทักษะ (Upskill) การเสริมความรู้และทักษะ (Newskill) และการถ่ายทอดองค์ความรู้ (Knowledge transferring) สนับสนุนการเรียนรู้ตลอดชีวิตที่เข้าถึงได้สำหรับทุกคน

03. หน่วยวิจัยด้านนวัตกรรมทางเทคนิคการแพทย์และการแพทย์แม่นยำแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

Thammasat University Research Unit in Medical Technology and Precision Medicine Innovation

หัวหน้าหน่วยวิจัย :

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ฌลณต เกษตร

สังกัด :

คณะสหเวชศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

     พันธกิจของหน่วยวิจัย

     - สร้างนวัตกรรมทางเทคนิคการแพทย์บนพื้นฐานงานวิจัยสู่การนำไปใช้ได้จริง

     - สร้างโอกาสในการเข้าถึงและใช้ประโยชน์ของนวัตกรรมสู่ชุมชน และการต่อยอดนวัตกรรมเพื่อสร้างมูลค่าในเชิงพาณิชย์

     - เผยแพร่นวัตกรรมทางเทคนิคการแพทย์ผ่านทางผลงานวิจัยและการจดอนุสิทธิบัตรหรือสิทธิบัตร

     - สร้างนักศึกษาให้มีความคิดริเริ่มในการสร้างสรรค์ผลงานในเชิงนวัตกรรม

     วัตถุประสงค์ของหน่วยวิจัย

     - เพื่อสร้างนวัตกรรมทางเทคนิคการแพทย์ที่มาจากปัญหาของผู้ใช้ (Pain point)

     - เพื่อวิจัยและพัฒนานวัตกรรมเพื่อใช้ได้จริงและมีข้อมูลสนับสนุนตามหลักทางวิทยาศาสตร์

     - เพื่อเผยแพร่นวัตกรรมและการใช้ประโยชน์สู่ชุมชนและสังคม

     - เพื่อตีจัดทำผลงานวิจัยสำหรับการตีพิมพ์ในวารสารนานาชาติที่มีในฐานข้อมูล Scopus, Web of Science และ SJR

     - เพื่อผลิตบัณฑิตในระดับปริญญา ตรี โท และเอก ที่มีผลงานวิจัยและนวัตกรรมเป็นพื้นฐาน

04. หน่วยวิจัยด้านการพัฒนายา ผลิตภัณฑ์สุขภาพและการนำไปใช้แห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

Thammasat University Research Unit in Drug, Health Product Development and Application (DHP-DA)

หัวหน้าหน่วยวิจัย :

รองศาสตราจารย์ ดร. รัฐพล อาษาสุจริต

สังกัด :

คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

     พันธกิจของหน่วยวิจัย

     - บูรณาการงานวิจัยด้านยา ผลิตภัณฑ์สุขภาพ เพื่อการนำไปใช้ยกระดับคุณภาพชีวิตของประชาชน

     วัตถุประสงค์ของหน่วยวิจัย

     - พัฒนาองค์ความรู้ด้านการพัฒนายา ผลิตภัณฑ์สุขภาพ และการนำไปใช้

     - จัดทำงานวิจัยเชิงบูรณาการด้านยาและผลิตภัณฑ์สุขภาพ ที่มีศักยภาพในการนำไปใช้ได้จริง

05. หน่วยวิจัยทางด้านเศรษฐศาสตร์ระหว่างประเทศแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

Thammasat University Research Unit in International Economics

หัวหน้าหน่วยวิจัย :

รองศาสตราจารย์ ดร. อาชนัน เกาะไพบูลย์

สังกัด :

คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

     พันธกิจของหน่วยวิจัย

     - พัฒนาให้เป็นหน่วยวิจัยชั้นนำของประเทศที่ผลิตงานวิชาการคุณภาพสูงทางด้านเศรษฐศาสตร์ระหว่างประเทศ

     - ตีพิมพ์ผลงานวิชาการของหน่วยในวารสารชั้นนำในฐาน SCOPUS หรือเทียบเท่าเพื่อสร้างชื่อเสียงให้มหาวิทยาลัยในฐานะการเป็นมหาวิทยาลัยแห่งการวิจัยและเผยแพร่ข้อเท็จจริงเกี่ยวกับเศรษฐกิจไทย

     - พัฒนาเครือข่ายนักวิจัยทั้งในและต่างประเทศเพื่อเตรียมจัดตั้งศูนย์ความเป็นเลิศทางด้านเศรษฐกิจระหว่างประเทศต่อไป

     - เป็นที่พึ่งทางด้านวิชาการแก่สังคมไทยในประเด็นเศรษฐกิจระหว่างประเทศ

     วัตถุประสงค์ของหน่วยวิจัย

     - ติดตามประเด็นวิจัยที่สำคัญทางด้านเศรษฐศาสตร์ระหว่างประเทศเพื่อกำหนดโจทย์วิจัยที่สำคัญต่อการพัฒนาเศรษฐกิจของไทยและวิเคราะห์ช่องโหว่ขององค์ความรู้ที่มีอยู่ทั้งในงานวิจัยและบทวิเคราะห์ต่าง ๆ

     - ผลิตผลงานวิชาการที่มีคุณภาพสูงและมีนัยต่อการอย่างต่อเนื่องเพื่อสร้างความสมดุลทางความคิดและเป็นที่พึ่งทางความรู้ให้กับสังคม

     - เตรียมบทความวิชาการเพื่อส่งไปยังวารสารที่อยู่ในฐาน SCOPUS

     - เข้าร่วมทำวิจัยกับกลุ่มนักวิจัยนานาชาติใน Platform ต่าง ๆ เช่น การร่วมทำวิจัยกับนักวิจัยต่างชาติ การทำงานที่ปรึกษาให้กับองค์กรระหว่างประเทศ และ/หรือการมีส่วนเขียนหนังสือ/ตำราในหัวข้อสำคัญ ๆ ทางด้านเศรษฐศาสตร์ระหว่างประเทศเพื่อเสริมสร้างความเข้มแข็งของเครือข่ายวิจัยระดับนานาชาติและแลกเปลี่ยนองค์ความรู้ระหว่างกลุ่มนักวิจัย

     - นำเสนอผลงานวิชาการในเวทีต่าง ๆ ทั้งในลักษณะนำเสนอผลงานวิชาการและบรรยายให้กับส่วนราชการและ/หรือหน่วยงานภาคเอกชนภายในประเทศ

06. หน่วยวิจัยด้านสถาปัตยกรรมเพื่อชีวิตและสิ่งแวดล้อมยั่งยืนแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

Thammasat University Research Unit in Architecture for Sustainable Living and Environment

หัวหน้าหน่วยวิจัย :

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. ดารณี จารีมิตร

สังกัด :

คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์และการผังเมือง มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

     พันธกิจของหน่วยวิจัย

     - ดำเนินการวิจัยเพื่อให้ได้มาถึงข้อมูล และองค์ความรู้ที่สามารถนำไปสร้างแนวคิดในการออกแบบสถาปัตยกรรมที่เสริมสร้างคุณภาพชีวิตและสิ่งแวดล้อมที่ยั่งยืน

     - ออกแบบสถาปัตยกรรมที่ส่งเสริมคุณภาพชีวิตและสิ่งแวดล้อมที่ยั่งยืน โดยใช้ผลจากการวิจัย

     - เผยแพร่ผลงานวิจัยและการออกแบบเพื่อให้เกิดการกระจายองค์ความรู้สู่สังคม ซึ่งช่วยทำให้เกิดความเข้าใจที่ถูกต้องของรูปแบบสถาปัตยกรรมที่ส่งผลต่อการมีคุณภาพชีวิตที่ดีและทำให้เกิดความยั่งยืนในระบบสิ่งแวดล้อม

     วัตถุประสงค์ของหน่วยวิจัย

     - ศึกษาแนวคิด ทฤษฎี และแนวทางการออกแบบทางสถาปัตยกรรมและสภาพแวดล้อมเพื่อส่งเสริมคุณภาพชีวิตและสิ่งแวดล้อมที่ยั่งยืน

     - นำเสนอแนวทางการออกแบบสถาปัตยกรรมที่ส่งเสริมคุณภาพชีวิตและสิ่งแวดล้อมที่ยั่งยืนที่ตอบสนองความเป็นอยู่ในสภาพสังคมในประเทศไทยที่มีภูมิอากาศแบบร้อน-ชื้น

     - สร้างองค์ความรู้และการออกแบบสถาปัตยกรรมที่ส่งเสริมคุณภาพชีวิตและสิ่งแวดล้อมที่ยั่งยืนที่ตอบสนองความเป็นอยู่ในสภาพสังคมในประเทศไทยที่มีภูมิอากาศแบบร้อน-ชื้น

07. หน่วยวิจัยอนาคตและนโยบายเมืองแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

Thammasat University Research Unit in Urban Futures and Policy

หัวหน้าหน่วยวิจัย :

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. วิจิตรบุษบา มารมย์

สังกัด :

คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์และการผังเมือง มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

     พันธกิจของหน่วยวิจัย

     พันธกิจหลักของหน่วยวิจัย เป็นไปเพื่อขับเคลื่อนประเด็นยุทธศาสตร์ของมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ 2 ประเด็นด้วยกัน กล่าวคือ ประเด็นยุทธศาสตร์ที่ 2 : สร้างสรรค์งานวิจัยและนวัตกรรมที่ก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในเชิงพัฒนาต่อ สังคมไทยและสังคมโลก และ ประเด็นยุทธศาสตร์ที่ 3: สร้างเครือข่ายความร่วมมือทั้งภายในและภายนอกประเทศ โดยมีรายละเอียดดังต่อไปนี้

     ­   - เพื่อเป็นหน่วยวิจัยที่มีความเชี่ยวชาญด้านความยั่งยืนของเมือง (urban sustainability) และการปรับตัวเพื่อรองรับการเปลี่ยนแปลงเมืองรอบด้าน (global change) ไม่ว่าจะเป็นการเปลี่ยนแปลงที่เกิดจากการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศ (climate change) และการพัฒนาเมือง (urban development) ด้านต่าง ๆ ที่ส่งผลกระทบต่อคุณภาพชีวิตของคนเมือง สอดคล้องกับประเด็นยุทธศาสตร์ที่ 2 ของมหาวิทยาลัยในการผลิตงานวิจัยที่ได้มาตรฐานและแก้ไขปัญหาของสังคม และสอดคล้องกับนโยบายรัฐบาลในการขับเคลื่อนประเทศสู่การพัฒนาที่ยั่งยืน

     ­   - เพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตของคนในเมืองทุกระดับ (inclusive & sustainable livelihood) ผ่านการจัดสรรทรัพยากรด้านต่าง ๆ ที่เป็นธรรม ลดความไม่เท่าเทียม ไม่ว่าจะเป็นทรัพยากรที่ดิน น้ำ อาหาร พลังงาน ซึ่งทรัพยากรเหล่านี้จะมีความแปรปรวนและจัดการยากมากขึ้นในอนาคต สอดคล้องกับนโยบายรัฐบาลที่มุ่งลดความเหลื่อมล้ำซึ่งเป็นนโยบายที่รัฐบาลให้ความสำคัญในระดับสูงผ่านการพัฒนาอย่างมีส่วนร่วมทุกภาคส่วนโดยไม่ทอดทิ้งใครไว้ข้างหลัง

     ­   - นำเสนอข้อเสนอแนะเชิงนโยบาย (policy recommendation) และตีพิมพ์ผลงานวิจัยในวารสารวิชาการในระดับสากล ที่เกี่ยวกับการพัฒนาเมืองด้านต่าง ๆ เช่น ระบบที่อยู่อาศัย การวางแผนการใช้ประโยชน์ที่ดิน การวางแผนโครงสร้างพื้นฐาน และการให้บริการสาธารณะของเมืองที่เกี่ยวข้อง สอดคล้องกับประเด็นยุทธศาสตร์ที่ 2 ของมหาวิทยาลัยที่สนับสนุนการสร้างสรรค์งานวิจัยเชิงนโยบายที่ท้าทาย ทันสมัย ช่วยแก้ไขปัญหาสังคม อีกทั้งสนับสนุนการพัฒนาที่ยั่งยืนตามนโยบายของรัฐบาล

     ­   - ส่งเสริมกระบวนการพัฒนาเมืองอย่างมีส่วนร่วม โดยการปรึกษาหารือและกระบวนการที่มีความโปร่งใส ผ่านการใช้ทั้งเทคโนโลยีสารสนเทศ (information technology) และการแลกเปลี่ยนเชิงสนทนา (dialogue) สอดคล้องกับการพัฒนาประเทศสู่เป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนตามนโยบายรัฐบาล และตามเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนขององค์การสหประชาชาติ

     ­   - เพื่อเชื่อมโยงเครือข่ายนักวิจัยด้านเมืองยั่งยืนทั้งในประเทศไทย ระดับภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ที่มีบริบทใกล้เคียงกัน และ ระดับโลก ที่ประสพปัญหาด้านสภาพความเป็นเมือง (urban conditions) ความไม่ยั่งยืน และได้รับผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศ สอดคล้องกับประเด็นยุทธศาสตร์ที่ 3: สร้างเครือข่ายความร่วมมือทั้งภายในและภายนอกประเทศ ของมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

     วัตถุประสงค์ของหน่วยวิจัย

     เพื่อขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ของมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ทั้งประเด็นยุทธศาสตร์ที่ 2 และ ที่ 3 วัตถุประสงค์ของหน่วยวิจัยเป็นไปเพื่อ ส่งเสริมและสนับสนุนการ ผลิตผลงานวิจัยและนวัตกรรม ที่ท้าทาย ทันสมัย และสอดคล้องกับนโยบายรัฐบาล (ตามโมเดล ประเทศไทย4.0) และการแก้ปัญหาของประเทศ โดยเฉพาะอย่างยิ่งประเด็นการส่งเสริมประชาธิปไตย (Democracy) การให้ข้อเสนอแนะเชิงนโยบาย (Policy Recommendation) และ ด้านพลังงานและสิ่งแวดล้อม (Energy & Environment) โดยมีรายะเอียดของวัตถุประสงค์ของหน่วยวิจัยดังนี้

        - การทำวิจัยเชิงประยุกต์ (applied research) เพื่อสร้างการพัฒนาเมืองอย่างยั่งยืน ที่สามารถนำไปสู่การปฏิบัติได้จริง และมีนวัตกรรมเชิงนโยบาย เพื่อแก้ไขปัญหาความไม่ยั่งยืน ไม่รองรับการเปลี่ยนแปลง และมีความไม่เท่าเทียมของการพัฒนาเมืองในประเทศไทยทั้งในปัจจุบันและอนาคต

        - สร้างนวัตกรรมในการสนับสนุนการพัฒนาเมืองอย่างมีส่วนร่วม เกิดสังคมที่มีความเท่าเทียมมากขึ้น ผ่านการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ การใช้เกม การสนทนาอย่างมีระบบ (innovation for social deliberative process เช่นงานเกมและเครื่องมือที่ทีมวิจัยได้เคยออกแบบไว้ในการวางแผนเมืองอย่างมีส่วนร่วม)

     ­   - ขยายเครือข่ายความร่วมมือทางวิชาการและวิจัยกับมหาวิทยาลัยชั้นนำในต่างประเทศ ทั้งในกลุ่มประเทศ CLMV และ ASEAN รวมถึงในระดับสากล (ขยายผลจากเครือข่ายงานวิจัยที่ผ่านมา)

        - สร้างเครือข่ายความร่วมมือระหว่างสถาบันทั้งภาครัฐและเอกชนในประเทศไทย ด้านการพัฒนาเมืองอย่างยั่งยืน ผ่าน platform ต่าง ๆ เช่น การจัดเวทีเสวนา การระดมสมอง การจัดประชุมเชิงปฏิบัติการ การนำเสนอผลงาน ช่องทาง social media สื่อสิ่งพิมพ์ (ขยายผลจากเครือข่ายงานวิจัยที่ผ่านมา)

        - เผยแพร่องค์ความรู้งานวิจัยผ่านการตีพิมพ์ลงในวารสารวิชาการ(ฐานข้อมูลระดับสากล) ข้อเสนอแนะเชิงนโยบาย (policy recommendation) เอกสารสิ่งพิมพ์รูปแบบอื่น ๆ และบทความออนไลน์ทางสื่อต่าง ๆ

08. หน่วยวิจัยด้านเคมีผลิตภัณฑ์ธรรมชาติและฤทธิ์ทางชีวภาพแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

Thammasat University Research Unit in Natural Products Chemistry and Bioactivities

หัวหน้าหน่วยวิจัย :

อาจารย์ ดร. จีราพัสฐ์ สีแจ่ม

สังกัด :

คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

     พันธกิจของหน่วยวิจัย

     - พันธกิจหลักของหน่วยวิจัยด้านเคมีผลิตภัณฑ์ธรรมชาติและฤทธิ์ทางชีวภาพ คือการเป็นหน่วยวิจัยชั้นนำในการพัฒนาองค์ความรู้ใหม่ด้านนวัตกรรมเคมีผลิตภัณฑ์ธรรมชาติและฤทธิ์ทางชีวภาพและสร้างเครือข่ายและความร่วมมือในการทำงานวิจัยร่วมกับเครือข่ายวิจัยต่าง ๆ ระหว่างมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์ลำปาง และหน่วยงานภายนอกมหาวิทยาลัย ทั้งภาครัฐและภาคเอกชน เพื่อเป็นหน่วยวิจัยในการทำวิจัยด้านวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีและนวัตกรรมเคมีผลิตภัณฑ์ธรรมชาติและฤทธิ์ทางชีวภาพเชิงพื้นที่ รวมทั้งเป็นหน่วยวิจัยพัฒนาเคมีผลิตภัณฑ์ธรรมชาติและฤทธิ์ทางชีวภาพที่มีการฝึกอบรมการใช้ประโยชน์ในด้านต่าง ๆ ตามที่ได้รับมอบหมายจากมหาวิทยาลัย

     วัตถุประสงค์ของหน่วยวิจัย

     - เพื่อสร้างองค์ความรู้ นวัตกรรม และพัฒนาศักยภาพการทำงานวิจัยให้กับนักวิจัย

     - เพื่อสร้างผลิตภัณฑ์และนวัตกรรมที่ได้มาตรฐานระดับสากลและใช้ประโยชน์เชิงพาณิชย์ได้

     - เพื่อผลิตผลงานวิชาการที่มีคุณภาพเผยแพร่ในระดับชาติและนานาชาติ

     - เพื่อสร้างเครือข่ายและความร่วมมือในการทำงานวิจัยเชิงบูรณาการระดับชาติและนานาชาติ

09. หน่วยวิจัยด้านวัสดุผลึกเชิงหลายหน้าที่และการประยุกต์แห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

Thammasat University Research Unit in Multifunctional Crystalline Materials and Applications

หัวหน้าหน่วยวิจัย :

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. กิตติพงศ์ ไชยนอก

สังกัด :

คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

     พันธกิจของหน่วยวิจัย

     - สร้างความเป็นเลิศทางวิชาการด้านเคมีวัสดุ และเป็นหน่วยวิจัยด้านผลึกศาสตร์ (X-Ray Crystallography) อันดับหนึ่งของประเทศ เพื่อยกระดับการศึกษาด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีให้สอดคล้องกับยุคสมัย เพื่อให้มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ก้าวสู่ความเป็นผู้นำ

     - การผลิตผลงานวิจัยคุณภาพระดับ Frontier Research ตีพิมพ์ในวารสารชั้นนำในฐานข้อมูล SCOPUS/ISI Q1-Q4 อย่างน้อย 5 เรื่องต่อปี

     - ผลิตนักศึกษาบัณฑิตระดับปริญญาโท-เอก ที่มีความรู้ ประสบการณ์ ทักษะขั้นสูงด้านเคมี/วัสดุศาสตร์/ผลึกศาสตร์ และมีความเชี่ยวชาญในการใช้เครื่องมือวิทยาศาสตร์ขั้นสูง สามารถวิเคราะห์และแก้ไขปัญหาได้อย่างมีเหตุมีผล

     - สร้างเครือข่ายด้านการวิจัยทั้งในและต่างประเทศผ่านการจัดประชุมวิชาการ และการประชุมเชิงปฏิบัติการ

     วัตถุประสงค์ของหน่วยวิจัย

     - ผลิตผลงานวิจัยคุณภาพระดับ Frontier Research ตีพิมพ์ในวารสารชั้นนำในฐานข้อมูล SCOPUS/ISI Q1-Q4 อย่างน้อย 5 เรื่องต่อปี

     - ผลิตบุคลากรด้านการวิจัยระดับปริญญาโท-เอก ที่มีความรู้ และทักษะขั้นสูงด้านเคมี วัสดุศาสตร์ ผลึกศาสตร์ และมีความเชี่ยวชาญในการใช้เครื่องมือวิทยาศาสตร์ขั้นสูง สามารถวิเคราะห์และแก้ไขปัญหาได้อย่างมีเหตุมีผล

     - สร้างเครือข่ายด้านการวิจัยทั้งในและต่างประเทศ

     - ยกระดับการศึกษาด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีให้ทันยุคสมัย เพื่อให้คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ก้าวสู่ความเป็นผู้นำด้านเคมีวัสดุและผลึกศาสตร์ของประเทศและในระดับสากล

10. หน่วยวิจัยด้านพลังงานชีวภาพและการเร่งปฏิกิริยา แห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

Thammasat University Research Unit in Bioenergy and Catalysis

หัวหน้าหน่วยวิจัย :

รองศาสตราจารย์ ดร. ชนาธิป สามารถ

สังกัด :

คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

     พันธกิจของหน่วยวิจัย

     - สร้างผลงานวิจัยระดับนานาชาติฐานข้อมูล ISI และ Q1 จำนวน 9 เรื่อง / 3 ปี

     - ถ่ายทอดความรู้งานประชุมวิชาการหรือสัมมนาเชิงปฏิบัติการ จำนวน 3 ครั้ง

     - สร้างเครือข่ายนักวิจัย

          - นักวิจัยต่างประเทศ จำนวน 2 ประเทศ

          - นักวิจัยในประเทศ จำนวน 2 หน่วยงาน

     วัตถุประสงค์ของหน่วยวิจัย

     - เพื่อพัฒนาผลงานวิจัยที่ตอบสนองยุทธศาสตร์การวิจัยและความต้องการของประเทศในด้านการเพิ่มมูลค่าให้กับชีวมวลในประเทศเพื่อการประยุกต์ใช้ด้านพลังงานและการเร่งปฏิกิริยา

     - เพื่อพัฒนาหน่วยวิจัยทางเทคโนโลยีการแปรรูปชีวมวลให้เป็นพลังงานและการเร่งปฏิกิริยาให้เป็นที่ยอมรับในระดับนานาชาติ

     - สร้างเครือข่ายนักวิจัยและพัฒนาบุคลากรวิจัยที่มีความเชี่ยวชาญในด้านพลังงานชีวภาพและการเร่งปฏิกิริยา

     - เผยแพร่และถ่ายทอดผลงานวิจัยเพื่อการใช้ประโยชน์และสร้างผลงานวิจัยที่มีคุณภาพที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารวิชาการนานาชาติ

     - ให้คำปรึกษาและถ่ายทอดเทคโนโลยีกับหน่วยงานรัฐและบริษัทเอกชนที่สนใจเกี่ยวกับพลังงานชีวภาพและการเร่งปฏิกิริยา

11. หน่วยวิจัยด้านวัสดุฉลาดจากชีวมวลแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

Thammasat University Research Unit in smart material from biomass

หัวหน้าหน่วยวิจัย :

รองศาสตราจารย์ ดร. สอาด ริยะจันทร์

สังกัด :

คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

     พันธกิจของหน่วยวิจัย

     - หน่วยวิจัยวัสดุฉลาดจากชีวมวลตระหนักถึงความสำคัญของชีวมวล ซึ่งประเทศไทยเป็นประเทศเกษตรกรรม มีพืชเศรษฐกิจมากมาย อาทิเช่น ยางธรรมชาติ แป้งมันสำปะหลัง ข้าว ปาล์มน้ำมัน และอื่นๆ นอกจากนี้ประเทศไทยยังมีของเหลือทิ้งจากภาคเกษตรกรรมมากมาย อาทิเช่น ใบอ้อย ชานอ้อย แกลบ ขี้เลื่อย ฟาง ต้นมันสำปะหลัง และเถ้าลอย หน่วยวิจัยนี้ จึงดำเนินงานวิจัย พัฒนา วิเคราะห์ ทดสอบ วัสดุและระบบที่เกี่ยวข้องกับการผลิตวัสดุฉลาด รวมถึงตรวจสอบคุณสมบัติของวัสดุฉลาด หน่วยวิจัยฯ มีความพร้อมด้านบุคลากรที่ชำนาญ โดยมุ่งเน้นการผลิตผลงานวิจัยและนวัตกรรมอันเป็นประโยชน์ต่อการลดต้นทุนด้านวัสดุฉลาดของประเทศ

     วัตถุประสงค์ของหน่วยวิจัย

     - พัฒนานักวิจัยด้านวัสดุฉลาดจากชีวมวลและสร้างทีมวิจัย

     - สร้างความเข้มแข็งทางด้านวิชาการด้านวัสดุฉลาดจากชีวมวล

     - พัฒนาวัสดุฉลาดจากชีวมวลให้กับอุตสาหกรรมวัสดุในประเทศ

     - ลดปัญหาขยะจากภาคเกษตรกรรม

12. หน่วยวิจัยด้านโภชนเภสัชและความปลอดภัยทางอาหารแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

Thammasat university research unit in neutraceuticals and food safety

หัวหน้าหน่วยวิจัย :

อาจารย์ ดร. กานต์ แสงไพโรจน์

สังกัด :

คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

     พันธกิจของหน่วยวิจัย

     - สร้างนวัตกรรมด้านโภชนเภสัชเพื่อส่งเสริมสุขภาพ และการตรวจสอบอาหารปลอดภัยจากสารปนเปื้อนและเชื้อจุลชีพก่อโรค

     วัตถุประสงค์ของหน่วยวิจัย

     - เพื่อวิจัยและพัฒนานวัตกรรมด้านโภชนเภสัชเพื่อประโยชน์ต่อสุขภาพและป้องกันโรค

     - เพื่อวิจัยและพัฒนานวัตกรรมด้านอาหารปลอดภัยจากการปนเปื้อนและเชื้อจุลชีพก่อโรค

13. หน่วยวิจัยด้านวัสดุอัจฉริยะและเทคโนโลยีนวัตกรรมสำหรับการประยุกต์ทางเภสัชกรรมแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

Thammasat University Research Unit in Smart Materials and Innovative Technology for Pharmaceutical Applications (SMIT-Pharm)

หัวหน้าหน่วยวิจัย :

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. ปกรณ์ ไกรสิทธิ์

สังกัด :

คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

     พันธกิจของหน่วยวิจัย

     - พัฒนายารูปแบบใหม่โดยใช้เทคโนโลยีสมัยใหม่

     - พัฒนาวัสดุชนิดใหม่เพื่อใช้ในทางเภสัชกรรม

     - สร้างงานวิจัยที่มีคุณค่าและมาตรฐานจากวัสดุและเทคโนโลยีสมัยใหม่สำหรับการประยุกต์ทางเภสัชกรรม

     วัตถุประสงค์ของหน่วยวิจัย

     - เพื่อพัฒนายารูปแบบใหม่โดยใช้เทคโนโลยีสมัยใหม่

     - เพื่อวิจัยและพัฒนาวัสดุชนิดใหม่เพื่อใช้ในทางเภสัชกรรม

     - เพื่อสร้างงานวิจัยที่มีคุณค่าและมาตรฐานจากวัสดุและเทคโนโลยีสมัยใหม่สำหรับการประยุกต์ทางเภสัชกรรม

14. หน่วยวิจัยด้านการวิจัยดำเนินงานและสถิติอุตสาหกรรมแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

Thammasat University Research Unit in Industrial Statistics and Operational Research

หัวหน้าหน่วยวิจัย :

ศาสตราจารย์ ดร. พงศ์ชนัน เหลืองไพบูลย์

สังกัด :

คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

     พันธกิจของหน่วยวิจัย

     - เพื่อสร้างงานวิจัยที่เกิดจากการร่วมมือระหว่างภาคการศึกษาและอุตสาหกรรม

     - เพื่อสร้างบุคลากรทางด้านการวิจัยที่มีความรู้ความสามารถในการพัฒนางานอุตสาหกรรม และพัฒนาผลงานด้านการวิจัยที่มีการผสมผสานเทคนิคที่มีความก้าวหน้าทางวิชาการ

     - เพื่อเพิ่มความสามารถในการแข่งขันและความยั่งยืนของอุตสาหกรรมการผลิตและการบริการของไทย เพื่อสร้างบทความวิจัยในวารสารวิจัยทั้งในประเทศและต่างประเทศที่มีคุณภาพสูง

     วัตถุประสงค์ของหน่วยวิจัย

     - เพื่อสร้างเครือข่ายและความร่วมมือในการทำงานวิจัยเชิงบูรณาการในระดับชาติและนานาชาติ

     - เพื่อผลิตผลงานวิชาการที่มีคุณภาพเผยแพร่ในระดับนานาชาติ

15. หน่วยวิจัยด้านกายภาพบำบัดทางระบบหายใจ หัวใจ และหลอดเลือดแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

Thammasat University Research Unit in Physical therapy in respiratory and cardiovascular systems

หัวหน้าหน่วยวิจัย :

รองศาสตราจารย์ ดร. กรอนงค์ ยืนยงชัยวัฒน์

สังกัด :

คณะสหเวชศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

     พันธกิจของหน่วยวิจัย

     - สร้างงานวิจัยและนวัตกรรมทางด้านเกี่ยวกับกายภาพบำบัดทางระบบหายใจ หัวใจและหลอดเลือด

     วัตถุประสงค์ของหน่วยวิจัย

     - เผยแพร่ผลงานทางด้านการวิจัยเกี่ยวกับกายภาพบำบัด โดยเน้นทางด้านเกี่ยวกับระบบหายใจหัวใจและหลอดเลือด

     - สร้างผลงานทางนวัตกรรมเกี่ยวกับกายภาพบำบัด โดยเน้นทางด้านเกี่ยวกับระบบหายใจหัวใจและหลอดเลือด

     - เผยแพร่ผลงานทางนวัตกรรมเกี่ยวกับกายภาพบำบัด โดยเน้นทางด้านเกี่ยวกับระบบหายใจ หัวใจและหลอดเลือด

     - สร้างความร่วมมือกับองค์กรทั้งภายในและภายนอกมหาวิทยาลัยในด้านความร่วมมือผลิตผลงานทางด้านกายภาพบำบัด

     - ผลิตบัณฑิต/นักศึกษาในงานด้านการวิจัยและนวัตกรรมทางด้านกายภาพบำบัด

16. หน่วยวิจัยด้านการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีชีวภาพในสัตว์น้ำ สัตว์ทะเลแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

Thammasat University Research unit in Biotechnology and its application of aquatic animal

หัวหน้าหน่วยวิจัย :

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. นภมณี คอนทอง

สังกัด :

วิทยาลัยแพทยศาสตร์นานาชาติจุฬาภรณ์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

     พันธกิจของหน่วยวิจัย

     - ศูนย์ฯ ได้เล็งเห็นความสำคัญของการพัฒนาที่ยั่งยืน ที่จะเป็นส่วนช่วยขับเคลื่อนการพัฒนาความสมบูรณ์ของสัตว์น้ำ โดยจะเน้นปูทะเลและปลิงทะเล ซึ่งสัตว์น้ำดังกล่าวนับเป็นหนึ่งในสัตว์เศรษฐกิจที่สำคัญของประเทศไทย เนื่องจากตลาดทั้งในประเทศไทยเองและตลาดโลกนั้น ยังมีความต้องการบริโภคอยู่ในปริมาณมาก เนื่องจากเป็นอาหารที่มีรสชาติดี เป็นนิยมบริโภคทั้งชาวไทยและชาวต่างชาติ ทั้งยังเป็นสัตว์ที่มีคุณค่าทางอาหารสูง และยังมีราคาค่อนข้างสูง

     - โดยในประเทศไทยยังคงขาดระบบการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำดังกล่าวได้อย่างมีประสิทธิภาพมากนัก เนื่องจากขาดการนำความรู้ด้านเทคโนโลยีชีวภาพมาใช้ในระบบเพาะเลี้ยงอย่างถูกต้อง ยังไม่มีการส่งเสริมและการพัฒนาระบบเพาะเลี้ยงมากนัก อีกทั้งยังมีเพียงศูนย์วิจัยไม่กี่แห่งที่กำลังพัฒนาการเพาะเลี้ยงปูทะเลและปลิงทะเล ดังนั้น นับว่าเป็นเรื่องที่ดีหากการพัฒนานี้ จะทำให้เกษตรกรสามารถนำความรู้ทางด้านการเพาะเลี้ยงเป็นอาชีพได้อย่างยั่งยืน และที่สำคัญจะช่วยลดการรบกวนสัตว์น้ำจากแหล่งธรรมชาติ อันจะเป็นการช่วยรักษาความสมดุลทางธรรมชาติของทะเลไทยต่อไปได้ยาวนานนั่นเอง

     - ศูนย์ฯ นี้ จึงมุ่งเน้นที่จะพัฒนาองค์ความรู้ โดยมีการนำเทคโนโลยีชีวภาพมาใช้ในการพัฒนาผลผลิต และระบบสืบพันธุ์ ในระบบการเพาะเลี้ยง เพื่อให้ได้ต้นแบบผลิตภัณฑ์ไปไว้ใช้ในระบบเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ สัตว์ทะเล โดยสามารถนำไปใช้ประโยชน์ในด้านเศรษฐกิจ เพื่อให้เกษตรกรสามารถเพาะพันธุ์สัตว์น้ำเศรษฐกิจได้ และสามารถนำไปต่อยอดในเชิงพาณิชย์ต่อไปได้ในอนาคต นอกจากนี้ยังมุ่งเน้นการพัฒนาการนำชิ้นส่วนที่เหลือใช้จากการบริโภคนำกลับมาใช้และพัฒนาให้เกิดประโยชน์ และยังจะมีการพัฒนาการค้นหาคุณสมบัติพิเศษของสัตว์น้ำสัตว์ทะเลเพื่อนำไปใช้ทางการแพทย์อีกด้วย

     วัตถุประสงค์ของหน่วยวิจัย

     - เพื่อเพิ่มองค์ความรู้ในการใช้เทคโนโลยีชีวภาพ เพื่อพัฒนาระบบสืบพันธุ์ และการเจริญเติบโตของสัตว์น้ำสัตว์ทะเล โดยมุ่งเน้นการเพิ่มผลผลิต

     - เพื่อสร้างนวัตกรรมในระบบเพาะเลี้ยงเพื่อนำไปใช้เพิ่มผลผลิตให้แก่สัตว์น้ำ สัตว์ทะเล

     - เพื่อสร้างมูลค่าให้แก่สัตว์น้ำสัตว์ทะเล เพื่อพัฒนาไปเป็นสัตว์เศรษฐกิจของประเทศไทย

     - เพื่อพัฒนาการนำชิ้นส่วนที่เหลือใช้จากสัตว์น้ำสัตว์ทะเล ไปประยุกต์ใช้ให้เกิดประโยชน์ต่อเนื่องและเป็นการลดการเกิดขยะ

     - เพื่อค้นหาคุณสมบัติเฉพาะของสัตว์น้ำสัตว์ทะเล เพื่อนำไปใช้ทางการแพทย์

17. หน่วยวิจัยด้านเคมีทางยาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

Thammasat University Research Unit in Medicinal Chemistry

หัวหน้าหน่วยวิจัย :

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. ภานุมาศ ทองอยู่

สังกัด :

คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

     พันธกิจของหน่วยวิจัย

     - เป็นหน่วยวิจัยที่มีความเชี่ยวชาญและเป็นเลิศเฉพาะทางในงานวิจัยทางด้านเคมีทางยา (medicinal chemistry) ในการค้นหาสารที่มีคุณสมบัติเป็นยาได้ในอนาคต โดยใช้เทคนิคและวิธีการสังเคราะห์แบบใหม่เพื่อเพิ่มศักยภาพในการสังเคราะห์

     - เป็นหน่วยวิจัยที่ผลิตผลงานวิจัยขั้นสูง ตีพิมพ์ในวารสารวิชาการชั้นนำในฐานข้อมูล SCOPUS/ISI (Q1-Q2)

     - เป็นหน่วยวิจัยที่ผลิตบุคลากรวิจัยที่มีศักยภาพสูงในเรื่องงานวิจัยทางด้านเคมีอินทรีย์ขั้นสูง โดยเฉพาะอย่างยิ่งทางด้านเคมีทางยา (medicinal chemistry)

     - เป็นหน่วยวิจัยที่ทำงานเป็นเครือข่ายวิจัยร่วมกับหน่วยงานวิจัยทั้งในและต่างประเทศ โดยการถ่ายทอดและแลกเปลี่ยนความรู้ซึ่งกันและกัน

     - เป็นหน่วยงานเครือข่ายที่สามารถถ่ายทอดความรู้ และเทคโนโลยีที่เกี่ยวกับเคมีทางยา ร่วมกับองค์กรต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง

     วัตถุประสงค์ของหน่วยวิจัย

     - ผลิตผลงานวิชาการขั้นสูง โดยตีพิมพ์ในวารสารวิชาการชั้นนำ SCOPUS/ISI (Q1-Q2)

     - ผลิตบัณฑิตระดับ โท-เอก ที่เชี่ยวชาญในศาสตร์ทางด้านเคมีอินทรีย์ขั้นสูง

     - สร้างเครือข่ายเพื่อทำงานวิจัยร่วมกันกับหน่วยวิจัยทั้งในและต่างประเทศ

18. หน่วยวิจัยด้านวัสดุคาร์บอนและนวัตกรรมเคมีสีเขียวแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

Thammasat University Research Unit in Carbon Materials and Green Chemistry Innovations

หัวหน้าหน่วยวิจัย :

รองศาสตราจารย์ ดร. พีระศักดิ์ เภาประเสริฐ

สังกัด :

คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

     พันธกิจของหน่วยวิจัย

     สร้างความเป็นเลิศทางวิชาการและยกระดับมาตรฐานการวิจัยและนวัตกรรมเคมีสีเขียว ในรูปแบบของ

          - การพัฒนาวัสดุคาร์บอนโดยสังเคราะห์จากวัตถุดิบที่มีราคาถูก หาได้ง่าย และเป็นการลดขยะในสิ่งแวดล้อมและชุมชน

          - การนำวัสดุคาร์บอนที่สังเคราะห์ได้ไปใช้ใน

               - อุปกรณ์กักเก็บพลังงาน เช่น ตัวเก็บประจุยิ่งยวด แบตเตอรี่ และการผลิตแก๊สไฮโดรเจน

               - อุปกรณ์เซ็นเซอร์ในการตรวจวัดสารปนเปื้อนในผลผลิตทางการเกษตรและสิ่งแวดล้อม

          - การสร้างนวัตกรรรมการวิเคราะห์ทางเคมีสีเขียว เช่น อุปกรณ์ตรวจวัดขนาดเล็ก และชุดทดสอบทางเคมีที่คำนึงถึงการลดปริมาณการใช้สารเคมีอันตรายที่เป็นรีเอเจนต์

     วัตถุประสงค์ของหน่วยวิจัย

     - ผลิตผลงานวิจัยเพื่อตีพิมพ์ในวารสารวิชาการระดับนานาชาติที่อยู่ในฐานข้อมูล Scopus Q1-2 อย่างน้อย 6 เรื่อง/3 ปี

     - ผลิตบุคลากรด้านการวิจัยระดับปริญญาโทและเอกอย่างน้อย 4 คน/3 ปี

     - สร้างเครือข่ายนักวิจัยทั้งในอย่างน้อย 2 หน่วยงานและต่างประเทศอย่างน้อย 2 ประเทศ และเครือข่ายกับภาคเอกชนอย่างน้อย 1 หน่วยงาน/3 ปี

19. หน่วยวิจัยด้านนวัตกรรมเซนเซอร์และอุปกรณ์นาโนอิเล็กทรอนิกส์แห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

Thammasat University Research Unit in Innovative Sensor and Nanoelectronics Devices

หัวหน้าหน่วยวิจัย :

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. เรวัตร ใจสุทธิ

สังกัด :

คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

     พันธกิจของหน่วยวิจัย

     - สร้างผลงานวิจัยตีพิมพ์ระดับนานาชาติในฐานข้อมูล Scopus/ISI

     - พัฒนานวัตกรรมด้านเซนเซอร์และอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ เพื่อประโยชน์ทางด้านอุตสาหกรรมอาหาร การเกษตร สิ่งแวดล้อมและสุขภาพ

     - สร้างเครือข่ายการวิจัยกับหน่วยงานภาครัฐหรือเอกชนในระดับชาติหรือนานาชาติผ่านการทำงานวิจัยเชิงบูรณาการร่วมกัน

     วัตถุประสงค์ของหน่วยวิจัย

     - เพื่อสร้างความเข้มแข็งทางวิชาการด้านเซนเซอร์และพัฒนาผลงานวิจัยที่มีคุณภาพ ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารวิชาการในฐานข้อมูลสากล Scopus/ISI

     - เพื่อพัฒนาบุคลากรทางการวิจัยระดับปริญญาโทและเอก ที่มีความรู้เชิงบูรณาการด้านฟิสิกส์ อิเล็กทรอนิกส์และวัสดุศาสตร์ขั้นสูง และมีความเชี่ยวชาญในระบบเครื่องมือวัดและควบคุมอัตโนมัติ

     - เพื่อพัฒนาผลิตภัณฑ์และนวัตกรรมด้านเซนเซอร์และอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์เชิงพาณิชย์

     - เพื่อสร้างเครือข่ายการวิจัยและความร่วมมือการทำงานวิจัยในระดับชาติและนานาชาติ

20. หน่วยวิจัยด้านจุดตรึงและการหาค่าเหมาะที่สุดแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

Thammasat University Research Unit in Fixed Points and Optimization

หัวหน้าหน่วยวิจัย :

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. วุฒิพล สินธุนาวารัตน์

สังกัด :

คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

     พันธกิจของหน่วยวิจัย

     - พันธกิจหลักของหน่วยวิจัยด้านจุดตรึงและการหาค่าเหมาะที่สุดแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (Thammasat University Research Unit in Fixed Points and Optimization) คือ การเป็นหน่วยวิจัยในการพัฒนาความรู้ทางคณิตศาสตร์ด้านจุดตรึงและการหาค่าเหมาะที่สุด เพื่อยกระดับไปสู่การประยุกต์ใช้ในการแก้ปัญหาจริงให้แก่วงการวิชาการและสังคม รวมทั้งเป็นหน่วยวิจัยที่มุ่งเน้นในการเผยแพร่และถ่ายทอดผลงานวิจัย ตลอดจนสร้างเครือข่ายการศึกษาและการทำวิจัยในระดับชาติและระดับนานาชาติด้านทฤษฎีจุดตรึงและเทคนิคการหาค่าเหมาะที่สุดกับสถาบันชั้นนำต่าง ๆ เพื่อยกระดับเครือข่ายวิจัยของมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และมุ่งสู่การพัฒนาความเป็นเลิศทางวิชาการของมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

     วัตถุประสงค์ของหน่วยวิจัย

     - ผลิตผลงานวิจัยด้านทฤษฎีจุดตรึงและเทคนิคการหาค่าเหมาะที่สุดที่มีคุณภาพ และตีพิมพ์เผยแพร่ในวารสารวิชาการระดับนานาชาติซึ่งอยู่ในฐานข้อมูล Scopus หรือ ISI อย่างน้อย 3 เรื่องต่อปี

     - ผลิตนักศึกษาระดับบัณฑิตศึกษา ที่มีความรู้ ความสามารถ และศักยภาพขั้นสูง ด้านทฤษฎีจุดตรึงและเทคนิคการหาค่าเหมาะที่สุด ซึ่งสามารถพัฒนาต่อยอดนำไปสู่การเป็นนักวิจัยที่ดีและมีชื่อเสียง อันเป็นผลผลิตจากหน่วยวิจัยของมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

     - เผยแพร่ผลงานวิจัยในการประชุมวิชาการทางด้านวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์ระดับนานาชาติ ซึ่งจะก่อให้เกิดความร่วมมือและแลกเปลี่ยนทางวิชาการระหว่างนักวิจัยของมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์และนักวิจัยต่างสถาบัน

     - สร้างเครือข่ายการศึกษาและการทำวิจัยด้านจุดตรึงและเทคนิคการหาค่าเหมาะที่สุดกับองค์กรต่างสถาบัน เพื่อก่อให้เกิดเครือข่ายวิจัยของมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ที่ทันยุคสมัย

21. หน่วยวิจัยด้านสารต้านจุลชีพและการประยุกต์ใช้แห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

Thammasat University Research Unit in Antimicrobial Agent and Application

หัวหน้าหน่วยวิจัย :

รองศาสตราจารย์ ดร. รัชนีวรรณ อุ่นแพทย์

สังกัด :

คณะสหเวชศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

     พันธกิจของหน่วยวิจัย

     - แหล่งสร้างและผลิตองค์ความรู้ใหม่ด้านการพัฒนาสารต้านจุลชีพ การเพิ่มประสิทธิภาพและการประยุกต์ใช้ ด้วยการผลิตผลงานวิจัยที่มีคุณภาพระดับแนวหน้า (Frontier Research) ที่สามารถตีพิมพ์ในวารสารวิชาการระดับนานาชาติที่อยู่ในฐานข้อมูล ISI หรือ Scopus (Q1-Q4) อย่างน้อย 2 เรื่องต่อปี

     - ผลิตนักวิจัยและบัณฑิตระดับปริญญาโทและเอกที่มีประสบการณ์ มีศักยภาพและทักษะขั้นสูงในการวิจัย ไม่น้อยกว่า 1 คนต่อปี

     - สร้างเครือข่ายด้านการวิจัยทั้งในและต่างประเทศไม่น้อยกว่า 2 เครือข่ายการวิจัยต่อปี

     วัตถุประสงค์ของหน่วยวิจัย

     - ผลิตผลงานวิจัยที่มีคุณภาพระดับแนวหน้าและตอบสนองนโยบายและยุทธศาสตร์การวิจัยของมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์และของประเทศ อย่างน้อย 2 เรื่องต่อปี

     - ผลิตบุคลากรด้านการวิจัยที่มีความรู้ ประสบการณ์ ศักยภาพและทักษะขั้นสูงในการวิจัย ไม่น้อยกว่า 1 คนต่อปี

     - เพื่อสร้างเครือข่ายด้านการพัฒนาสารต้านจุลชีพและการประยุกต์ใช้ทั้งในและต่างประเทศ ไม่น้อยกว่า 2 เครือข่ายต่อปี

22. หน่วยวิจัยด้านกลไกลทางชีวโมเลกุลและวิทยาภูมิคุ้มกันระดับโมเลกุลโรคติดเชื้อแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

Thammasat University Research Unit in Molecular Pathogenesis and Immunology of Infectious Diseases

หัวหน้าหน่วยวิจัย :

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. จีระพงษ์ ทะนงศักดิ์ศรีกุล

สังกัด :

คณะสหเวชศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

     พันธกิจของหน่วยวิจัย

     - สร้างองค์ความรู้และค้นคว้าหาสารชีวโมเลกุลของโฮสต์และจุลชีพก่อโรคติดเชื้อที่เป็นปัญหาสำคัญในประเทศไทยและของโลกเพื่อนำไปสร้างต้นแบบวัคซีน ยา สารปรับสมดุลภูมิคุ้มกัน และการตรวจวินิจฉัย เพื่อแก้ไขปัญหาสาธารณสุขที่กำลังเผชิญอยู่ในปัจจุบันและเตรียมพร้อมรับมือกับวิกฤตการณ์โรคระบาดใหม่ในอนาคต

     วัตถุประสงค์ของหน่วยวิจัย

     - เป็นหน่วยงานที่เผยแพร่งานวิจัยระดับแนวหน้า (Frontier research) เกี่ยวกับกลไกลการก่อโรคและวิทยาภูมิคุ้มกันระดับโมเลกุลของโรคติดเชื้อไวรัส (ได้แก่ Enteric viruses และ Coronaviruses) แบคทีเรีย (เช่น Streptococcus suis และ Enteric bacteria) รา (เช่น Cryptococci) และหนอนพยาธิ (เช่น Trichinella spiralis) ที่ก่อให้เกิดปัญหาสาธารณสุขในประเทศไทยและทั่วโลก

     - เป็นแหล่งผลิตแอนติเจนและแอนติบอดี เพื่องานวิจัยโรคติดเชื้อ

     - เป็นแหล่งสร้างต้นแบบวัคซีน ยา สารปรับสมดุลภูมิคุ้มกัน และชุดตรวจวินิจฉัยโรคติดเชื้อ

     - เป็นแหล่งดูงาน ฝึกงาน และความรู้แก่นักศึกษา นักวิจัย และบุคลากรทางด้านสาธารณสุข

     - เป็นแหล่งผลิตบัณฑิตที่มีความรู้และความเชี่ยวชาญงานวิจัยและพัฒนานวัตกรรมด้านโรคติดเชื้อ

23. หน่วยวิจัยด้านรีโอโลยีและกระบวนการขึ้นรูปของพอลิเมอร์แห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

Thammasat University Research unit in Polymer Rheology and Processing

หัวหน้าหน่วยวิจัย :

รองศาสตราจารย์ ดร. แคทลียา ปัทมพรหม

สังกัด :

คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

     พันธกิจของหน่วยวิจัย

     - สนับสนุนและพัฒนางานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับกระบวนการขึ้นรูปพอลิเมอร์ และยางชนิดต่างๆ รวมถึงพลาสติกชีวภาพ และพลาสติกทางการแพทย์ ในรูปแบบต่าง ๆ เพื่อการใช้ประโยชน์ในการผลิตเป็นผลิตภัณฑ์ที่หลากหลาย รวมถึงศึกษาสมบัติการขึ้นรูป สมบัติการไหลและศาสตร์ทางรีโอโลยีของผลิตภัณฑ์เหล่านั้น เพื่อพัฒนางานวิจัยและนวัตกรรมที่มีคุณภาพ มีคุณค่าทั้งด้านวิชาการและการใช้ประโยชน์ในภาคอุตสาหกรรมอย่างเป็นรูปธรรมได้อย่างต่อเนื่อง

     วัตถุประสงค์ของหน่วยวิจัย

     - เพื่อผลิตงานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับสมบัติและการใช้งานพลาสติกและยาง กระบวนการขึ้นรูปในรูปแบบต่าง ๆ รวมถึงสมบัติการไหลและศาสตร์ทางรีโอโลยีของผลิตภัณฑ์พลาสติกและยาง ทั้งพลาสติกสังเคราะห์ พลาสติกชีวภาพ และพลาสติกทางการแพทย์ที่มีคุณภาพทางวิชาการในระดับนานาชาติ

     - เพื่อสร้างสรรค์ผลงานสิ่งประดิษฐ์ที่มีศักยภาพในเชิงพาณิชย์ โดยสนับสนุนให้เกิดการจดสิทธิบัตร และการนำสิทธิบัตรไปใช้ประโยชน์ในเชิงพาณิชย์

     - เพื่อส่งเสริมความร่วมมือในการพัฒนางานวิจัยร่วมกับภาคเอกชน บริการให้คำปรึกษากับภาคเอกชนในด้านการผลิตคอมพาวด์ กระบวนการขึ้นรูปพลาสติกและยาง รวมถึงสมบัติการไหลและสมบัติอื่น ๆ ของพลาสติก

24. หน่วยวิจัยด้านการวิเคราะห์ท่าทางการเคลื่อนไหวและเทคโนโลยีชาญฉลาดแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

Thammasat University Research Unit in Gait Analysis and Intelligent Technology (GaitTech)

หัวหน้าหน่วยวิจัย :

รองศาสตราจารย์ ดร. นิรัตยา คำเสมานันทน์

สังกัด :

สถาบันเทคโนโลยีนานาชาติสิรินธร มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

     พันธกิจของหน่วยวิจัย

     - Missions of Gait Analysis and Intelligent Technology research unit or GaitTech are creating intelligent techniques using gait and other non-intrusive data to improve security, and well-being of modern living.

     วัตถุประสงค์ของหน่วยวิจัย

     - Create novel supervised and unsupervised gait recognition techniques

     - Create human attribute recognition techniques, such as gender recognition and age estimation techniques, from gait and other non-intrusive data.

     - Create intelligent techniques to track and asset posture and gait data for treatment or exercises efficiencies.

     - Create intelligent techniques to improve security, and well-being of modern living.

     - Develop human resources in the fields of studies related gait and intelligent technologies.

25. หน่วยวิจัยด้านวิศวกรรมเนื้อเยื่อและทันตกรรมรากเทียมแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

Thammasat University Research Unit in Tissue Engineering and Implant Dentistry

หัวหน้าหน่วยวิจัย :

รองศาสตราจารย์ ทพญ. ดร. เปรมจิต อาภรณ์แม่กลอง

สังกัด :

คณะทันตแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

     พันธกิจของหน่วยวิจัย

      พันธกิจหลักของหน่วยวิจัยคือมุ่งที่จะพัฒนาอย่างต่อเนื่องเพื่อให้เป็นหน่วยวิจัยชั้นนำที่มีผลงานนวัตรกรรมที่ตอบโจทย์ความต้องการของงานทันตกรรมรากเทียมในการสร้างกระดูกและเนื้อเยื่อรองรับฟันขึ้นใหม่โดยเฉพาะในกลุ่มผู้สุงอายุ ผลิตผลงานทางวิชาการที่เป็นที่ยอมรับในระดับสากล และส่งเสริมงานวิจัยด้านวิศวกรรมเนื้อเยื่อของนักศึกษาหลังปริญญา โดยที่หน่วยวิจัยจะสนับสนุนจะการพัฒนาผลิตภัณฑ์ทางการแพทย์เพื่อใช้ในการส่งเสริมการซ่อมแซมและสร้างขึ้นใหม่ของกระดูกและเนื้อเยื่อที่เกี่ยวกับฟัน โดยใช้วัสดุทางธรรมชาติที่หาได้ภายในประเทศ โดยความร่วมมือของสหสาขาวิชา เพื่อส่งเสริมสุขภาพช่องปากของผู้สูงวัย การพัฒนาวัสดุทางการแพทย์ชนิดฝังในกระดูกและเนื้อเยื่ออ่อนจะมุ่งใช้ชีววัสดุจากธรรมชาติ ร่วมกับ/หรือเพื่อนำส่งสารออกฤทธิ์จากพืชที่มีอยู่ในประทศไทยและเซลล์ต้นกำเนิดจากช่องปาก เพื่อให้ได้วัสดุและวิธีการรักษาที่มีคุณสมบัติส่งเสริมการสร้างเนื้อเยื่อกระดูกและปริทันต์ขึ้นใหม่ ส่งเสริมการหายของแผล โดยจะพัฒนารูปแบบผลิตภัณฑ์ให้สอดคล้องกับความต้องการจำเพาะทางกายวิภาคและชีววิทยาของแต่ละรอยวิการ เพื่อให้สามารถนำมาใช้งานได้ง่าย ก่อให้เกิดการลุกล้ำเนื้อเยื่ออย่างจำกัด และสามารถนำมาใช้ร่วมกับการรักษาทางทันตกรรมรากเทียมและศัลยกรรมช่องปากกระดูกขากรรไกรและใบหน้าได้อย่างมีประสิทธิภาพ องค์ความรู้และนวัตกรรมที่พัฒนาขึ้นจะนำไปสู่การบูรณะการบดเคี้ยวและส่งเสริมคุณภาพชีวิตของผู้สูงวัยและผู้ที่มีความวิการของกระดูกขากรรไกรและใบหน้า และลดต้นทุนด้านวัสดุทางการแพทย์และค่ารักษาพยาบาลทางทันตกรรมรากเทียมและการสร้างเนื้อเยื่อกระดูกขึ้นใหม่ ซึ่งจะเพิ่มโอกาสในการเข้ารับการรักษาพยาบาลขั้นสูงของประชาชนผู้ด้อยโอกาสให้มีสุขภาพดีทั่วหน้า

     พันธกิจรองคือการสนับสนุนการศึกษาวิจัยนำร่องเพื่อหาความเป็นไปได้ใหม่ๆในการศึกษาวิจัย สร้างเครือข่ายความร่วมมือกับนักวิจัยสหสาขาวิชาทั้งในและต่างประเทศ ส่งเสริมการเผยแพร่และการใช้ประโยชน์ของผลงานวิจัยของสมาชิก รวมถึงสนับสนุนการศึกษาวิจัยในระดับการศึกษาหลังปริญญาของคณะทันตแพทยศาสตร์ และคณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

     วัตถุประสงค์ของหน่วยวิจัย

     โดยมีวัตถุประสงค์หลัก ตาม FS10: Thailand Ageing Society (สังคมไทยบริบทสังคมสูงวัย)

          - เพื่อสร้างสรรค์และพัฒนาต่อยอดนวัตกรรมที่จะให้คนทุกวัยเข้าถึง และใช้ประโยชน์ได้อย่างทั่วถึงและเป็นธรรม

          - เพื่อเพิ่มโอกาสใหม่ให้กับเศรษฐกิจไทยในบริบทของสังคมสูงวัย และพัฒนาเครื่องมือแพทย์ประเภทออร์โธปิดิกส์ที่ฝังในร่างกาย

26. หน่วยวิจัยด้านชีววัสดุสำหรับงานทันตกรรมและการทดแทนกระดูกแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

Thammasat University Research Unit in Dental and Bone Substitute Biomaterials

หัวหน้าหน่วยวิจัย :

รองศาสตราจารย์ ทพญ. ดร. สมหญิง พัฒน์ธีรพงศ์

สังกัด :

คณะทันตแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

     พันธกิจของหน่วยวิจัย

     - สร้างทีมวิจัยชั้นนำระดับชาติด้านชีววัสดุทางทันตกรรมและการทดแทนกระดูก

     - ส่งเสริมให้เกิดนักวิจัยรุ่นใหม่ ทั้งระดับปริญญาโท หรือ ปริญญาเอก

     - ดำเนินการวิจัยด้านชีววัสดุศาสตร์เพื่อตอบโจทย์ด้านสังคมผู้สูงอายุ ปัญหาสาธารณสุขและสอดคล้องกับนโยบายของประเทศไทย

     - ผลิตผลงานวิจัยระดับชาติ/นานาชาติ ด้านชีววัสดุสำหรับงานทันตกรรมและกระดูกที่สามารถทำให้เกิดเป็นนวัตกรรมที่สามารถนำไปใช้ได้จริง (translational research)

     วัตถุประสงค์ของหน่วยวิจัย

     - ทำวิจัยด้านชีววัสดุศาสตร์ด้านทันตกรรมและการทดแทนกระดูกและตีพิมพ์ในวารสารวิชาการระดับนานาชาติที่ปรากฏอยู่ในฐานข้อมูลสากล Scopus, Web of Science และ SJR

     - สร้างองค์ความรู้และถ่ายทอด ในลักษณะการบรรยาย/สอนนักศึกษาในระดับปริญญาโท เอก และการนำเสนอผลงานวิชาการทั้งระดับชาติและนานาชาติ

     - ส่งเสริมการทำวิจัยสำหรับนักศึกษาในระดับปริญญาโท และ ปริญญาเอกเพื่อสร้างนักวิจัยรุ่นใหม่

27. หน่วยวิจัยด้านอณูชีววิทยาการตรวจวินิจฉัยโรคเรื้อรังที่นำไปสู่โรคมะเร็งแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

Thammasat University Research Unit in Diagnostic Molecular Biology of Chronic Diseases related to Cancer (DMB-CDC)

หัวหน้าหน่วยวิจัย :

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. จรีภรณ์ เอกวัฒน์ชัย

สังกัด :

คณะสหเวชศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

     พันธกิจของหน่วยวิจัย

     - สร้างองค์ความรู้พื้นฐานระดับแนวหน้าและนวัตกรรม ที่สนะบสนุนการตรวจวินิจฉัยโรค เพื่อคุณภาพชีวิตของประชาชนในสังคมสูงวัยไทย

     วัตถุประสงค์ของหน่วยวิจัย

     - เพื่อผลิตงานวิจัยคุณภาพสูงตีพิมพ์ในวารสารในฐานข้อมูลนานาชาติ โดยมุ่งเน้นการวิจัยและพัฒนาด้านการวินิจฉัยโรคเรื้อรังที่สัมพันธ์กับการเกิดโรคมะเร็ง

     - เพื่อสร้างนวัตกรรมการตรวจวินิจฉัยและติดตามโรคเรื้อรังและโรคมะเร็งที่เหมาะสมกับคนไทย

     - เพื่อผลิตและพัฒนานักวิจัยและนักเทคนิคการแพทย์คุณภาพสูง

     - เพื่อสร้างเครือข่ายวิจัยทั้งในและต่างประเทศ

28. หน่วยวิจัยด้านจุลชีววิทยาสมัยใหม่และจีโนมสาธารณสุขแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

Thammasat University Research Unit in Modern Microbiology and Public Health Genomics

หัวหน้าหน่วยวิจัย :

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. ภิรมย์ น้อยสำแดง

สังกัด :

คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

     พันธกิจของหน่วยวิจัย

     - พันธกิจหลักของหน่วยวิจัยด้านจุลชีววิทยาสมัยใหม่และจีโนมสาธารณสุข คือการเป็นหน่วยวิจัยในการพัฒนาองค์ความรู้ใหม่และการพัฒนาสิ่งประดิษฐ์และนวัตกรรม นอกจากนี้มีการสร้างเครือข่ายและความร่วมมือในการทำวิจัยข้ามศาสตร์ ร่วมกับเครือข่ายวิจัยต่างๆ ในมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ระหว่างมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์และในหน่วยงานภายนอกมหาวิทยาลัยทั้งภาครัฐและเอกชนเพื่อให้ได้ประโยชน์ในด้านต่างๆ

     วัตถุประสงค์ของหน่วยวิจัย

     - เพื่อให้ได้องค์ความรู้และนวัตกรรมเพื่อนำไปใช้ให้เป็นประโยชน์สำหรับโรคติดเชื้อที่เป็นปัญหาของทางสาธารณสุข ทางด้านการวินิจฉัย การรักษา การป้องกันและควบคุมโรค รวมทั้งการตรวจหาและประเมินความเสี่ยงเชื้อก่อโรคในสิ่งแวดล้อม

     - เพื่อพัฒนาศักยภาพการทำงานวิจัยให้กับนักวิจัย

     - เพื่อผลิตผลงานวิชาการที่มีคุณภาพเผยแพร่ในระดับชาติและนานาชาติ

     - เพื่อสนับสนุนการผลิตนักศึกษาปริญญาเอก

     - เพื่อสร้างเครือข่ายและความร่วมมือในการทำงานวิจัยเชิงบูรณาการระดับชาติและนานาชาติ

     - ให้คำปรึกษาและถ่ายทอดองค์ความรู้ที่เกี่ยวข้องกับเชื้อจุลชีพและปัจจัยต่างๆของทางสาธารณสุขในวงจรลูกโซ่ของการติดเชื้อ

29. หน่วยวิจัยด้านเคมีสิ่งทอและพอลิเมอร์แห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

Thammasat University Research Unit in Textile and Polymer Chemistry

หัวหน้าหน่วยวิจัย :

รองศาสตราจารย์ ดร. เพ็ญวิสาข์ พิสิฏฐศักดิ์

สังกัด :

คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

     พันธกิจของหน่วยวิจัย

     - หน่วยวิจัยด้านเคมีสิ่งทอและพอลิเมอร์แห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ มีพันธกิจเพื่อใช้องค์ความรู้ทาง วิทยาศาสตร์เคมีและพอลิเมอร์ในการสร้างนวัตกรรมวัสดุให้สามารถตอบสนองความต้องการของผู้บริโภคในปัจจุบันซึ่งมีความซับซ้อนมากขึ้น โดยมุ่งเน้นการพัฒนาวัสดุสิ่งทอให้เกิดคุณสมบัติพิเศษ หรือปรับปรุงคุณสมบัติ เดิมที่มีอยู่แล้วให้ดีขึ้น หน่วยวิจัยมุ่งสร้างความเป็นเลิศทางวิชาการ โดยการสร้างผลงานวิจัยที่มีคุณภาพได้รับการ ยอมรับในระดับนานาชาติ ผลิตนักศึกษาระดับบัณฑิตศึกษาที่มีความรู้ ประสบการณ์ ความเชี่ยวชาญในการทำวิจัย เพื่อให้เป็นนักวิจัยที่มีความรู้ความสามารถ รวมถึงสร้างเครือข่ายทางการวิจัยทั้งในและต่างประเทศ เพื่อเป็นส่วนหนึ่งในการนำพามหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์สู่ความเป็นผู้นำทางวิชาการ

     วัตถุประสงค์ของหน่วยวิจัย

     - เผยแพร่บทความวิจัยที่ตีพิมพ์ในวารสารวิชาการระดับนานาชาติในฐานข้อมูล SCOPUS อย่างน้อย 6 ฉบับภายในระยะเวลา 3 ปี

     - ผลิตบุคลากรด้านการวิจัยระดับปริญญาโท อย่างน้อย 3 คน

     - สร้างความร่วมมือทางการวิจัยระหว่างสถาบันต่างๆ ทั้งในและต่างประเทศ

30. หน่วยวิจัยด้านการยศาสตร์อาชีวอนามัยแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

Thammasat University Research unit in Occupational Ergonomics

หัวหน้าหน่วยวิจัย :

อาจารย์ ดร. ธีรพันธ์ แก้วดอก

สังกัด :

คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

     พันธกิจของหน่วยวิจัย

     - สร้างงานวิจัยและนวัตกรรมเกี่ยวกับการยศาสตร์อาชีวอนามัยและความปลอดภัย นำไปสู่การเพิ่มความสะดวกสบาย ความปลอดภัย และประสิทธภาพจากการทำงาน

     วัตถุประสงค์ของหน่วยวิจัย

     - เพื่อผลิตงานวิจัยที่เกิดจากความร่วมมือระหว่างสถาบันการศึกษา หน่วยงานภาครัฐและภาคเอกชน ทั้งในและต่างประเทศ

     - เพื่อผลิตผลงานวิจัยและนวัตกรรม และเผยแพร่ในวารสารทางวิชาการที่มีคุณภาพในระดับนานาชาติ (ในฐาน Scopus, ISI Quartile 1 หรือ 2 หรือ 3 หรือ 4)

     - เพื่อผลิตคู่มือ หรือแนวทางการจัดการปัจจัยเสี่ยงทางการยศาสตร์จากการประกอบอาชีพ

     - เพื่อผลิตบัณฑิตศึกษาระดับปริญญาโท หรือปริญญาเอก ในการวิจัยด้านการยศาสตร์อาชีวอนามัยและความปลอดภัย

31. หน่วยวิจัยด้านประวัติศาสตร์และการเมืองระหว่างประเทศแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

Thammasat University Research Unit in History and International Politics

หัวหน้าหน่วยวิจัย :

นายภูวิน บุณยะเวชชีวิน

สังกัด :

สถาบันเอเชียตะวันออกศึกษา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

     พันธกิจของหน่วยวิจัย

     - เผยแพร่ผลงานวิจัย ด้านประวัติศาสตร์และการเมืองระหว่างประเทศ ในวารสารฐานข้อมูล Scopus เพื่อตอบสนองต่อตัวชี้วัดมหาวิทยาลัยตามมาตรฐานสากล

     - เผยแพร่ผลงานวิจัย ด้านประวัติศาสตร์และการเมืองระหว่างประเทศ ในการประชุมระดับนานาชาติ เพื่อพัฒนาเครือข่ายทางวิชาการ ตลอดจนเสริมสร้างความเป็นนานาชาติ

     - ถ่ายทอดประสบการณ์ และให้คำปรึกษาเกี่ยวกับเทคนิคการจัดทำผลงานวิจัย ด้านมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ โดยเฉพาะประวัติศาสตร์และการเมืองระหว่างประเทศ แก่นักศึกษาและบุคลากรของมหาวิทยาลัย (ในกรณีที่ได้รับการร้องขอ)

     วัตถุประสงค์ของหน่วยวิจัย

     - จัดทำผลงานวิจัย เพื่อตีพิมพ์ลงวารสารในฐานข้อมูล Scopus

     - เผยแพร่ผลงานวิจัย ในการประชุมระดับนานาชาติที่ได้รับการยอมรับนับถือ

     - สนับสนุนกระบวนการวิจัยและตีพิมพ์ผลงาน โดยการอำนวยความสะดวกด้านงบประมาณ สถานที่ และธุรการ

     - สร้างเครือข่ายนักวิชาการด้านประวัติศาสตร์และการเมืองระหว่างประเทศ เพื่อพัฒนาโอกาสในการดำเนินงานวิจัยร่วมกัน

     - ให้คำปรึกษาเกี่ยวกับการจัดทำผลงานวิจัยเพื่อตีพิมพ์ แก่นักศึกษาและบุคลากรของมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (ในกรณีที่ได้รับการร้องขอ)

32. หน่วยวิจัยด้านสุขภาพ สมรรถภาพทางกาย การเคลื่อนไหว และคุณภาพชีวิตเพื่อสังคมอายุยืน แห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

Thammasat University Research Unit in health, physical performance, movement, and quality of life for longevity society

หัวหน้าหน่วยวิจัย :

รองศาสตราจารย์ ดร. ไพลวรรณ สัทธานนท์

สังกัด :

คณะสหเวชศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

     พันธกิจของหน่วยวิจัย

     - พัฒนาองค์ความรู้แบบองค์รวมในสังคมอายุยืน ด้านการเปลี่ยนแปลงภาวะสุขภาพร่างกาย ทั้งโครงสร้างร่างกาย กล้ามเนื้อ สมรรถภาพร่างกาย การทรงตัว การรู้คิด ตลอดจนความสามารถในการเคลื่อนไหว และคุณภาพชีวิต

     - ศึกษาและพัฒนารูปแบบการส่งเสริมสุขภาพสังคมอายุยืน ทั้งการออกกำลังกาย กิจกรรม หรือกีฬา ตลอดจนปัจจัยด้านต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง เช่น โภชนาการ และสิ่งแวดล้อม เป็นต้น

     - พัฒนานวัตกรรมและเทคโนโลยีที่สอดคล้องกับปัญหาสุขภาพที่สำคัญตั้งแต่วัยทำงานจนเข้าวัยผู้อายุ ได้แก่ 1) ปัญหาการล้ม (Falls) 2) ภาวะสมองเสื่อม (Dementia) 3) ภาวะข้อเสื่อม (Arthritis) และ 4) กลุ่มโรคเรื้อรัง (Non-Communicable Disease) ได้แก่ การพัฒนาอุปกรณ์เครื่องมือการตรวจประเมิน และ/หรือ เทคโนโลยีการให้ความรู้ และ/หรือ การให้บริการที่ครอบคลุมทั้งการประเมินและส่งเสริมสมรรถภาพร่างกาย เพื่อสังคมอายุยืน เพื่อเป็นต้นแบบและต่อยอดไปยังชุมชนต่อไป

     วัตถุประสงค์ของหน่วยวิจัย

     - เพื่อผลิตและเผยแพร่งานวิจัย ตามพันธกิจของหน่วยวิจัย ในระดับนานาชาติ

     - เพื่อพัฒนานวัตกรรม (สิ่งประดิษฐ์ เทคโนโลยี และบริการ) เพื่อตอบสนองสังคมอายุยืน

     - เพื่อส่งเสริมความร่วมมือในการพัฒนางานวิจัยระหว่างหน่วยงาน ทั้งภาครัฐ ภาคเอกชน ชุมชม หรือระดับนานาชาติ

33. หน่วยวิจัยด้านมานุษยวิทยากายภาพ และวิทยาศาสตร์สุขภาพแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

Thammasat University Research Unit in Physical Anthropology and Health science

หัวหน้าหน่วยวิจัย :

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.วรวิทย์ บุญไทย

สังกัด :

คณะสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

     พันธกิจของหน่วยวิจัย

     หน่วยวิจัยด้านมานุษยวิทยากายภาพและวิทยาศาสตร์สุขภาพแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (Thammasat University Research Unit in Physical Anthropology and Health science) เป็นหน่วยงานที่ตั้งขึ้นด้วยความร่วมมือกันระหว่างคณะสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ กับคณะแพทยศาสตร์แห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ รวมถึงการสนับสนุนความร่วมมือจากสถาบันอุดมศึกษาอื่น ๆ ทั้งภายในและภายนอกประเทศ มีวัตถุประสงค์ในการจัดตั้งเพื่อ ดำเนินการศึกษาวิจัยทางด้านมานุษยวิทยากายภาพและวิทยาศาสตร์สุขภาพ ตลอดถึงศาสตร์วิชาอื่น ๆที่เกี่ยวข้อง เพื่อให้ได้มาซึ่งข้อมูลและองค์ความรู้ที่แตกต่างหลากหลาย ทำให้เกิดองค์ความรู้แขนงใหม่ๆ ซึ่งแตกต่างออกไปจากองค์ความรู้เดิมที่มีอยู่ สามารถนำไปใช้พัฒนางานวิชาการทางด้านมานุษยวิทยากายภาพและวิทยาศาสตร์สุขภาพ

     นอกจากนี้ยังส่งเสริมสนับสนุนงานการศึกษาวิจัยข้ามศาสตร์ ตลอดจนผลิตผลงานวิจัยอันเป็นประโยชน์ ต่อการพัฒนาองค์ความรู้ทางด้านมานุษยวิทยากายภาพและวิทยาศาสตร์สุขภาพ เพื่อตีพิมพ์เผยแพร่ผลงานความรู้ทางวิชาการ ที่ได้จากงานวิจัยเหล่านี้ ในวารสารทั้งระดับชาติและระดับนานาชาติ ทั้งนี้รวมถึงการสร้างเครือข่ายหรือพันธมิตรทางวิชาการ โดยการร่วมมือกันในงานวิจัย ระหว่างมหาวิทยาลัยต่าง ๆ ทั้งในประเทศ และต่างประเทศ

     การจัดตั้งหน่วยวิจัยด้านมานุษยวิทยากายภาพและวิทยาศาสตร์สุขภาพแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เป็นการขยายขอบเขตและพัฒนางาน ทางด้านมานุษยวิทยากายภาพและชาติพันธุ์ ให้ครอบคลุมทั้งงานวิจัยด้านมานุษยวิทยากายภาพ ตลอดถึงงานวิจัยทางด้านการแพทย์ สาธารณสุข โดยเน้นหนักไปที่งานวิจัยทางด้านมานุษยกายภาพ วานรวิทยา วิวัฒนาการมนุษย์ พยาธิสภาพของมนุษย์ในยุคโบราณจนถึงสุขภาพของมนุษย์ในยุคปัจจุบัน สุขภาพของกลุ่มชาติพันธุ์ รวมไปถึงงานศึกษาวิจัยทางด้านศาสนา ภาษา ความเชื่อ และวิทยาการด้านอื่น ๆที่เกี่ยวข้อง ถือเป็นการบูรณาการความรู้ เพื่อสร้างมิติและองค์ความรู้ใหม่ๆ ให้เกิดเป็นประโยชน์นานัปการในวงวิชาการของศาสตร์ด้านนี้ และศาสตร์แขนงอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องต่อไป

     วัตถุประสงค์ของหน่วยวิจัย

     - เพื่อให้ได้ผลงานวิจัยทางด้านมานุษยวิทยากายภาพและวิทยาศาสตร์สุขภาพรวมถึงศาสตร์ด้านอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง

     - เพื่อตีพิมพ์ผลงานวิจัยในวารสาร TCI กลุ่ม 1 และวารสารวิชาการระดับสากลในฐานข้อมูล SCOPUS, Web of Science, SJR และ PUBMED

     - สร้างเครือข่ายนักวิจัยกับมหาวิทยาลัยทั้งในและต่างประเทศ รวมถึงการจัดงานประชุมสัมมนาระดับชาติและนานาชาติ

     - สนับสนุนงานวิจัยของคณะสังคมวิทยาและมานุษยวิทยาและคณะแพทยศาสตร์ รวมถึงส่งเสริมและสนับสนุนวิทยานิพนธ์นักศึกษาระดับบัณฑิตศึกษาทั้งระดับปริญญาโทและเอก

34. หน่วยวิจัยด้านโรคติดเชื้อปรสิตแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

Thammasat University Research Unit in Parasitic Diseases

หัวหน้าหน่วยวิจัย :

รองศาสตราจารย์ พิเศษ ดร. ฮานส์ รูดี กรามส์

สังกัด :

คณะสหเวชศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

     พันธกิจของหน่วยวิจัย

     - สร้างและพัฒนาผลงานวิจัยด้านโรคติดเชื้อปรสิตที่ได้จากองค์ความรู้เดิมที่มีอยู่แล้ว แล้วนำมาต่อยอดงานวิจัยที่สามารถตีพิมพ์ได้ในวารสารระดับนานาชาติ หรือมีนวัตกรรมขึ้นมาใหม่ระหว่างทำงานวิจัย

     - พัฒนาทักษะและความรู้ทางด้านงานวิจัยโรคติดเชื้อปรสิตทั้งทางด้าน ระบาดวิทยา อณูชีววิทยาและภูมิคุ้มกันวิทยา ให้แก่นักวิจัย นักศึกษา ขององค์กร

     วัตถุประสงค์ของหน่วยวิจัย

     - เพื่อศึกษา วิจัย และสร้างองค์ความรู้ด้านโรคติดเชื้อปรสิต

     - เพื่อพัฒนาผลงานวิจัยไปสู่การเผยแพร่ในระดับสากล

     - เพื่อพัฒนาและจัดการฐานข้อมูลโรคติดเชื้อปรสิต

     - เพื่อเป็นแหล่งเผยแพร่ข้อมูลด้านโรคติดเชื้อปรสิตให้แก่ผู้ที่สนใจ

35. หน่วยวิจัยด้านกัญชาและนวัตกรรมผลิตภัณฑ์สมุนไพรแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

Thammasat University Research Unit in Cannabis and Herbal Products Innovation

หัวหน้าหน่วยวิจัย :

ดร. สุเมธ คงเกียรติไพบูลย์

สังกัด :

ศูนย์วิจัยค้นคว้าและพัฒนายา สำนักงานวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีชั้นสูง มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

     พันธกิจของหน่วยวิจัย

     - สนับสนุนและพัฒนางานวิจัยทางด้านกัญชาทางการแพทย์และสร้างสรรค์นวัตกรรมจากสมุนไพรไทย ให้เป็นผลิตภัณฑ์สุขภาพ เช่น ผลิตภัณฑ์สมุนไพร ยา เครื่องสำอาง อาหารเสริม ทั้งในแง่ของวัตถุดิบที่มีคุณภาพ ผลิตภัณฑ์ และ/หรือ ส่วนประกอบของผลิตภัณฑ์ โดยมุ่งเน้นการนำภูมิปัญญาการแพทย์แผนไทยและการใช้สมุนไพรพื้นบ้านของไทยมาต่อยอดดำเนินการด้วยวิธีการทางวิทยาศาสตร์สมัยใหม่ ปรับปรุงโครงสร้างพื้นฐานของห้องปฏิบัติการให้สอดคล้องกับกฎหมายการควบคุมกัญชา และเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงาน เพื่อให้สามารถผลิตผลงานทางวิชาการที่เป็นที่ยอมรับในระดับสากล พัฒนางานวิจัยและนวัตกรรมที่มีคุณภาพ มีคุณค่าทั้งด้านวิชาการและการใช้ประโยชน์ในภาคอุตสาหกรรมอย่างเป็นรูปธรรมได้อย่างต่อเนื่อง

     วัตถุประสงค์ของหน่วยวิจัย

     - เพื่อปรับปรุงโครงสร้างพื้นฐานของห้องปฏิบัติการให้สอดคล้องกับกฎหมายการควบคุมกัญชา สามารถสร้างสรรค์และพัฒนางานวิจัยทางด้านกัญชาทางการแพทย์ รวมทั้ง สนับสนุนการดำเนินงานวิเคราะห์/วิจัยกัญชาของมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

     - เพื่อสร้างนวัตกรรมจากสมุนไพรไทย โดยมุ่งเน้นการนำภูมิปัญญาการแพทย์แผนไทยและการใช้สมุนไพรพื้นบ้านของไทยมาต่อยอดดำเนินการด้วยวิธีการทางวิทยาศาสตร์สมัยใหม่

     - เพื่อสร้างผลงานทางวิชาการที่เป็นที่ยอมรับในระดับนานาชาติ และตีพิมพ์ผลงานวิจัยในวารสารที่ปรากฏในฐานข้อมูล Scopus, SJR และ/หรือ Web of Science

     - เพื่อสร้างเครือข่ายความร่วมมือด้านการวิจัยในระดับชาติและนานาชาติ ทั้งภาครัฐและภาคเอกชน

36. หน่วยวิจัยด้านการดูแลแบบประคับประคองสำหรับผู้ใหญ่และผู้สูงอายุแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

Thammasat University Research Unit in Palliative Care for Adults and Older Adults

หัวหน้าหน่วยวิจัย :

รองศาสตราจารย์ ดร. เยาวรัตน์ มัชฌิม

สังกัด :

คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

     พันธกิจของหน่วยวิจัย

     - สร้างองค์ความรู้ด้านการดูแลแบบประคับประคองในบริบทของของประเทศไทย โดยเฉพาะในเขตบริการสุขภาพที่ 4

     - สร้างนวัตกรรมที่เกี่ยวข้องกับการดูแลแบบประคับประคอง เช่น เครื่องมือประเมินคุณภาพการตายในบริบทของไทย โปรแกรมการจัดการอาการสำหรับผู้ป่วยระยะท้ายเฉพาะโรค เช่น โปรแกรมการจัดการอาการสำหรับผู้ป่วยระยะท้ายที่เป็นมะเร็งลำไส้ โปรแกรมการจัดการอาการสำหรับผู้ป่วยระยะท้ายที่เป็นโรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง

     - การพัฒนาความรู้ด้านการดูแลแบบประคับประคองให้กับบุคลากรในหน่วยที่ต้องเกี่ยวข้องกับผู้ป่วยระยะประคับประคอง และไม่เคยได้รับการพัฒนามาก่อน เช่น หน่วยอุบัติเหตุและฉุกเฉิน

     - พัฒนาระบบการส่งต่อผู้ป่วยที่ได้รับการดูแลแบบประคับประคอง ในเขตบริการสุขภาพที่ 4

     - ผลิตผลงานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับการดูแลแบบประคับประคองและตีพิมพ์ในวารสารที่อยู่ในฐานข้อมูล SJR, Scopus

     วัตถุประสงค์ของหน่วยวิจัย

     - พัฒนาองค์ความรู้ด้านการดูแลแบบประคับประคองในบริบทของของประเทศไทย

     - สร้างนวัตกรรมที่เกี่ยวข้องกับการดูแลแบบประคับประคอง เช่น เครื่องมือประเมินคุณภาพการตายในบริบทของไทย โปรแกรมการจัดการอาการสำหรับผู้ป่วยระยะท้ายเฉพาะโรค

     - ศึกษาประสิทธิผลของเครื่องมือและโปรแกรมการจัดการอาการสำหรับผู้ป่วยระยะท้ายเฉพาะโรคที่สร้างขึ้น

     - สร้างคู่ความร่วมมือทั้งในและต่างประเทศ ทั้งในบริบทของสัมคมตะวันออกและสังคมตะวันตก

     - สร้างนักวิจัยรุ่นใหม่ด้านการดูแลแบบประคับประคอง

37. หน่วยวิจัยด้านการบูรณะเนื้อเยื่อแข็งแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

Thammasat University Research Unit in Mineralized Tissue Reconstruction

หัวหน้าหน่วยวิจัย :

รองศาสตราจารย์ ดร. วีรชัย สิงหถนัดกิจ

สังกัด :

คณะทันตแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

     พันธกิจของหน่วยวิจัย

     - หน่วยวิจัยด้านการบูรณะเนื้อเยื่อแข็ง ภายใต้การสนับสนุนของมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์และ โรงพยาบาลธรรมศาสตร์เฉลิมพระเกียรติ มุ่งเน้นการศึกษา วิจัย สร้างองค์ความรู้และนวัตกรรม ตลอดจนเผยแพร่องค์ความรู้และผลักดันด้านนโยบายที่ส่งเสริมการให้บริการทางการแพทย์ด้านการบูรณะรอยโรคและความผิดปกติของเนื้อเยื่อแข็งเพื่อรองรับการให้บริการทางการแพทย์แบบตติยภูมิแก่ผู้ป่วยทุกคนโดยเท่าเทียมกัน

     วัตถุประสงค์ของหน่วยวิจัย

     - ศึกษา วิจัย เพื่อสร้างองค์ความรู้และ/หรือนวัตกรรม ด้านการบูรณะรอยโรคและความผิดปกติของเนื้อเยื่อแข็ง

     - เผยแพร่องค์ความรู้ด้านการบูรณะรอยโรคและความผิดปกติของเนื้อเยื่อแข็งแก่ประชาชนและนักวิชาการทั้งในและต่างประเทศ

     - ผลักดันนโยบายที่ส่งเสริมการให้บริการทางการแพทย์ด้านการบูรณะรอยโรคและความผิดปกติของเนื้อเยื่อแข็งแก่ผู้ป่วยทุกคนโดยเท่าเทียมกัน

38. หน่วยวิจัยด้านการออกแบบเพื่อสังคมแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

Thammasat University Research Unit in Social Design

หัวหน้าหน่วยวิจัย :

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. รัชภูมิ ปัญส่งเสริม

สังกัด :

คณะศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

     พันธกิจของหน่วยวิจัย

     - หน่วยวิจัยด้านการออกแบบเพื่อสังคมมีพันธกิจในการวิจัยและพัฒนาหลักการหรือทฤษฎีเพื่อนำไปพัฒนาหรือสร้างสรรค์งานออกแบบในหลากหลายมิติที่เกี่ยวเนื่องกับคุณภาพชีวิตของผู้คนและสังคม เพื่อให้เกิดผลกระทบทางสังคมในเชิงบวกอย่างกว้างขวาง มากไปกว่านั้น พันธกิจของหน่วยวิจัยเพื่อสังคมยังหมายรวมไปถึงการศึกษาวิจัยในเชิงวิพากษ์และให้หลักฐานเชิงประจักษ์ เพื่อเสนอแง่มุมและแนวปฏิบัติต่อการนำไปพัฒนางานการออกแบบเพื่อสังคมในวงกว้างที่จัดการและดำเนินงานโดยภาครัฐและเอกชน ซึ่งจะส่งเสริมให้เกิดความก้าวหน้าและเกื้อหนุนสังคมอย่างมีคุณค่าและเป็นรูปธรรม

     วัตถุประสงค์ของหน่วยวิจัย

     - ผลิตผลงานวิจัยที่เกี่ยวข้องในสาขาวิชาการออกแบบเพื่อสังคม (Social Design) ที่ได้รับการตีพิมพ์เผยแพร่ในวารสารวิชาการระดับนานาชาติซึ่งอยู่ในฐานข้อมูล Scopus หรือ ISI

     - เพื่อให้ข้อเสนอเชิงนโยบายที่สามารถนำไปพัฒนาเป็นนโยบายสาธารณะหรือกฎหมายสำหรับการแก้ปัญหาสังคม

     - สร้างเครือข่ายความร่วมมือทางการวิจัยระหว่างหน่วยงานและสถาบันต่าง ๆ ทั้งในและต่างประเทศ

     - ผลิตบัณฑิตในระดับบัณฑิตศึกษาที่เกี่ยวข้องในสาขาวิชาการออกแบบเพื่อสังคม (Social Design)

39. หน่วยวิจัยด้านสังคมและพฤติกรรมศาสตร์ และนวัตกรรมทางการพยาบาลแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

Thammasat University Research Unit in Social and Behavioral Science, and Nursing Innovations

หัวหน้าหน่วยวิจัย :

ดร. กาญจณี พันธุ์ไพโรจน์

สังกัด :

คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

     พันธกิจของหน่วยวิจัย

     - ผลิตผลงานวิจัยทางด้านสังคมและพฤติกรรมศาสตร์ ผลักดันการสร้างสรรค์นวัตกรรมทางการพยาบาลและการสร้างเครือข่ายเชิงวิชาการแบบบูรณาการระหว่างหน่วยงานเพื่อนำผลงานวิจัยและนวัตกรรมไปใช้ประโยชน์ในชุมชนและสังคม

     วัตถุประสงค์ของหน่วยวิจัย

     - เพื่อสร้างองค์ความรู้งานวิจัยด้านสังคมและพฤติกรรมศาสตร์ ตลอดจนเผยแพร่งานวิจัยหรือผลงานทางวิชาการที่มีคุณภาพตีพิมพ์ระดับสากลในฐานข้อมูล Scopus หรือ ISI Web of Science

     - เพื่อผลักดันการผลิตนวัตกรรมทางการพยาบาล

     - เพื่อสร้างนักวิจัยรุ่นใหม่ในระดับบัณฑิตศึกษาด้านการพยาบาล

40. หน่วยวิจัยด้านทันตกรรมบูรณะและทันตกรรมเพื่อความสวยงามแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

Thammasat University Research Unit in Restorative and Esthetic Dentistry

หัวหน้าหน่วยวิจัย :

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ทพ. ดร. ธนาศักดิ์ รักษ์มณี

สังกัด :

คณะทันตแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

     พันธกิจของหน่วยวิจัย

     - สร้างทีมวิจัยที่เป็นผู้นำทางทันตวัสดุศาสตร์และเทคโนโลยีในด้านทันตกรรมบูรณะและทันตกรรมเพื่อความสวยงาม

     - พัฒนาความรู้แบบองค์รวมในงานทันตกรรมบูรณะที่สัมพันธ์กับสหสาขาวิชาและที่สัมพันธ์เกี่ยวข้องกับทันตกรรมเพื่อความสวยงาม

     - ผลิตผลงานวิจัยระดับชาติและนานาชาติที่เกี่ยวข้องกับงานทันตกรรมบูรณะและทันตกรรมเพื่อความสวยงามเพื่อมุ่งหวังให้ได้นวัตกรรมที่ใช้งานได้จริงในทางคลินิก (translational research)

     วัตถุประสงค์ของหน่วยวิจัย

     - เพื่อผลิตและเผยแพร่งานวิจัยตามพันธกิจของหน่วยวิจัยในระดับนานาชาติ

     - เพื่อพัฒนานวัตกรรม (สิ่งประดิษฐ์และเทคโนโลยี) ที่ใช้ในงานทันตกรรมบูรณะและทันตกรรมเพื่อความสวยงาม

     - สนับสนุนการวิจัยที่เกี่ยวข้องกับงานทันตกรรมบูรณะและทันตกรรมเพื่อความสวยงามของคณะทันตแพทยศาสตร์รวมถึงสนับสนุนและส่งเสริมวิทยานิพนธ์ของนักศึกษาบัณฑิตศึกษาทั้งมหาบัณฑิตและดุษฎีบัณฑิต

41. หน่วยวิจัยด้านวิศวกรรมโครงสร้างและวิศวกรรมฐานรากแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

Thammasat University Research Unit in Structural and Foundation Engineering

หัวหน้าหน่วยวิจัย :

ดร. ชนะชัย ทองโฉม

สังกัด :

คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

     พันธกิจของหน่วยวิจัย

     หน่วยวิจัยด้านวิศวกรรมโครงสร้างและวิศวกรรมฐานรากแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (Thammasat University Research Unit in Structural and Foundation Engineering) มีพันธกิจในการพัฒนาองค์ความรู้ทางด้านการวิเคราะห์ และการออกแบบทางด้านวิศวกรรมโครงสร้างและฐานราก รวมไปถึงการทดสอบหาพฤติกรรมต่างๆของโครงสร้าง อีกทั้งศึกษาเทคนิคของการเสริมกำลังโครงสร้างในรูปแบบต่างๆ โดยใช้วัสดุใหม่ๆ เพื่อทำให้เกิดองค์ความรู้ และ งานวิจัยแขนงใหม่ที่แตกต่างจากองค์ความรู้ที่มีอยู่เดิมทางด้านวิศวกรรมโครงสร้าง และการเสริมกำลังของโครงสร้าง นอกเหนือจากนี้ หน่วยวิจัยยังได้พัฒนาองค์ความรู้ทางด้านวิศวกรรมที่เกี่ยวข้องกับกลศาสตร์ของดินและหิน ทั้งการพัฒนาเทคนิคการวิเคราะห์เชิงตัวเลขเพื่อสร้างแบบจำลองทางคณิตศาสตร์แบบต่างๆสำหรับใช้ในการออกแบบฐานรากและโครงสร้างป้องกันดินพัง การทดสอบเพื่อศึกษาพฤติกรรมการตอบสนองของดินภายใต้สภาวะต่างๆและกำลังของดินที่สภาวะวิกฤต รวมไปถึงพัฒนาเทคนิคการปรับปรุงคุณภาพดินทางด้านกำลังและคุณสมบัติอื่นๆทางวิศวกรรมของดินให้ดียิ่งขึ้น โดยองค์ความรู้ที่ถูกพัฒนาขึ้นจะทำให้เกิดการพัฒนาเทคนิคในการออกแบบหรือการก่อสร้างงานทางด้านวิศวกรรมโยธาแบบใหม่เพื่อให้เกิดความปลอดภัยรวมไปถึงลดต้นทุนการก่อสร้างได้ดียิ่งขึ้น และพัฒนาเทคนิคในการออกแบบหรือการก่อสร้างทางด้านวิศวกรรมโครงสร้างให้กับวิศวกร นักวิจัย หรือองค์กรที่เกี่ยวข้องทั้งทางภาครัฐหรือเอกชนต่อไป

     หน่วยวิจัยด้านวิศวกรรมโครงสร้างและวิศวกรรมฐานรากแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ มุ่งสร้างความเป็นเลิศทางวิชาการ โดยมุ่งเน้นไปที่การสร้างผลงานวิจัยที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารทางวิชาการในระดับชาติที่อยู่ในฐานข้อมูล TCI และวารสารทางวิชาการในระดับนานาชาติที่อยู่ในฐานข้อมูล Scopus ในกลุ่ม Q1 Q2 Q3 และ Q4 รวมไปถึงสร้างเครือข่ายการวิจัยและพันธมิตรทางวิชาการกับหน่วยงานทางด้านการวิจัยและมหาวิทยาลัยต่างๆทั้งในและต่างประเทศ เพื่อให้เกิดงานวิจัยแนวทางใหม่ๆที่เกี่ยวข้องกับวิศวกรรมโครงสร้างและวิศวกรรมฐานราก นอกเหนือจากนี้ หน่วยวิจัยยังมุ่งผลิตนักศึกษาระดับบัณฑิตศึกษาทั้งปริญญาโทและปริญญาเอกที่มีความรู้ความสามารถทางด้านการวิจัย เพื่อให้นักศึกษาสามารถประยุกต์ใช้ประสบการณ์การทำวิจัยกับร่วมกับการทำงานจริงทางด้านสายวิชาชีพ เพื่อให้เข้ากับยุคสมัยที่เปลี่ยนแปลงไปในอนาคต ต่อไป

     วัตถุประสงค์ของหน่วยวิจัย

     - เพื่อผลิตผลงานวิจัยทางด้านวิศวกรรมโครงสร้างและวิศวกรรมฐานราก รวมไปถึงสาขาที่เกี่ยวข้อง และตีพิมพ์เผยแพร่ลงในวารสารระดับชาติที่อยู่ในฐานข้อมูล TCI หรือระดับนานาชาติที่อยู่ ในฐานข้อมูล Scopus หรือ Web of Science

     - เพื่อผลิตบุคลากรระดับบัณฑิตศึกษาที่มีความสามารถในด้านการวิจัยเชิงลึกทางด้านวิศวกรรมโครงสร้าง

     - สร้างเครือข่ายนักวิจัยกับมหาวิทยาลัยทั้งในไทยและต่างประเทศ เพื่อให้เกิดงานวิจัยใหม่ๆ ทางด้านวิศวกรรมโครงสร้าง วิศวกรรมฐานราก และการเสริมกำลังให้แก่มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

     - เพื่อนำผลการศึกษาทางทฤษฏีที่ได้ไปประยุกต์กับปัญหาทางวิศวกรรมโยธาที่เกิดขึ้นจริงได้อย่างปลอดภัย

42. หน่วยวิจัยด้านความเสมอภาคในสังคมแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

Thammasat University Research Unit in Social Equity

หัวหน้าหน่วยวิจัย :

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. อัจฉรา ชลายนนาวิน

สังกัด :

คณะสังคมสงเคราะห์ศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

     พันธกิจของหน่วยวิจัย

     - พัฒนาระบบเครือข่ายการจัดการงานวิจัยโดยใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ (ระบบฐานข้อมูลการบริหารจัดการงานวิจัย) ให้มีมาตรฐาน โปร่งใส และเป็นธรรม

     - พัฒนานักวิจัย เครือข่าย นักวิชาการ นักศึกษาเพื่อนำเสนอผลงานในระดับชาติและระดับนานาชาติ

     - แสวงหาทุนอุดหนุนวิจัยจากแหล่งทุนสนับสนุนการวิจัย และร่วมสนับสนุนทุนวิจัยกับแหล่งทุนต่าง ๆ ทั้งภายในและภายนอกมหาวิทยาลัยฯ เพื่อเพิ่มโอกาสในการรับทุนและเพิ่มศักยภาพของนักวิจัยในการสร้างผลงานวิจัยที่มีคุณภาพระดับนานาชาติรวมถึงการสร้างเครือข่ายความร่วมมือทางการวิจัยทั้งภายในและภายนอกประเทศ

     - จัดประชุมสัมมนา อบรม และจัดกิจกรรม เพื่อเพิ่มขีดความสามารถของนักวิจัย พัฒนานวัตกรรมการวิจัย และสร้างนักวิจัยรุ่นใหม่ ตลอดจนเสริมสร้างบรรยากาศทางการวิจัย และจรรยาบรรณนักวิจัย พร้อมให้บริการปรึกษางานวิจัย

     - จัดสร้างโฮมเพจสำหรับการเผยแพร่ และถ่ายทอดผลงานวิจัยของมหาวิทยาลัยฯ ผลิตสื่อสิ่งพิมพ์ สื่อออนไลน์ “วารสารข่าวหน่วยวิจัยด้านความเสมอภาคในสังคม” เผยแพร่สู่สังคมเพื่อการนำไปใช้ประโยชน์สูงสุด

     วัตถุประสงค์ของหน่วยวิจัย

     - เพื่อทำหน้าที่เป็นหน่วยวิจัยฝึกอบรม และให้บริการทางวิชาการที่เกี่ยวข้องกับงานด้านความเสมอภาคทางสังคม นโยบายความเสมอภาคทางสังคมทั้งในระดับชาติและระดับภูมิภาค

     - เพื่อทำหน้าที่เป็นศูนย์กลางความร่วมมือ และเชื่อมโยงเครือข่าย นักวิชาการ นักวิจัย และผู้ปฏิบัติงานที่เกี่ยวกับหน่วยวิจัยด้านความเสมอภาคทางสังคม

     - เพื่อเป็นหน่วยส่งเสริมและผลิตงานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับนโยบายความเสมอภาคทางสังคมและสร้างองค์ความรู้ใหม่ที่เกี่ยวข้องกับความเสมอภาคทางสังคม

     - เพื่อพัฒนาหลักสูตรการเรียนการสอนที่เกี่ยวข้องกับความเสมอภาคทางสังคมที่ทันสมัย และสามารถนำไปประยุกต์ใช้ได้กับสถานการณ์ปัจจุบันได้จริง

     - เพื่อพัฒนาระบบฐานข้อมูลงานวิจัยให้มีประสิทธิภาพและสามารถเรียกใช้ประโยชน์ได้อย่างกว้างขวาง

43. หน่วยวิจัยด้านการพัฒนาทักษะการทำงานตามอุปสงค์ตลาดแรงงานที่กำลังเปลี่ยนแปลง แห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

Thammasat University Research Unit in Work Skills Development amid Changing Demands in Labor Market

หัวหน้าหน่วยวิจัย :

รองศาสตราจารย์ ดร. ธัญญลักษณ์ วีระสมบัติ

สังกัด :

คณะสังคมสงเคราะห์ศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

     พันธกิจของหน่วยวิจัย

     - รวบรวมและพัฒนาชุดองค์ความรู้เกี่ยวกับรายละเอียดทักษะที่จำเป็นตามความต้องการของโลกการทำงานยุคใหม่ตามความต้องการของตลาดแรงงานที่กำลังเปลี่ยนแปลง

     - ประเมินทั้งความคาดหวังของนายจ้างรวมถึงสมรรรถนะปัจจุบันของนักศึกษามหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์เพื่อทราบช่องว่างของทักษะที่จำเป็นและต้องการได้รับการพัฒนา

     - เพื่อเพิ่มโอกาสในการมีงานทำ และพัฒนาเครือข่ายในการสร้างโอกาสการจ้างงานอันเป็นพื้นฐานสำคัญในการเข้าสู่การทำงานที่มีคุณค่าและมีคุณภาพชีวิตการทำงานที่ดี

     วัตถุประสงค์ของหน่วยวิจัย

     - เพื่อผลิตและเผยแพร่งานวิจัย ตามพันธกิจของหน่วยวิจัยในระดับนานาชาติ

     - เพื่อเป็นแหล่งข้อมูลเกี่ยวกับทักษะที่จำเป็นตามความต้องการของตลาดแรงงานและเพิ่มความสามารถในการมีงานทำ

     - เพื่อส่งเสริมรูปแบบการพัฒนาทักษะที่สอดคล้องกับความต้องการของตลาดแรงงานที่กำลังเปลี่ยนแปลง

44. หน่วยวิจัยด้านการสรรค์สร้างสถานที่และภูมิทัศน์แห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

Thammasat University Research Unit in Making of Place and Landscape

หัวหน้าหน่วยวิจัย :

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. พัทมน เสลานนท์

สังกัด :

คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์และการผังเมือง มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

     พันธกิจของหน่วยวิจัย

     หน่วยวิจัยด้านการสรรค์สร้างสถานที่และภูมิทัศน์ (Research Unit in Making of Landscape and Place) มีพันธกิจในการศึกษา วิจัย และพัฒนาองค์ความรู้แบบองค์รวมในการออกแบบและวางผังภูมิสถาปัตยกรรมเพื่อ ส่งเสริมการพัฒนาลักษณะทางกายภาพของเมือง โดยนำไปสู่การสร้างทีมวิจัยที่มีความเชี่ยวชาญเฉพาะทางและการ สร้างเครือข่ายความร่วมมือทางการวิจัยร่วมกับสหสาขาวิชาทางการออกแบบสิ่งแวดล้อมสรรค์สร้าง (Built Environment) จากหน่วยงานและสถาบันต่าง ๆ ทั้งในและต่างประเทศ โดยผลิตงานวิจัยระดับชาติและนานาชาติที่ เกี่ยวข้องเพื่อนำไปสู่การพัฒนาลักษณะทางกายภาพของเมืองในอนาคตเพื่อคุณภาพชีวิตที่ดีของคนเมืองที่จะเป็น กำลังสำคัญในการพัฒนาสังคมและประเทศต่อไป

     วัตถุประสงค์ของหน่วยวิจัย

     - เพื่อผลิตงานวิจัยที่เกิดจากความร่วมมือระหว่างสถาบันการศึกษา หน่วยงานภาครัฐและภาคเอกชนทั้งภายในและต่างประเทศ

     - เพื่อผลิตและเผยแพร่งานวิจัยตามพันธกิจของหน่วยวิจัยในระดับนานาชาติ

     - เพื่อผลิตบัณฑิตศึกษาระดับปริญญาโท หรือปริญญาเอกในการวิจัยด้านภูมิสถาปัตยกรรมและการออกแบบเมือง

     - สร้างความร่วมมือทางการวิจัยระหว่างสถาบันต่าง ๆ ทั้งในและต่างประเทศ

45. หน่วยวิจัยด้านการพัฒนาโครงการและนวัตกรรมในธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ แห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

Thammasat University Research Unit in Project Development and Innovation in Real Estate

หัวหน้าหน่วยวิจัย :

รองศาสตราจารย์ ดร. กองกูณฑ์ โตชัยวัฒน์

สังกัด :

คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์และการผังเมือง มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

     พันธกิจของหน่วยวิจัย

     - ผลิตและเผยแพร่ผลงานวิจัยด้านการพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ในวารสารวิชาการระดับนานาชาติ ที่ปรากฏในฐานข้อมูลสากล ได้แก่ ฐานข้อมูลการจัดอันดับวารสาร SJR หรือฐานข้อมูล ISI Web of Science หรือฐานข้อมูล Scopus

     - ผลิตและเผยแพร่ผลงานวิจัยด้านการบริหารธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ในวารสารวิชาการระดับนานาชาติ ที่ปรากฏในฐานข้อมูลสากล ได้แก่ ฐานข้อมูลการจัดอันดับวารสาร SJR หรือฐานข้อมูล ISI Web of Science หรือฐานข้อมูล Scopus

     วัตถุประสงค์ของหน่วยวิจัย

     จัดทำหรือผลิตงานวิจัย นวัตกรรม หรือผลงานทางวิชาการอื่น ทางด้านการพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ หรือด้านธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ ตามพันธกิจของหน่วยวิจัย ไม่น้อยกว่า 2 ผลงานต่อปี

46. หน่วยวิจัยด้านนวัตกรรมข้อมูลและปัญญาประดิษฐ์แห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

Thammasat University Research Unit in Data Innovation and Artificial Intelligence

หัวหน้าหน่วยวิจัย :

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. ธนาธร ทะนานทอง

สังกัด :

คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

     พันธกิจของหน่วยวิจัย

     หน่วยวิจัยด้านนวัตกรรมข้อมูลและปัญญาประดิษฐ์แห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ผลิตงานวิจัยด้านนวัตกรรมข้อมูลและด้านปัญญาประดิษฐ์ซึ่งสนับสนุนและขับเคลื่อนประเทศไทยในมิติทางเศรษฐกิจโดยการพัฒนาขั้นตอนวิธีทางด้านวิทยาการข้อมูลที่สามารถนำไปประยุกต์ใช้กับเทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ที่สร้างคุณค่าในเชิงพาณิชย์ตลอดจนผลิตงานวิจัยที่สามารถเผยแพร่ลงวารสารในระดับนานาชาติเพื่อส่งเสริมงานวิจัยทางด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีให้กับมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

     วัตถุประสงค์ของหน่วยวิจัย

     - ผลิตงานวิจัยด้านนวัตกรรมข้อมูลและปัญญาประดิษฐ์ที่ตอบโจทย์สังคมไทยและสังคมโลก

     - ผลิตรายงานวิจัยซึ่งได้รับการตีพิมพ์ลงในวารสารด้านนวัตกรรมข้อมูลและปัญญาประดิษฐ์ซึ่งเป็นที่ยอมรับในวงวิชาการระดับนานาชาติ

47. หน่วยวิจัยด้านการตรวจสอบ การเฝ้าระวัง การซ่อม และการเสริมกำลังโครงสร้าง แห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

Thammasat Research Unit in Infrastructure Inspection and Monitoring, Repair and Strengthening (IIMRS)

หัวหน้าหน่วยวิจัย :

รองศาสตราจารย์ ดร. นคร ภู่วโรดม

สังกัด :

คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

     พันธกิจของหน่วยวิจัย

     The main mission of this research unit “Thammasat Research Unit in Infrastructure Inspection and Monitoring, Repair and Strengthening (IIMRS)”is to propose an automatic image-based crack detection algorithm based on state of the art deep learning techniques. Another mission of this research unit is to investigate the structural behavior of large-scale shear dominated reinforced concrete beams and to investigate the strengthening efficiency of the newly developed hybrid basalt/E-glass FRP composites to enhance the load capacity, stiffness and ductility of both shallow and deep RC beams. The salient feature of this hybrid FRPs are low-cost and high performance as compared with the existing FRPs. For this purpose, a total number of 30 large-scale RC beams will be constructed and tested under four-point bending scheme until failure. The RC beams will be externally strengthened using hybrid FRP composites. The hybrid FRP composites will be applied in different configurations and thinness to investigates the most suitable strengthening configuration and thickness. In the case of RC deep beams externally strengthened using FRP composites, a common type of failure is the delamination or debonding of the FRP composites from the concrete surface. Therefore, another mission of this research unit is to develop new anchoring systems. The proposed anchoring systems are relatively easy to install and can be applied to the variety of FRP composites. The efficiency of the proposed anchoring systems will be evaluated in terms of the prevention of hybrid FRP delamination from concretes surface. Another mission of this research unit is to developed finite element models of RC beams by using computer program ATENA. Nonlinear finite element analysis using ATENA software will be carried out to verify the experimental results and to further check the detailed performance of hybrid FRP composites on the shear strengthening performance of shallow beams. Nonlinear finite element analysis is very beneficial for the structural response of anchoring elements. The results obtained from these analyses were will be used to verify the experimental data. The ultimate aim of this method is to provide a tool more general than simple design formulas. Finally, the experimental and finite element analysis results of this research work will be published in Scopus indexed international journals.

     วัตถุประสงค์ของหน่วยวิจัย

     The salient objectives of this research unit “Thammasat Research Unit in Infrastructure Inspection and Monitoring, Repair and Strengthening (IIMRS)” are listed below;

          - To propose an automatic image-based crack detection algorithm based on various techniques in deep learning, including Convolutional Neural Networks and Generative Adversarial Networks

          - To investigate the structural behavior of shear dominated reinforced concrete shallow and deep beams.

          - To develop a lost-cost and sustainable strengthening technique for the shear strengthening of the reinforced concrete beams.

          - To investigate the effects of different strengthening configurations on the ultimate load carrying capacity, ductility and failure modes of RC shallow and deep beams.

          - To investigate the effects of the thickness of the newly developed hybrid FRP composites on the structural behavior of RC shallow and deep beams.

          - To develop most suitable and low-cost anchoring system to securely attach the hybrid FRP composites to the RC deep beams.

          - To develop finite element models by using computer program ATENA to predict structural responses of the RC shallow and deep beams.

48. หน่วยวิจัยด้านโรคพยาธิใบไม้ในตับ มะเร็งท่อน้ำดี และโรคปรสิตที่ถูกละเลย แห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

Thammasat University Research Unit in Opisthorchiasis, Cholangiocarcinoma, and Neglected Parasitic Diseases

หัวหน้าหน่วยวิจัย :

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. วีระชัย ทิตภากร

สังกัด :

วิทยาลัยแพทยศาสตร์นานาชาติจุฬาภรณ์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

     พันธกิจของหน่วยวิจัย

     วิจัยและพัฒนาการตรวจวินิจฉัย การพยากรณ์โรค การป้องกัน และควบคุม โรคพยาธิใบไม้ตับ มะเร็งท่อน้ำดี และโรคปรสิตที่ถูกละเลย ที่มีประสิทธิภาพสูง มีราคาไม่แพง คนไทยสามารถเข้าถึงได้ สามารถพึ่งพาตนเองได้อย่างยั่งยืน เพื่อเพิ่มศักยภาพการแข่งขันของประเทศไทยต่อประชาคมโลก

     วัตถุประสงค์ของหน่วยวิจัย

     - เพื่อประยุกต์ใช้เทคโนโลยีโอมิกส์แบบองค์รวมในการค้นคว้าตัวบ่งชี้ทางชีวภาพสำหรับการพัฒนา วิธีการตรวจวินิจฉัยโรค การพยากรณ์โรค การติดตามการรักษา และการรักษาโรคพยาธิใบไม้ตับ โรคมะเร็งท่อน้ำดี และโรคปรสิตที่ถูกละเลย

     - เพื่อพัฒนาวิธีการตรวจวินิจฉัยโรคที่มีประสิทธิภาพสำหรับโรคพยาธิใบไม้ตับ โรคมะเร็งท่อน้ำดี และโรคปรสิตที่ถูกละเลย เพื่อประยุกต์ใช้เทคโนโลยีการแสดงแอนติบอดีบนผิวแบคเทอริโอเฟจในการผลิตแอนติบอดีเพื่อการพัฒนาวิธีการตรวจวินิจฉัยและการรักษาโรคพยาธิใบไม้ตับ โรคมะเร็งท่อน้ำดี และโรคปรสิตที่ถูกละเลย

     - เพื่อศึกษา ควบคุม และป้องกันโรคพยาธิใบไม้ตับ โรคมะเร็งท่อน้ำดี และโรคปรสิตที่ถูกละเลยใน โฮสต์ตัวกลางแบบครบวงจร

49. หน่วยวิจัยด้านแผ่นไมโครนีดเดิลเชิงแสง เพื่อใช้ในการรักษาโรคผิวหนังและความงาม แห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

Thammasat University Research Unit in Development of LED microneedle patch for aesthetic and skin diseases

หัวหน้าหน่วยวิจัย :

รองศาสตราจารย์ ดร.พญ. จิตรลดา มีพันแสน

สังกัด :

วิทยาลัยแพทยศาสตร์นานาชาติจุฬาภรณ์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

     พันธกิจของหน่วยวิจัย

     หน่วยวิจัยนี้จัดตั้งขึ้นเพื่อพัฒนา LED microneedle patch ซึ่งเป็นผลิตภัณฑ์เชิงพาณิชย์ที่ใช้ในการรักษาโรคผิวหนัง รวมถึงความงาม โดย ระยะแรกจะทำการศึกษาการนำมาใช้จริงในภาวะเกี่ยวกับเส้นผมและหนังศีรษะ เช่น โรคผมบางจากกรรมพันธุ์ (Androgenetic alopecia) เมื่อประสบความสำเร็จ ในระยะต่อไปจะขยายผลนำมาใช้ในการรักษาโรคผิวหนังอักเสบเรื้อรัง โรคเกี่ยวกับเม็ดสีผิดปกติ เป็นต้น รวมถึงการประยุกต์ใช้ในเรื่องความงาม ได้แก่ การทำ LED microneedle patch มาใช้รักษา ริ้วรอย ฝ้า กระ ฟื้นคืนความอ่อนวัย เป็นต้น โดยการพัฒนานวัตกรรมนี้จะทำร่วมกับ Nanoneedle research team, Nanotec, NSTDA

     วัตถุประสงค์ของหน่วยวิจัย

     - ผลิตผลงานนวัตกรรมซึ่งใช้ได้จริงในมนุษย์ โดยให้เกิดประสิทธิภาพสูงที่สุด ผลข้างเคียงน้อยที่สุด ในราคาที่สมเหตุสมผล มีมาตรฐานเป็นที่ยอมรับ สามารถจำหน่ายได้ทั้งในประเทศไทยและต่างประเทศ

     - พัฒนาต่อยอดผลงานนวัตกรรมใหม่ในระยะยาว เพื่อใช้ในการป้องกัน รักษา ฟื้นฟู ภาวะหรือโรคทางผิวหนังและความงาม

     - ผลิตและเผยแพร่งานวิจัยในระดับนานาชาติ

     - ผลิตนักศึกษาระดับปริญญาโทและเอก

50. หน่วยวิจัยด้านกลไกการออกฤทธิ์ของตัวยาและการถ่ายภาพระดับโมเลกุล แห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

Thammasat University Research Unit in Mechanisms of Drug Action and Molecular Imaging

หัวหน้าหน่วยวิจัย :

ดร. ภญ. วรปภา ตรีสุภรัชต์

สังกัด :

ศูนย์วิจัยค้นคว้าและพัฒนายา สำนักงานวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีชั้นสูง มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

     พันธกิจของหน่วยวิจัย

     - สร้างงานวิจัยเกี่ยวกับการศึกษากลไกการออกฤทธิ์ของตัวยาหรือสารสกัดจากสมุนไพรที่มีฤทธิ์ทางชีวภาพทั้งในหลอดทดลองและ/หรือในสัตว์ทดลอง

     - สร้างงานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับเทคโนโลยีด้านการถ่ายภาพระดับโมเลกุล ได้แก่ การถ่ายภาพสารพันธุกรรม (ดีเอ็นเอ/อาร์เอ็นเอ) โปรตีน เซลล์ เนื้อเยื่อ รวมไปถึงสัตว์ทดลอง เพื่อศึกษาการตอบสนองของเซลล์ที่มีต่อตัวยาหรือสารสกัดสมุนไพร และศึกษาการกระจายตัวยาและเซลล์/อวัยวะเป้าหมายของตัวยาหรือระบบนำส่งยาทั้งในหลอดทดลองและ/หรือในสัตว์ทดลอง

     - เพื่อปรับปรุงโครงสร้างพื้นฐานของห้องปฏิบัติการและจัดหาอุปกรณ์ให้เหมาะสมและเพียงพอสำหรับการดำเนินงานวิจัยและขยายขอบเขตของงานวิจัยได้อย่างต่อเนื่อง

     วัตถุประสงค์ของหน่วยวิจัย

     - เพื่อสร้างผลงานวิจัยหรือผลงานทางวิชาการที่เป็นที่ยอมรับในระดับนานาชาติและตีพิมพ์ผลงานในวารสารวิชาการที่ปรากฏในฐานข้อมูล Scopus, SJR และ/หรือ Web of Science

     - เพื่อสร้างเครือข่ายความร่วมมือด้านการวิจัยระหว่างสถาบันภายในและ/หรือภายนอก มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และ/หรือ ระหว่างภาครัฐและภาคเอกชน

51. หน่วยวิจัยด้านชีวกลศาสตร์ในงานทันตกรรมแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

Thammasat University Research Unit in Dental Biomechanics

หัวหน้าหน่วยวิจัย :

รองศาสตราจารย์ ทพ.ดร. สำเริง อินกล่ำ

สังกัด :

คณะทันตแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

     พันธกิจของหน่วยวิจัย

     สร้างองค์ความรู้ทางชีวกลศาสตร์ของงานทันตกรรมด้วยการวิจัยแบบสหสาขาวิชาสำหรับการประยุกต์ใช้ทางคลินิกเพื่อเพิ่มประสิทธิผลของการรักษาทางทันตกรรมรองรับความต้องการด้านทันตสาธารณสุขของประเทศ

     วัตถุประสงค์ของหน่วยวิจัย

     - เพื่อเป็นแหล่งรวบรวมและแลกเปลี่ยนองค์ความรู้พื้นฐานทางชีวกลศาสตร์ในลักษณะสหสาขาวิชา

     - เป็นแหล่งรวบรวมและสนับสนุนการใช้เทคโนโลยีที่ทันสมัยสำหรับการวิจัยทางชีวกลศาสตร์

     - เพื่อเป็นแหล่งศึกษาวิจัยสร้างองค์ความรู้ทางชีวกลศาสตร์สำหรับงานทางทันตแพทยศาสตร์สาขาต่าง ๆ

     - เพื่อเป็นแหล่งประสานงานในการนำองค์ความรู้ทางชีวกลศาสตร์ไปประยุกต์ใช้สำหรับงานการรักษาทางทันตกรรม

     - เพื่อนำองค์ความรู้จากการศึกษาวิจัยไปต่อยอดสร้างนวัตกรรมการรักษาทางทันตกรรมแบบครบวงจร

52. หน่วยวิจัยด้านความเสมอภาคทางสุขภาพ การศึกษา และสังคมในด้านความหลากหลายทางเพศแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

Thammasat University Research Unit in Health, Educational, and Social Equity in Sexual and Gender Diversity

หัวหน้าหน่วยวิจัย :

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. ปริยศ กิตติธีระศักดิ์

สังกัด :

คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

     พันธกิจของหน่วยวิจัย

     - ผลิตผลงานวิจัยหรือผลงานวิชาการด้านสุขภาพ การศึกษา และสังคมที่เกี่ยวข้องกับความหลากหลายทางเพศ

     - เผยแพร่งานวิจัยหรือผลงานวิชาการเพื่อตีพิมพ์ในวารสารวิชาการที่ปรากฏอยู่ในฐานข้อมูล SJR, Scopus

     - สื่อสารองค์ความรู้ที่ได้จากงานวิจัยสู่สาธารณะเพื่อส่งเสริมความเสมอภาคทางเพศให้กับสังคมไทย

     วัตถุประสงค์ของหน่วยวิจัย

     - เพื่อศึกษาความเชื่อมโยงระหว่างความหลากหลายทางเพศและความเสมอภาคทางสุขภาพ การศึกษา และสังคม

     - เพื่อเผยแพร่องค์ความรู้ที่ได้รับจากการวิจัยผ่านวารสารวิชาการและการสื่อสารสาธารณะ

     - เพื่อสร้างความร่วมมือระหว่างทีมนักวิจัยที่มาจากสหสาขาวิชาชีพ

53. หน่วยวิจัยด้านสุขภาพหนึ่งเดียวและสุขภาพนิเวศแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

Thammasat University Research Unit in One Health and Ecohealth

หัวหน้าหน่วยวิจัย :

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ อดิศักดิ์ ภูมิรัตน์

สังกัด :

คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

     พันธกิจของหน่วยวิจัย

     - สร้างและพัฒนาองค์ความรู้เกี่ยวกับประเด็นสุขภาพ โดยประยุกต์ใช้แนวทางสุขภาพหนึ่งเดียวและสุขภาพนิเวศเป็นฐานที่จะนำการวิจัยสหสาขาวิชาไปสู่การปฏิบัติ

     - สนับสนุน ส่งเสริม เผยแพร่องค์ความรู้เกี่ยวกับประเด็นสุขภาพให้แก่ประชาคมนักวิจัยและนักวิชาการ(scientific communities) ทั้งในระดับชาติและระดับนานาชาติ

     วัตถุประสงค์ของหน่วยวิจัย

     - ดำเนินการวิจัยสหสาขาวิชาหรือวิจัยประยุกต์เกี่ยวกับประเด็นสุขภาพที่มีความท้าทายทางสุขภาพหนึ่งเดียวและสุขภาพนิเวศ

     - สร้างและพัฒนาเครือข่ายวิจัยสุขภาพหนึ่งเดียวและสุขภาพนิเวศ ทั้งภายในและภายนอกมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

     - ผลิตผลงานวิชาการหรือผลงานวิจัยหรือผลงานสร้างสรรค์ที่เป็นที่ยอมรับทั้งในระดับชาติและระดับนานาชาติ

54. หน่วยวิจัยด้านพลังงานที่ยั่งยืนและสิ่งแวดล้อมสรรค์สร้างแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

Thammasat University Research Unit in Sustainable Energy and Build Environment

หัวหน้าหน่วยวิจัย :

รองศาสตราจารย์ ดร. บัณฑิต ลิ้มมีโชคชัย

สังกัด :

สถาบันเทคโนโลยีนานาชาติสิรินธร มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

     พันธกิจของหน่วยวิจัย

     หน่วยงานวิจัย “พลังงานที่ยั่งยืนและสิ่งแวดล้อมสรรค์สร้าง” มีความมุ่งหมายของการจัดตั้งเพื่อพัฒนาโอกาส ทางการศึกษาวิจัยที่เกี่ยวข้องกับการแก้ไขปัญหาด้านการบริหารจัดการทรัพยากรพลังงานและการเปลี่ยนแปลง สภาพภูมิอากาศ ภายใต้ความร่วมมือระหว่างองค์กรภายในประเทศและระดับนานาชาติ

     วัตถุประสงค์ของหน่วยวิจัย

     - ผลิตผลงานวิจัยระดับท้องถิ่นหรือชุมชนที่สามารถนำไปสู่การพัฒนาสังคมแบบคาร์บอนต่ำ

     - ผลิตผลงานวิจัยระดับสูงที่สามารถส่งเสริมการพฒันาพลังงานและสิ่งแวดล้อมที่ยั่งยืน

     - จัดกิจกรรมและการฝึกอบรมที่สัมพันธ์กับการบริหารจัดการทรัพยากรพลังงานและสิ่งแวดล้อม ตลอดจนการพัฒนาเทคโนโลยีการปล่อยคาร์บอนต่ำ เพื่อลดผลกระทบต่อสภาพภูมิอากาศ

     - พัฒนาความร่วมมือกับองค์กรภาครัฐและเอกชนในการศึกษาและวิจัยด้านพลังงานและสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืน

55. หน่วยวิจัยด้านโรคภูมิแพ้และโรคระบบทางเดินหายใจแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

Thammasat University Research Unit in Allergy and Respiratory Medicine

หัวหน้าหน่วยวิจัย :

รองศาสตราจารย์ นายแพทย์ณรงค์กร ซ้ายโพธิ์กลาง

สังกัด :

คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

     พันธกิจของหน่วยวิจัย

     - สร้างผลงานวิจัยและนวัตกรรมเกี่ยวกับโรคภูมิแพ้และโรคระบบการหายใจเผยแพร่สู่สากล

     - บริหารจัดการงานวิจัยและนวัตกรรมเกี่ยวกับโรคภูมิแพ้และโรคระบบการหายใจให้มีประสิทธิภาพ

     - สร้างเครือข่ายระหว่างนักวิจัยให้เกิดการสร้างผลงานวิจัยและนวัตกรรมเกี่ยวกับโรคภูมิแพ้และโรคระบบการหายใจ

     วัตถุประสงค์ของหน่วยวิจัย

     - ผลิตผลงานวิจัยและนวัตกรรมเกี่ยวกับโรคภูมิแพ้และโรคระบบการหายใจให้เป็นที่ยอมรับในระดับชาติหรือนานาชาติ และเผยแพร่สู่สากล

     - บริหารจัดการทรัพยากรที่เกี่ยวข้องกับงานวิจัยและนวัตกรรมเกี่ยวกับโรคภูมิแพ้และโรคระบบการหายใจให้มีประสิทธิภาพ ค้นหาและเสนอขอทุนสนับสนุนการวิจัยทั้งภายในและภายนอกสถาบัน

     - สร้างเครือข่ายการวิจัยและนวัตกรรมของกลุ่มนักวิจัยเกี่ยวกับโรคภูมิแพ้และโรคการหายใจทั้งในโรงพยาบาลธรรมศาสตร์เฉลิมพระเกียรติและศูนย์การแพทย์ปฐมภูมิ คูคต คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

56. หน่วยวิจัยด้านการใช้สถิติวิเคราะห์ข้อมูลทางคลินิกขั้นสูงและนวัตกรรมวิจัยทางสูติศาสตร์และนรีเวชวิทยาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

Thammasat University Research Unit in Advanced clinical data statisitics analysis and innovative research in obstetrics and gynecology group

หัวหน้าหน่วยวิจัย :

รองศาสตราจารย์ ดร.นายแพทย์ชำนาญ แท่นประเสริฐกุล

สังกัด :

คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

     พันธกิจของหน่วยวิจัย

     - เพื่อให้เกิดการรวมกลุ่มและการร่วมมือของบุคลากรที่มีความรู้ความเชียวชาญในหลายๆ อนุสาขา เพื่อการสร้างงานวิจัยและนวัตกรรมทางคลินิกที่ได้มาตรฐานในระดับสูง

     - นำองค์ความรู้ที่ได้จากงานวิจัยไปใช้ประโยขน์มาใช้ในการการดูแลผู้ป่วยสตรีในทุกช่วงวัย

     - ปลูกฝังค่านิยมการทำวิจัยให้กับบุคลากรเดิมและรุ่นใหม่ โดยมุ่งเน้นทั้งการทำงานวิจัยด้วยตนเอง และการทำงานวิจัยเป็นหมู่คณะเพื่อให้สามารถมีการให้คำปรึกษาซึ่งกันและกัน และมีแก้ไขปัญหาอย่างถูกต้องและรวดเร็วเพื่อมีการดูแลให้งานวิจัยที่ผลิตออกมามีคุณภาพในระดับสูง/p>

     วัตถุประสงค์ของหน่วยวิจัย

     - สร้างงานวิจัยและนวัตกรรมด้านสูติศาสตร์นรีเวชวิทยา ที่ได้รับการยอมรับและตีพิมพ์ในวารสารระดับนานาชาติ

     - บริหารจัดการทรัพยากรที่เกี่ยวข้องกับงานวิจัยให้มีประสิทธิภาพ ค้นหาข้อเสนอและทุนสนับสนุนการวิจัยทั้งภายในและภายนอกมหาวิทยาลัย

     - สร้างค่านิยมในการพัฒนางานวิจัย รวมถึงการสร้างเครือข่ายการวิจัยของกลุ่มนักวิจัยเกี่ยวกับโรคทางสูตินรีเวช ทั้งภายในและระดับประเทศ

57. หน่วยวิจัยด้านพีชคณิตและการประยุกต์แห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

Thammasat University Research Unit in Algebra and Its APPlications

หัวหน้าหน่วยวิจัย :

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ญาณิศา ชัยยา

สังกัด :

คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

     พันธกิจของหน่วยวิจัย

     พันธกิจหลักของหน่วยวิจัยด้านพีชคณิตและการประยุกต์ (Thammasat University Research Unit in Algebra and Its Applications) คือ พัฒนาความรู้และงานวิจัยทางคณิตศาสตร์ด้านพีชคณิต โดยมุ่งเน้นการพัฒนาด้านพีชคณิตเชิงเส้นและพีชคณิตนามธรรม เพื่อให้เกิดองค์ความรู้ใหม่ทางด้านคณิตศาสตร์บริสุทธิ์อันเป็นรากฐานการต่อยอดไปสู่การประยุกต์ใช้ในการแก้ปัญหาจริงแก่วงการวิชาการและสังคม รวมถึงเป็นหน่วยวิจัยที่มุ่งเน้นการเผยแพร่ผลงานวิจัย ตลอดจนสร้างเครือข่ายการวิจัยทางด้านพีชคณิตในระดับชาติและระดับนานาชาติเพื่อให้เกิดเป็นการร่วมมือแห่งอนาคต

     วัตถุประสงค์ของหน่วยวิจัย

     - ผลิตผลงานวิจัยด้านพีชคณิตและการประยุกต์ และตีพิมพ์เผยแพร่ในวารสารวิชาการระดับนานาชาติซึ่งอยู่ในฐานข้อมูลสากล ได้แก่ SJR Scopus หรือ ISI อย่างน้อยสองเรื่องต่อปี โดยอยู่ใน Q2 อย่างน้อยหนึ่งเรื่อง

     - ผลิตนักศึกษาระดับบัณฑิตศึกษา ที่มีความรู้ ความสามารถ ด้านพีชคณิตและการประยุกต์ อันนำไปสู่การพัฒนากำลังคนในอนาคต

     - เผยแพร่ผลงานวิจัยในการประชุมวิชาการทางด้านคณิตศาสตร์ระดับชาติและระดับนานาชาติ

     - สร้างเครือข่ายงานวิจัยด้านพีชคณิตและการประยุกต์ เพื่อก่อให้เกิดเครือข่ายการร่วมมือแห่งอนาคต

58. หน่วยวิจัยด้านนวัตกรรมพลังงานและฟิสิกส์แผนใหม่แห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

Thammasat University Research Unit in Energy Innovations and Modern Physics (EIMP)

หัวหน้าหน่วยวิจัย :

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.วสันต์ ไมอักรี

สังกัด :

คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

     พันธกิจของหน่วยวิจัย

     - สร้างผลงานวิจัยตีพิมพ์ระดับนานาชาติในฐานข้อมูล Scopus/ISI

     - พัฒนานวัตกรรมด้านเซลล์แสงอาทิตย์และอุปกรณ์พลังงานอื่นๆเพื่อประโยชน์ทางด้านพลังงาน และอิเล็กทรอนิกส์อัจฉริยะ

     - ศึกษาและพัฒนาองค์ความรู้เกี่ยวกับฟิสิกส์แผนใหม่และนวัตกรรมที่เกี่ยวข้องเพื่อนำไปต่อยอดเป็น เทคโนโลยีที่มีประโยชน์ต่อมนุษยชาติต่อไปในอนาคต

     - สร้างเครือข่ายความร่วมมือการวิจัยทางด้านพลังงานและฟิสิกส์แผนใหม่กับหน่วยงานภาครัฐหรือ เอกชน

     วัตถุประสงค์ของหน่วยวิจัย

     - เพื่อสร้างผลงานวิจัยที่เป็นเลิศทางด้านพลังงานและฟิสิกส์แผนใหม่ที่มีคุณภาพได้รับการตีพิมพ์ ระดับนานาชาติในฐานข้อมูล Scopus/ISI

     - เพื่อพัฒนาอุปกรณ์ทางด้านเซลล์แสงอาทิตย์และอุปกรณ์พลังงานอื่น ๆ

     - เพื่อศึกษาและพัฒนาองค์ความรู้เกี่ยวกับฟิสิกส์แผนใหม่และนวัตกรรมที่เกี่ยวข้อง

     - สร้างนักวิจัยรุ่นใหม่ระดับปริญญาตรี โท และเอกที่มีความเชี่ยวชาญทางด้านพลังงานและฟิสิกส์ แผนใหม่

59. หน่วยวิจัยด้านเทคโนโลยีเชิงควอนตัมแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

Thammasat University Research Unit in Quantum Technology

หัวหน้าหน่วยวิจัย :

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ยิ่งยศ อินฟ้าแสง

สังกัด :

คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

     พันธกิจของหน่วยวิจัย

     - มุ่งสู่ความเป็นเลิศที่สร้างผลงานวิจัยตีพิมพ์ระดับนานาชาติในฐานข้อมูล Scopus/ISI และนวัตกรรม ทางด้านเทคโนโลยีเชิงควอนตัม เช่น การคำนวณเชิงควอนตัม การสื่อสารเชิงควอนตัม เซนเซอร์เชิงควอนตัม ทัศนศาสตร์เชิงควอนตัม เพื่อประยุกต์ใช้และสร้างนวัตกรรมทางการแพทย์ ทางวิศวกรรมศาสตร์ ทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เพื่อสังคมที่มีคุณภาพและยั่งยืน

     - ผลักดันให้เกิดความพร้อมสำหรับการเปลี่ยนแปลงวิทยาศาสตร์ วิศวกรรมศาสตร์ และเทคโนโลยี สำหรับโลกสมัยใหม่จากเทคโนโลยีเชิงควอนตัม 1.0 สู่การเป็นเทคโนโลยีเชิงควอนตัม 2.0

     วัตถุประสงค์ของหน่วยวิจัย

     - เพื่อสร้างผลงานวิจัยที่เป็นเลิศทางด้านเทคโนโลยีเชิงควอนตัมที่มีคุณภาพได้รับการตีพิมพ์ระดับนานาชาติ ในฐานข้อมูล Scopus/ISI

     - เพื่อพัฒนานวัตกรรมหรือต้นแบบสิ่งประดิษฐ์ทางด้านเทคโนโลยีเชิงควอนตัม

     - สร้างเครือข่ายความร่วมมือการวิจัยทางด้านเทคโนโลยีเชิงควอนตัมกับหน่วยงานภาครัฐหรือเอกชน ระดับชาติและนานาชาติ

     - สร้างนักวิจัยรุ่นใหม่ระดับปริญญาตรี โท และเอกที่มีความเชี่ยวชาญทางด้านเทคโนโลยีเชิงควอนตัม

     - ส่งเสริมและเผยแพร่องค์ความรู้ด้านเทคโนโลยีเชิงควอนตัม ให้เป็นที่รู้จักและเข้าถึงประชาชนคนไทย

60. หน่วยวิจัยด้านนวัตกรรมโมเลกุลลูกผสมสำหรับการประยุกต์ด้านชีวการแพทย์แห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

Thammasat University Research Unit in Innovation of Molecular Hybrid for Biomedical Application

หัวหน้าหน่วยวิจัย :

รองศาสตราจารย์ ดร.บุญช่วย สุนทรวรจิต

สังกัด :

คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

     พันธกิจของหน่วยวิจัย

     - ศึกษาและผลิตองค์ความรู้ทางด้านสารมหโมเลกุล สารออกฤทธิ์จากผลิตภัณฑ์ธรรมชาติเพื่อสร้างเป็นโมเลกุลลูกผสมที่มีประสิทธิภาพในการออกฤทธิ์และมีความจำเพาะกับสารเป้าหมาย ซึ่งจะเป็นประโยชน์ในการนำไปใช้งานทางด้านชีวการแพทย์

     - ส่งเสริมความเป็นเลิศทางวิชาการ องค์ความรู้ที่หน่วยวิจัยผลิตขึ้นแก่มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์เพื่อให้มหาวิทยาลัยมีชื่อเสียงในระดับสากล เป็นต้นว่า บทความวิจัยตีพิมพ์ในฐานข้อมูลสากล สิทธิบัตร และอนุสิทธิบัตร

     - พัฒนาทรัพยากรบุคคลทางด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแก่ประเทศ อันได้แก่ นักวิจัย ผู้ช่วยนักวิจัย นักศึกษาช่วยวิจัย ที่ทำวิจัยภายในหน่วยวิจัยนี้

     วัตถุประสงค์ของหน่วยวิจัย

     - พัฒนาวิธีการที่ใช้การตรวจวัดอันตรกิริยาระหว่างโมเลกุลจดจำในกลุ่มแอพทาเมอร์กับสารเป้าหมายที่เป็นตัวบ่งชี้ทางชีวภาพสำหรับโรคมะเร็ง

     - ศึกษาและตรวจวัดอันตรกิริยาระหว่างโมเลกุลจดจำและสารเป้าหมาย

     - ศึกษาการเตรียมการสกัดแยกสารออกฤทธิ์จากผลิตภัณฑ์ธรรมชาติ

     - ทดสอบฤทธิ์ทางชีวภาพของสารที่สกัดได้จากผลิตภัณฑ์ธรรมชาติ

     - พัฒนาวิธีการเตรียมโมเลกุลลูกผสมระหว่างโมเลกุลจดจำและสารออกฤทธิ์โดยอาศัยหลักการจัดวางโมเลกุลอย่างเป็นระเบียบได้ด้วยตนเอง

61. หน่วยวิจัยด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีนวัตกรรมสำหรับโครงสร้างพื้นฐานด้านวิศวกรรมโยธาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

Thammasat University Research Unit in Science and Innovative technologies for Civil Engineering Infastructures

หัวหน้าหน่วยวิจัย :

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.สุรภาพ แก้วสวัสดิ์วงศ์

สังกัด :

คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

     พันธกิจของหน่วยวิจัย

     หน่วยวิจัยด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีนวัตกรรมสำหรับโครงสร้างพื้นฐานด้านวิศวกรรมโยธา (Center of Excellence in Sciences and Innovative Technologies for Civil Engineering Infrastructures) มีพันธกิจในการพัฒนาองค์ความรู้ทางด้านการวิเคราะห์และการออกแบบทางด้านวิศวกรรมโยธา รวมไปถึงการทดสอบหาพฤติกรรมต่าง ๆ ของโครงสร้างและวัสดุ อีกทั้งศึกษาและพัฒนาเทคนิคของการออกแบบโครงสร้างและการเสริมกำลังโครงสร้างในรูปแบบต่าง ๆ สำหรับด้านวัสดุ หน่วยวิจัยตั้งเป้าที่จะพัฒนาวิธีใหม่ ๆ ที่จะนำวัสดุที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม เช่น จีโอพอลิเมอร์ หรือวัสดุจำพวกเส้นใยธรรมชาติมาใช้ในการก่อสร้างเพื่อทำให้เกิดองค์ความรู้และงานวิจัยแขนงใหม่ที่แตกต่างจากองค์ความรู้ที่มีอยู่เดิมทางด้านวิศวกรรมวัสดุที่ใช้กันทั่ว ๆ ไปในวิศวกรรมโยธา นอกเหนือจากนี้ หน่วยวิจัยทางวิซาการยังได้พัฒนาองค์ความรู้ทางด้านวิศวกรรมธรณีเทคนิคที่มักจะเกี่ยวข้องกับกลศาสตร์ด้านวิศวกรรมของของดินและหินเพื่อใช้สำหรับการออกแบบฐานรากให้ปลอดภัยและมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น หน่วยวิจัยทางวิชาการยังมีเป้าหมายในการพัฒนาเทคนิคการวิเคราะห์เชิงตัวเลขเพื่อสร้างแบบจำลองทางคณิตศาสตร์แบบต่าง ๆ สำหรับใช้ในการออกแบบโครงสร้างพื้นฐานทางวิศวกรรมโยธาทั้งในระดับโครงสร้างใหญ่ ๆ ไปจนถึงส่วนประกอบเล็ก ๆ ในระดับนาโนสเกล สำหรับการประยุกต์ใช้ความรู้ ทางจุลชีววิทยาในวิศวกรรมโยธา หน่วยวิจัยทางวิชาการ ยังมีเป้าหมายในการพัฒนาด้านการศึกษาวิจัยในเรื่องของการซ่อมแซมรอยร้าวโดยใช้ความรู้ทางด้านชีวภาพเข้ามา เพื่อลดต้นทุนและการใช้พลังงานในการผลิตปูนชีเมนต์ โดยอาศัยความรู้ทางด้านแบคที่เรียที่สามารถตกตะกอนของแคลเซียมคาร์บอเนตได้นั้นมาใช้ในการซ่อมแซมรอยร้าวของคอนกรีต นอกจากการซ่อมแซมรอยร้าว ทางหน่วยวิจัยตั้งเป้าที่จะมีการนำแบคทีเรียชนิดนี้มาปรับปรุงคุณภาพของดินทรายให้มีลักษณะที่ทนต่อการซึมผ่านของน้ำที่ผสมสารพิษในดิน รวมไปถึงการเพิ่มกำลังและความสามารถในการรับแรงต่าง ๆ โดยองค์ความรู้ที่ถูกพัฒนาขึ้นโดยหน่วยวิจัยทางวิชาการนี้ จะทำให้เกิดการพัฒนาเทคนิคในการออกแบบและการก่อสร้างงานทางด้านวิศวกรรมโยธาแบบใหม่เพื่อให้เกิดความปลอดภัยรวมไปถึงลดต้นทุนการก่อสร้างได้ดียิ่งขึ้น และพัฒนาเทคนิคในการออกแบบหรือการก่อสร้างทางด้านวิศวกรรมโครงสร้างให้กับวิศวกร นักวิจัย หรือองค์กรที่เกี่ยวข้องทั้งทางภาครัฐหรือเอกชนต่อไป

     หน่วยวิจัยด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีนวัตกรรมสำหรับโครงสร้างพื้นฐานด้านวิศวกรรมโยธาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ มุ่งสร้างความเป็นเลิศทางวิชาการ โดยมุ่งเน้นไปที่การสร้างผลงานวิจัยที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารทางวิชาการในระดับชาติที่อยู่ในฐานข้อมูลระดับนานาชาติใน Scopus โดยจะเน้นผลงานตีพิมพ์ที่ในกลุ่ม Q1 และ Q2 รวมไปถึงสร้างเครือข่ายการวิจัยและพันธมิตรทางวิชาการกับหน่วยงานทางด้านการวิจัยและมหาวิทยาลัยต่าง ๆ ทั้งในและต่างประเทศ เพื่อให้เกิดงานวิจัยแนวทางใหม่ๆ ที่เกี่ยวข้องกับวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีนวัตกรรมสำหรับโครงสร้างพื้นฐานด้านวิศวกรรมโยธาและตั้งเป้าที่จะเผยแพร่ความรู้โดยการจัดโครงการสัมมนาและอบรมเพื่อเผยแพร่ความรู้ทางวิศวกรรมโยธาให้แก่วิศวกรและนักศึกษาที่สนใจเพื่อสร้างชื่อเสียงให้กับมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ นอกเหนือจากนี้ หน่วยวิจัยยังมุ่งผลิตนักศึกษาระดับบัณฑิตศึกษาทั้งปริญญาโทและปริญญาเอกที่มีความรู้ความสามารถทางด้านการวิจัย เพื่อให้นักศึกษาสามารถประยุกต์ใช้ประสบการณ์การทำวิจัยกับร่วมกับการทำงานจริงทางด้านสายวิชาชีพ เพื่อให้เข้ากับยุคสมัยที่เปลี่ยนแปลงต่อไปในอนาคต

     วัตถุประสงค์ของหน่วยวิจัย

     - เพื่อผลิตผลงานวิจัยทางด้านวิศวกรรมวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีนวัตกรรมสำหรับโครงสร้างพื้นฐานด้านวิศวกรรมโยธา รวมไปถึงสาขาที่เกี่ยวข้อง และตีพิมพ์เผยแพร่ลงในวารสารระดับชาติที่อยู่ในฐานข้อมูลระดับนานาชาติ เช่น Scopus หรือ Web of Science ปีละไม่ต่ำกว่า 20 บทความ

     - เพื่อผลิตบุคลากรระดับบัณฑิตศึกษาที่มีความสามารถในด้านการวิจัยเชิงลึกทางด้านวิศวกรรมโยธา

     - สร้างเครือข่ายนักวิจัยกับมหาวิทยาลัยทั้งในไทยและต่างประเทศ เพื่อให้เกิดงานวิจัยใหม่ ๆ ทางด้านวิศวกรรมโยธให้แก่มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

     - เพื่อนำผลการศึกษาทางทฤษฎีที่ได้ไปประยุกต์กับปัญหาทางวิศวกรรมโยธาที่เกิดขึ้นจริงได้อย่าปลอดภัย

     - เพื่อถ่ายทอดความรู้โดยการจัดโครงการสัมมนาและอบรมเพื่อเผยแพร่ความรู้ทางวิศวกรรมโยธาให้แก่วิศวกรและนักศึกษาที่สนใจเพื่อสร้างชื่อเสียงให้กับมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

62. หน่วยวิจัยด้านวิทยาศาสตร์ข้อมูลและการแปรรูปทางดิจิทัลแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

Thammasat University Research Unit in Data Science and Digital Transformation

หัวหน้าหน่วยวิจัย :

รองศาสตราจารย์ ดร.วริษฐ์ วิปุลานุสาสน์

สังกัด :

คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

     พันธกิจของหน่วยวิจัย

     - พัฒนาให้เป็นหน่วยวิจัยที่มีความเชี่ยวชาญในการผลิตงานวิชาการคุณภาพสูงทางด้านวิทยาศาสตร์ข้อมูลและการแปรรูปทางดิจิทัล

     - สร้างบุคลากรทางด้านการวิจัยที่มีความรู้ความสามารถ รวมถึงการสร้างเครือข่ายและความร่วมมือในการทำงานวิจัยเชิงบูรณาการในระดับชาติและนานาชาติ

     - นำเสนอข้อเสนอแนะเชิงนโยบาย (Policy Recommendation) ทางด้านการแปรรูปทางดิจิทัลตามนโยบาย เศรษฐกิจดิจิทัล (Digital Economy) ของรัฐบาล

     - เป็นที่พึ่งทางด้านวิชาการที่สามารถถ่ายทอดองค์ความรู้ และเทคโนโลยีทางวิทยาศาสตร์ข้อมูลและการแปรรูปทางดิจิทัลให้กับหน่วยงานต่าง ๆ

     วัตถุประสงค์ของหน่วยวิจัย

     - ทำงานวิจัยเชิงประยุกต์ (applied research) ด้านวิทยาศาสตร์ข้อมูลและการแปรรูปทางดิจิทัล เพื่อตีพิมพ์เผยแพร่ในวารสารวิชาการระดับนานาชาติซึ่งอยู่ในฐานข้อมูล Scopus หรือ ISI

     - สร้างองค์ความเพื่อสนับสนุนผลิตนักศึกษาระดับบัณฑิตศึกษาเพื่อช่วยแก้ปัญหานักวิทยาศาสตร์ข้อมูลซึ่งเป็นอาชีพที่ยังขาดแคลนในประเทศไทย

     - แสวงหาทุนอุดหนุนวิจัยจากแหล่งทุนสนับสนุนการวิจัย เพื่อเพิ่มศักยภาพของนักวิจัยในการสร้างผลงานวิจัยที่มีคุณภาพระดับนานาชาติ

     - นำเสนอผลงานวิชาการในเวทีต่าง ๆ ทั้งในลักษณะนำเสนอผลงานวิชาการและบรรยายให้กับหน่วยงานทั้งภาครัฐและเอกชน

     - พัฒนาระบบนิเวศการเรียนรู้ผ่านทางสื่อ Social Media เพื่อการเติมความรู้และทักษะ (Reskill) การยกระดับความและทักษะ (Upskill) การเสริมความรู้และทักษะ (Newskill) ด้านวิทยาศาสตร์ข้อมูลและการแปรรูปทางดิจิทัล

63. หน่วยวิจัยด้านสิ่งแวดล้อม สุขภาพและระบาดวิทยาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

Thammasat University Research Unit in Environment, Health and Epidemiology

หัวหน้าหน่วยวิจัย :

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.พรรณทิสชา ธนตระกลศรี

สังกัด :

คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

     พันธกิจของหน่วยวิจัย

     สร้างงานวิจัยและพัฒนาองค์ความรู้ใหม่ที่เกี่ยวข้องกับด้านสิ่งแวดล้อม สุขภาพและระบาดวิทยา นำไปสู่การการจัดการปัญหาทางด้านสิ่งแวดล้อมและสุขภาพ รวมถึงการกำหนดนโยบาย มาตรการที่เหมาะสมในจัดการปัญหา นอกจากนี้ ยังมีการสร้างเครือข่ายและความร่วมมือในการทำวิจัยข้ามศาสตร์ ร่วมกับเครือข่ายวิจัยต่าง ๆ ในมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ระหว่างมหาวิทยาลัย รวมถึง หน่วยงานภายนอกมหาวิทยาลัย ทั้งภาครัฐ รัฐวิสาหกิจและเอกชน เพื่อให้ได้ประโยชน์ร่วมกันในการพัฒนาประเทศต่อไป

     วัตถุประสงค์ของหน่วยวิจัย

     - เพื่อผลิตผลงานวิจัยและพัฒนาองค์ความรู้ใหม่ที่เกี่ยวข้องทางด้านสิ่งแวดล้อม สุขภาพและระบาดวิทยา รวมถึงเผยแพร่ในวารสารทางวิชาการที่มีคุณภาพในระดับชาติและนานาชาติ

     - เพื่อผลิตงานวิจัยที่เกิดจากความร่วมมือระหว่างสถาบันการศึกษา หน่วยงานภาครัฐและภาคเอกชนทั้งในและต่างประเทศ

     - เพื่อพัฒนาศักยภาพการทำงานวิจัยให้กับนักวิจัย

     - ให้คำปรึกษาและถ่ายทอดองค์ความรู้ที่เกี่ยวข้องกับทางด้านสิ่งแวดล้อม สุขภาพและระบาดวิทยาให้แก่ผู้ที่สนใจ

64. หน่วยวิจัยด้านนวัตกรรมอุปกรณ์ทางแสงและวัสดุนาโนเพื่อการตรวจวัดทางเคมี และชีววิทยาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

Thammasat University Research Unit in Innovation of Optical Devices and Nanomaterials for chemical and biological sensing

หัวหน้าหน่วยวิจัย :

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ปกรณ์ ปรีชาบูรณะ

สังกัด :

คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

     พันธกิจของหน่วยวิจัย

     - สร้างองค์ความรู้และนวัตกรรมทางด้านอุปกรณ์และวิธีการของตัวตรวจวัดทางแสง เพื่อประยุกต์ใช้เป็นตัวตรวจวัดทางเคมีและชีววิทยา

     - ส่งเสริมความเป็นเลิศทางวิชาการ ด้วยการผลิตบทความวิจัยตีพิมพ์ในวารสารที่อยู่ในฐานข้อมูลสากลอนุสิทธิบัตร และสิทธิบัตรให้กับมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

     - พัฒนาและเสริมสร้างศักยภาพบุคลากรด้านวิชาการ ได้แก่ นักวิจัย ผู้ช่วยวิจัย นักศึกษาปริญญาตรี โท และเอก ให้มีความเชี่ยวขาญทางด้านการตรวจวัดทางแสงและวัสดุนาโน เพื่อเป็นประโยชน์ต่อระบบวิจัยของประเทศไทย

     วัตถุประสงค์ของหน่วยวิจัย

     - พัฒนาเทคโนโลยีและองค์ความรู้ที่เกี่ยวข้องในการออกแบบเครื่องมือเอสพีอาร์ที่ทำงานบนสมาร์ทโฟน เพื่อสนับสนุนการวิจัยด้านเซนเซอร์ในประเทศ

     - สร้างมาตรดัชนีหักเหและอุปกรณ์เสริมที่เกี่ยวข้อง เพื่อให้สามารถทำการตรวจวัดบนสมาร์ทโฟนได้

     - เพื่อศึกษาแนวทางการสังเคราะห์และการนำคาร์บอนดอทไปประยุกต์ใช้ในงานด้านการถ่ายภาพทางชีวภาพ และการประยุกต์เป็นวัสดุอัจฉริยะ

     - ออกแบบและสร้างโครงสร้างนาโนไฮบริดบนฟิล์มบางทอง เพื่อทำหน้าที่เป็นชั้นเซนเซอร์ตรวจวัดไอระเหยของสาร VOCs ด้วยเทคนิคเอสพีอาร์บนสมาร์ทโฟน

     - พัฒนาและออกแบบซอฟท์แวร์ เพื่อวิเคราะห์สัญญาณจากการตรวจวัดทางแสงให้สามารถจำแนกชนิดและปริมาณความเข้มข้นของสาร

65. หน่วยวิจัยด้านปริทันตวิทยา ศัลยศาสตร์ช่องปากและเทคโนโลยีทางทันตกรรมรากเทียมชั้นสูงแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

Thammasat University Research Unit in Innovations in Periodontics, Oral Surgery and advanced technology in Implant Dentistry

หัวหน้าหน่วยวิจัย :

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. ทันตแพทย์บวรวุฒิ บูรณวัฒน์

สังกัด :

คณะทันตแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

     พันธกิจของหน่วยวิจัย

     - สร้างเครือข่ายวิจัยระดับชาติทางทันตกรรมด้านปริทันตวิทยาและทันตกรรมรากเทียมส่งเสริมให้นักวิจัยรุ่นใหม่ ได้ทำการวิจัยตั้งแต่ระดับห้องปฏิบัติการ และพัฒนาต่อยอดจนถึงระดับคลินิก โดยมีจุดประสงค์เพื่อนำไปใช้ประโยชน์ในการรักษาผู้ป่วย

     - ดำเนินการวิจัยทางทันตกรรมด้านปริทันตวิทยา และทันตกรรมรากเทียม เพื่อสร้างองค์ความรู้และนวัตกรรมให้สอดคล้องกับสังคมผู้สูงอายุ และปัญหาด้านสาธารณสุขต่าง ๆ ในปัจจุบัน

     - ผลิตผลงานวิจัยระดับชาติ/นานาชาติ ทางทันตกรรมปริทันตวิทยา และทันตกรรมรากเทียม ที่สามารถทำให้เกิดเป็นนวัตกรรมที่สามารถนำไปใช้ได้จริง (translational research)

     - ผลิตทันตวัสดุที่ใช้ในงานทันตกรรม ด้านปริทันตวิทยา และทันตกรรมรากเทียมเพื่อทดแทนการนำเข้าจากต่างประเทศ

     วัตถุประสงค์ของหน่วยวิจัย

     - ทำวิจัยทางทันตกรรม ด้านปริทันตวิทยา ศัลยศาสตร์ช่องปาก และทันตกรรมรากเทียม เพื่อตีพิมพ์ในวารสารวิชาการระดับสากลในฐานข้อมูล SJR, Web of Science และ Scopus

     - สร้าง และถ่ายทอดองค์ความรู้ ผ่านการนำเสนอผลงานวิชาการทั้งระดับชาติและนานาชาติ

     - ส่งเสริมและสนับสนุนการทำวิจัยของนักวิจัยรุ่นใหม่

66. หน่วยวิจัยด้านการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศและความยั่งยืนแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

Thammasat University Research Unit in Climate Change and Sustainability

หัวหน้าหน่วยวิจัย :

รองศาสตราจารย์ ดร. อุรุยา วีสกุล

สังกัด :

คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

     พันธกิจของหน่วยวิจัย

     - พัฒนาให้เป็นหน่วยวิจัยที่มีความเชี่ยวชาญในการผลิตงานวิชาการคุณภาพสูงทางด้านการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศและความยั่งยืน

     - สร้างบุคลากรทางด้านการวิจัยที่มีความรู้ความสามารถ รวมถึงการสร้างเครือข่ายและความร่วมมือในการทำงานวิจัยเชิงบูรณาการในระดับชาติและนานาชาติ

     - นำเสนอข้อเสนอแนะเชิงนโยบาย (Policy Recommendation) ทางด้านการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศและความยั่งยืนตามนโยบาย Sustainable Development Goals

     - เป็นศูนย์กลางในการแลกเปลี่ยนข้อมูลวิชาการและโครงการวิจัยด้านการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศและความยั่งยืน สำหรับนักวิชาการ หน่วยงานภาครัฐ และองค์กรเอกชน ทั้งภายในและระหว่างประเทศ

     วัตถุประสงค์ของหน่วยวิจัย

     - ผลิตงานวิจัยเชิงประยุกต์ (Applied Research) ด้านการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศและความยั่งยืน เพื่อตีพิมพ์เผยแพร่ในวารสารวิชาการระดับนานาชาติซึ่งอยู่ในฐานข้อมูล Scopus หรือ ISI

     - ผลิตนวัตกรรมใหม่สำหรับการแก้ไขการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศ เพื่อจดทะเบียนสิทธิบัตรและอนุสิทธิบัตร

     - แสวงหาความร่วมมืองานวิจัยกับมหาวิทยาลัยและสถาบันการวิจัยในต่างประเทศ เพื่อเพิ่มศักยภาพของนักวิจัยในการสร้างผลงานวิจัยที่มีคุณภาพระดับนานาชาติ

     - นำเสนอผลงานวิชาการและบรรยายองค์ความรู้ด้านการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศให้กับหน่วยงานทั้งภาครัฐ ภาคเอกชน และภาคประชาสังคม

67. หน่วยวิจัยด้านวัสดุเพื่อความยั่งยืนและเศรษฐกิจหมุนเวียนแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

Thammasat University Research Unit in Sustainable Materials and Circular Economy

หัวหน้าหน่วยวิจัย :

รองศาสตราจารย์ ดร. เบญญา เชิดหิรัญกร

สังกัด :

คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

     พันธกิจของหน่วยวิจัย

     - สนับสนุนและผลักดันให้เกิดการทำวิจัย พัฒนานวัตกรรมทางวัสดุเพื่อความยั่งยืนและเศรษฐกิจหมุนเวียนในประเทศเพื่อให้เป็นไปตามแผนยุทธศาสตร์ของชาติในการพัฒนาประเทศไทยให้เป็นเศรษฐกิจและสังคมคาร์บอนต่ำและเมืองสีเขียว

     - สร้างความร่วมมือกับผู้ประกอบการด้านอุตสาหกรรมและเกษตรกรรมที่เกี่ยวข้องกับเศษเหลือทิ้งเพื่อให้เกิดเครือข่ายการพัฒนาวัสดุเพื่อความยั่งยืนและเศรษฐกิจหมุนเวียน

     - ส่งเสริมการเผยแพร่ความรู้เกี่ยวกับวัสดุเพื่อความยั่งยืนและเศรษฐกิจหมุนเวียน

     วัตถุประสงค์ของหน่วยวิจัย

     - วิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีและนวัตกรรมด้านวัสดุเพื่อความยั่งยืนและเศรษฐกิจหมุนเวียน

     - สร้างความร่วมมือกับหน่วยงานภาคเอกชนเพื่อสนับสนุนงานวิจัย การแลกเปลี่ยนเรียนรู้ปัญหาที่เกี่ยวข้องการวัสดุเพื่อความยั่งยืนและเศรษฐกิจหมุนเวียน

     - เผยแพร่ความรู้ เทคโนโลยีและนวัตกรรมด้านวัสดุเพื่อความยั่งยืนและเศรษฐกิจหมุนเวียนสู่ภาคอุตสาหกรรมและสาธารณะ

68. หน่วยวิจัยด้านเคมีไฟฟ้าอัจฉริยะอย่างยั่งยืนแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

Thammasat University Research Unit in Sustainable Electrochemical Intelligent

หัวหน้าหน่วยวิจัย :

ดร. ภาวินทร์ เอี่ยมประเสริฐกุล

สังกัด :

สถาบันเทคโนโลยีนานาชาติสิรินธร มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

     พันธกิจของหน่วยวิจัย

     - พัฒนาองค์ความรู้ทางด้านไฟฟ้าเคมีของวัสดุด้วยการทดลองในห้องปฏิบัติการผนวกกับการประยุกต์ใช้ ปัญญาประดิษฐ์ เพื่อยกระดับการวิจัยและส่งเสริมนวัตกรรมทางวัสดุศาสตร์และศาสตร์ที่เกี่ยวข้อง

     - สร้างเครือข่ายวิจัยและความสัมพันธ์กับภาคอุตสาหกรรม เพื่อเสริมสร้างการยกระดับทางเทคโนโลยีทางด้านวัสดุศาสตร์ในประเทศไทย

     - ศึกษาและต่อยอดองค์ความรู้ทางปัญญาประดิษฐ์สำหรับวิเคราะห์ข้อมูลด้านวัสดุศาสตร์ การวิเคราะห์ข้อมูลทางเคมี และศาสตร์ที่เกี่ยวข้อง

     - ผลิตผลงานวิจัยระดับชาติ/นานาชาติ เพื่อส่งเสริมความเป็นเลิศทางวิชาการให้แก่มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ โดยการตีพิมพ์บทความในวารสารที่อยู่ในฐานข้อมูลสากล รวมถึงการจดสิทธิบัตร

     - พัฒนาบุคลากรทางด้านวิชาการ ได้แก่ นักศึกษาปริญญาตรี โท และเอก ให้มีศักยภาพและเชี่ยวชาญทางด้านการวิจัยเชิงไฟฟ้าเคมีของวัสดุ ปัญญาประดิษฐ์ และศาสตร์ที่เกี่ยวข้อง เพื่อส่งเสริมการวิจัยในประเทศไทยให้ยั่งยืนโดยการผนวกการศึกษาแบบสหสาขาวิชา

     วัตถุประสงค์ของหน่วยวิจัย

     - สร้างงานวิจัยทางด้านวัสดุศาสตร์ที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาพลังงานที่ยั่งยืน โดยมุ่งเน้นที่วัสดุคาร์บอนและวัสดุสองมิติ เพื่อใช้ในการพัฒนาอุปกรณ์สำหรับการสำรองพลังงานและการเปลี่ยนรูปพลังงาน

     - ผนวกองค์ความรู้ระหว่างศาสตร์แห่งข้อมูลและวัสดุศาสตร์ เพื่อพัฒนาเทคโนโลยีในด้านเคมีไฟฟ้า

     - ออกแบบวัสดุสำหรับใช้ในการกรองและบำบัดน้ำ เพื่อพัฒนาระบบสาธารณูปโภคของประเทศไทย

     - พัฒนานวัตกรรมทางด้านวัสดุศาสตร์กับภาคอุตสาหกรรม เพื่อยกกระดับเทคโนโลยีของประเทศไทยในอยู่ในระดับสากล

     - พัฒนาวัสดุหรือกระบวนการทางไฟฟ้าเคมี เพื่อจุดประสงค์ในการลดมลภาวะในรูปแบบของการดูดซับทางเคมีและกายภาพ

     - ส่งเสริมและพัฒนาศักยภาพทางการศึกษาและการวิจัยให้กับบุคลากรที่เกี่ยวข้องกับหน่วยวิจัย เพื่อยกระดับคุณภาพการศึกษาของประเทศไทย

69. หน่วยวิจัยด้านทฤษฎีและการประยุกต์เชิงสถิติแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

Thammasat University Research Unit in Statistical Theory and Applications

หัวหน้าหน่วยวิจัย :

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ธีระวัฒน์ สิมมาจันทร์

สังกัด :

คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

     พันธกิจของหน่วยวิจัย

     - พัฒนาผลงานวิจัยด้านทฤษฎีและการประยุกต์เชิงสถิติเพื่อชี้นำสังคมในประเด็นต่าง ๆ

     - สร้างเครือข่ายงานวิจัยทางด้านทฤษฎีและการประยุกต์เชิงสถิติภายในและภายนอกมหาวิทยาลัย

     วัตถุประสงค์ของหน่วยวิจัย

     - ใช้ความรู้ทางคณิตศาสตร์และสถิติเพื่อพัฒนางานวิจัยเพื่อตอบโจทย์ปัญหาท้าทายในวงศ์วิชาการทั้งระดับชุมชน สังคม และประเทศชาติ และสามารถเผยแพร่ผลงานวิจัยในวารสารระดับนานาชาติซึ่งอยู่ในฐานข้อมูล Scopus หรือ ISI Web of Science อย่างน้อย 2 เรื่องต่อปี

     - ผลิตมหาบัณฑิตที่มีความรู้และความสามารถในการผลิตผลงานวิจัยระดับสูง โดยสามารถเผยแพร่ผลงานวิจัยในวารสารระดับชาติ/นานาชาติได้

70. หน่วยวิจัยด้านวิทยาศาสตร์เชิงกลยุทธ์ การจำลองสถานการณ์และการตัดสินใจ แห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

Thammasat University Research Unit in Strategic Science, Simulation and Decision Making

หัวหน้าหน่วยวิจัย :

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ชัยณรงค์ เกษามูล

สังกัด :

คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

     พันธกิจของหน่วยวิจัย

     - ให้ความรู้แก่สังคมในด้านวิทยาศาสตร์เชิงกลยุทธ์ การจำลองสถานการณ์ และการตัดสินใจ

     - ผลิตผลงานวิจัยและนวัตกรรมที่มีผลกระทบต่อสังคม

     - สร้างเครือข่ายความร่วมมือทางวิชาการกับองค์กรภายนอก

     วัตถุประสงค์ของหน่วยวิจัย

     - พัฒนาให้เป็นหน่วยวิจัยที่มีความเชี่ยวชาญในการผลิตงานวิชาการคุณภาพสูงทางด้านวิทยาศาสตร์เชิงกลยุทธ์ การจำลองสถานการณ์และการตัดสินใจ

     - สร้างบุคลากรทางด้านการวิจัยที่มีความรู้ความสามารถ รวมถึงการสร้างเครือข่ายและความร่วมมือในการทำงานวิจัยเชิงบูรณาการในระดับชาติและนานาชาติ

     - นำเสนอข้อเสนอแนะเชิงนโยบาย (Policy Recommendation) เครื่องมือและเทคนิค รวมถึงทางเลือกในการตัดสินใจ ตามแผนพัฒนาเศรษฐกิจแห่งชาติ

     - เป็นศูนย์กลางในการแลกเปลี่ยนข้อมูลเชิงวิชาการและโครงการวิจัยด้านวิทยาศาสตร์เชิงกลยุทธ์ การจำลองสถานการณ์ และการตัดสินใจ สำหรับนักวิชาการ หน่วยงานภาครัฐ และองค์กรเอกชน ทั้งภายในและระหว่างประเทศ

71. หน่วยวิจัยด้านการออกกำลังกายและโรคที่เกี่ยวข้องกับผู้สูงอายุแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

Thammasat University Research Unit in Exercise and Aging-Associated Diseases

หัวหน้าหน่วยวิจัย :

รองศาสตราจารย์ ดร.พรพรหม ย่อยสูงเนิน

สังกัด :

คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

     พันธกิจของหน่วยวิจัย

     - ผลิตงานวิจัยให้สอดคล้องกับยุทธศาสตร์ของชาติด้านผู้สูงอายุ เช่น โรคอ้วน โรคเรื้อรัง โรคมะเร็ง อย่างน้อย 1 เรื่อง/ปี

     - ผลิตผลงานวิจัยด้านการออกกำลังกาย อย่างน้อย 1 เรื่อง/ปี

     - ได้ทุนวิจัยจากแหล่งทุนภายนอก อย่างน้อย 1 ทุน

     วัตถุประสงค์ของหน่วยวิจัย

     - เพื่อผลิตผลงานวิจัยให้สอดคล้องกับยุทธศาสตร์ของชาติด้านผู้สูงอายุ

     - เพิ่มประสิทธิผลการส่งเสริมสุขภาพ/ป้องกันโรค ด้วยการออกกำลังกาย

     - สร้างเครือข่ายงานวิจัย ที่เกี่ยวกับการออกกำลังกายและโรคที่เกี่ยวข้องกับผู้สูงอายุ

     - เพื่อส่งเสริมนักวิจัยรุ่นใหม่ ให้มีผลงานทางวิชาการมากขึ้น

72. หน่วยวิจัยด้านนวัตกรรมทางแสงและสปินเชิงควอนตัมแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

Thammasat University Research Unit in spin-photonic for quantum technology

หัวหน้าหน่วยวิจัย :

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ปรเมศวร์ วงศ์จอม

สังกัด :

คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

     พันธกิจของหน่วยวิจัย

     - สร้างผลงานวิจัยตีพิมพ์ระดับนานาชาติในฐานข้อมูล Scopus/ISI

     - พัฒนานวัตกรรมด้านสปินโฟโตนิกส์ (spin-photonic) เพื่อนำไปใช้ประโยชน์ทางซิปเซ็ต (chipset) และเป็นเทคโนโลยีการสื่อสารเชิงควอนตัมในอนาคต

     - ศึกษาและพัฒนาองค์ความรู้เกี่ยวกับฟิสิกส์ทางแสงและสปินเชิงควอนตัมเพื่อนำไปต่อยอดเป็นเทคโนโลยีที่มีประโยชน์ต่อมนุษยชาติต่อไปในอนาคต

     - สร้างเครือข่ายความร่วมมือการวิจัยทางด้านฟิสิกส์ทางแสงและสปินเชิงควอนตัมกับหน่วยงานภาครัฐหรือเอกชน

     วัตถุประสงค์ของหน่วยวิจัย

     - เพื่อสร้างผลงานวิจัยที่เป็นเลิศทางด้านแสงและสปินเชิงควอนตัมที่มีคุณภาพได้รับการตีพิมพ์ระดับนานาชาติในฐานข้อมูล Scopus/ISI

     - เพื่อพัฒนาอุปกรณ์ทางด้านสปินโฟโตนิกส์ซิปเซ็ตต์ (spin-photonic chipset)

     - เพื่อศึกษาและพัฒนาองค์ความรู้เกี่ยวกับแสงและสปินเชิงควอนตัม พร้อมกับนวัตกรรมที่เกี่ยวข้อง

     - สร้างนักวิจัยรุ่นใหม่ระดับปริญญาตรี โท และเอกที่มีความเชี่ยวชาญทางด้านแสงและสปินเชิงควอนตัม

73. หน่วยวิจัยด้านกลศาสตร์ของแข็งและการสั่นสะเทือนขั้นสูงแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

Thammasat University Research Unit in Advanced Mechanics of Solids and Vibration

หัวหน้าหน่วยวิจัย :

อาจารย์ ดร.จินตหรา ลาวงศ์เกิด

สังกัด :

คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

     พันธกิจของหน่วยวิจัย

     หน่วยวิจัยด้านกลศาสตร์ของแข็งและการสั่นสะเทือนขั้นสูง (Research Unit in Advanced Mechanics of Solids and Vibration) มีพันธกิจในการพัฒนาองค์ความรู้ทางด้านกลศาสตร์ของแข็งและการสั่นสะเทือนขั้นสูงมาใช้ในการวิเคราะห์และออกแบบโครงสร้างให้มีประสิทธิภาพและปลอดภัยยิ่งขึ้น รวมไปถึงการพัฒนาเทคนิคการวิเคราะห์เชิงตัวเลข เพื่อสร้างแบบจำลองทางคณิตศาสตร์แบบต่าง ๆ สำหรับใช้ในการแก้ปัญหาและคาดการณ์ผลเฉลย พฤติกรรมของวัสดุภายใต้เงื่อนไขต่าง ๆ ของโครงสร้างทั้งในระดับโครงสร้างใหญ่ๆ ไปจนถึงส่วนประกอบเล็ก ๆ ในระดับนาโน และไมโคร เพื่อลดต้นทุนและประหยัดเวลาในการทดสอบ ให้สามารถประยุกต์ใช้ในงานวิจัยและนวัตกรรมได้ในหลายสาขา เช่น วิศวกรรม, อุตสาหกรรม และเทคโนโลยี โดยองค์ความรู้ที่ถูกพัฒนาขึ้นโดยหน่วยวิจัยทางวิชาการนี้ จะทำให้เกิดการพัฒนาเทคนิคในการออกแบบและการก่อสร้างงานทางด้านวิศวกรรมแบบใหม่เพื่อให้เกิดความปลอดภัยรวมไปถึงลดต้นทุนการก่อสร้างได้ดียิ่งขึ้น และพัฒนาเทคนิคในการออกแบบหรือการก่อสร้างทางด้านวิศวกรรมโครงสร้างให้กับวิศวกร นักวิจัย หรือองค์กรที่เกี่ยวข้องทั้งทางภาครัฐหรือเอกชนต่อไป

     หน่วยวิจัยด้านกลศาสตร์ของแข็งและการสั่นสะเทือนขั้นสูง (Research Unit in Advanced Mechanics of Solids and Vibration) แห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ มุ่งสร้างความเป็นเลิศทางวิชาการ โดยมุ่งเน้นไปที่การสร้างผลงานวิจัยที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารทางวิชาการในระดับชาติที่อยู่ในฐานข้อมูลระดับนานาชาติใน Scopus รวมไปถึงสร้างเครือข่ายการวิจัยและพันธมิตรทางวิชาการกับหน่วยงานทางด้านการวิจัยและมหาวิทยาลัยต่าง ๆ ทั้งในและต่างประเทศ เพื่อให้เกิดงานวิจัยแนวทางใหม่ ๆ ที่เกี่ยวข้องกับด้านกลศาสตร์ของแข็งและการสั่นสะเทือนเชิงกลขั้นสูง นอกจากนี้หน่วยวิจัยยังมุ่งผลิตนักศึกษาระดับบัณฑิตศึกษาทั้งปริญญาโทและปริญญาเอกที่มีความรู้ความสามารถทางด้านการวิจัย เพื่อให้นักศึกษาสามารถประยุกต์ใช้ประสบการณ์การทำวิจัยกับร่วมกับการทำงานจริงทางด้านสายวิชาชีพ เพื่อให้เข้ากับยุคสมัยที่เปลี่ยนแปลงต่อไปในอนาคต

     วัตถุประสงค์ของหน่วยวิจัย

     - เพื่อผลิตผลงานวิจัยทางด้านวิศวกรรม วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี รวมไปถึงสาขาที่เกี่ยวข้อง และตีพิมพ์เผยแพร่ลงในวารสารระดับชาติที่อยู่ในฐานข้อมูลระดับนานาชาติ เช่น Scopus หรือ Web of Science ปีละไม่ต่ำกว่า 5 บทความ

     - เพื่อผลิตบุคลากรระดับบัณฑิตศึกษาที่มีความสามารถในด้านการวิจัยเชิงลึกทางด้านวิศวกรรม วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

     - สร้างเครือข่ายนักวิจัยกับมหาวิทยาลัยทั้งในไทยและต่างประเทศ เพื่อให้เกิดงานวิจัยใหม่ๆ ทางด้านวิศวกรรม วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ให้แก่มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

     - เพื่อนำผลการศึกษาทางทฤษฎีที่ได้ไปประยุกต์กับปัญหาทางวิศวกรรม วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ที่เกิดขึ้นจริงได้อย่างปลอดภัย

     - เพื่อถ่ายทอดความรู้โดยการจัดโครงการสัมมนาและอบรมเพื่อเผยแพร่ความรู้ทางด้านกลศาสตร์ของแข็งและการสั่นสะเทือนเชิงกลขั้นสูง ให้แก่ วิศวกร นักศึกษา และบุคคลทั่วไป ที่สนใจเพื่อสร้างชื่อเสียงให้กับมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

74. หน่วยวิจัยด้านวิทยาการคณิตศาสตร์และการประยุกต์แห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

Thammasat University Research Unit in Mathematical Sciences and Applications

หัวหน้าหน่วยวิจัย :

รองศาสตราจารย์ ดร.วราฤทธิ์ พานิชกิจโกศลกุล

สังกัด :

คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

     พันธกิจของหน่วยวิจัย

     - ให้ความรู้แก่สังคมในด้านวิทยาการคณิตศาสตร์และการประยุกต์

     - ผลิตผลงานวิจัยและนวัตกรรมที่มีผลกระทบต่อวงวิชาการและสังคม

     - สร้างเครือข่ายความร่วมมือทางวิชาการกับองค์กรภายนอก

     วัตถุประสงค์ของหน่วยวิจัย

     - พัฒนาให้เป็นหน่วยวิจัยที่มีความเชี่ยวชาญในการผลิตผลงานทางวิชาการคุณภาพสูงทางด้านวิทยาการคณิตศาสตร์และการประยุกต์

     - สร้างบุคลากรทางด้านการวิจัยที่มีความรู้ความสามารถ รวมถึงการสร้างเครือข่ายและความร่วมมือในการทำงานวิจัยเชิงบูรณาการในระดับชาติและนานาชาติ

     - เป็นศูนย์กลางในการแลกเปลี่ยนข้อมูลเชิงวิชาการและโครงการวิจัยด้านวิทยาการคณิตศาสตร์และการประยุกต์สำหรับนักวิชาการ หน่วยงานภาครัฐ และองค์กรเอกชน ทั้งภายในและระหว่างประเทศ

75. หน่วยวิจัยด้านเวชศาสตร์ฉุกเฉินและการดูแลผู้ป่วยฉุกเฉินวิกฤตแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

Thammasat University Research Unit in Emergency Medicine and Emergency Critical Care

หัวหน้าหน่วยวิจัย :

รองศาสตราจารย์ นายแพทย์วินชนะ ศรีวิไลทนต์

สังกัด :

คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

     พันธกิจของหน่วยวิจัย

     เพื่อพัฒนาผลงานวิจัยเกี่ยวกับการดูแลผู้ป่วยฉุกเฉินและผู้ป่วยฉุกเฉินวิกฤตที่มีคุณภาพ ผ่านกระบวนการวิจัยที่ถูกต้องและเหมาะสม สามารถนำเสนอผลงานวิจัยไปสู่ระดับนานาชาติ ผ่านการตีพิมพ์ในวารสารวิชาการที่ได้รับการยอมรับ เพื่อให้เกิดประโยชน์ต่อการดูแลผู้ป่วยฉุกเฉินและผู้ป่วยฉุกเฉินวิกฤต

     วัตถุประสงค์ของหน่วยวิจัย

     - เพื่อพัฒนาผลงานวิจัยเกี่ยวกับการดูแลผู้ป่วยฉุกเฉินและผู้ป่วยวิกฤต

     - เพื่อการนำเสนอผลงานวิจัยไปสู่ระดับนานาชาติ ผ่านการตีพิมพ์ในวารสารวิชาการที่เป็นที่ยอมรับ

     - เพื่อการพัฒนาองค์ความรู้ที่จะสามารถนำไปใช้ในการดูแลผู้ป่วยฉุกเฉินวิกฤตได้

     - เพื่อเป็นสื่อกลางของสมาชิกในหน่วยวิจัยในการเสนอขอรับทุนสนับสนุนจากหน่วยงานภายนอก

76. หน่วยวิจัยด้านชีวการแพทย์แห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

Thammasat University Research Unit in Biomedical Science

หัวหน้าหน่วยวิจัย :

รองศาสตราจารย์ ดร.นิภาพร เงินยวง

สังกัด :

วิทยาลัยแพทยศาสตร์นานาชาติจุฬาภรณ์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

     พันธกิจของหน่วยวิจัย

     - ศึกษาและผลิตองค์ความรู้ทางชีวการแพทย์ทั้งในด้านการผลิตนวัตกรรมด้านการแพทย์เพื่อนำไปประยุกต์ใช้ในงานทางด้านชีวการแพทย์

     - ศึกษาค้นคว้าความสำคัญและหน้าที่การทำงานของสารชีวโมเลกุลที่เกี่ยวข้องกับการก่อโรคทั้งโรคติดเชื้อและไม่ติดเชื้อ อาทิเช่น โรคไข้เลือดออก โรคหลอดเลือดหัวใจ โรคมะเร็ง เพื่อเป็นพื้นฐานความรู้ความเข้าใจและสามารถนำไปประยุกต์ใช้ทั้งในการรักษาและป้องกันการเกิดโรคได้

     - ส่งเสริมความเป็นเลิศทางวิชาการด้วยการผลิตบทความวิจัยตีพิมพ์ในวารสารที่อยู่ในฐานข้อมูลระดับสากลให้กับมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

     - พัฒนาและเสริมสร้างศักยภาพบุคลากรด้านวิชาการ อันได้แก่ นักวิจัย ผุ้ช่วยวิจัยที่ทำวิจัยภายในหน่วยวิจัยนี้ให้มีความเชี่ยวชาญทางด้านชีวการแพทย์ เพื่อเป็นประโยชน์ต่อระบบวิจัยของประเทศไทย

     วัตถุประสงค์ของหน่วยวิจัย

     - ผลิตผลงานด้านชีวการแพทย์ที่มีคุณภาพและตีพิมพ์เผยแพร่ในวารสารวิชาการระดับนานาชาติซึ่งอยู่ในฐานข้อมูล Scopus หรือ ISI อย่างน้อย 2 เรื่องต่อปี

     - เผยแพร่ผลงานในการประชุมวิชาการระหว่างนักวิจัยของมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์และนักวิจัยต่างสถาบัน

     - สร้างเครือข่ายการศึกษาและการทำวิจัยด้านชีวการแพทย์กับองค์กรต่างสถาบันทั้งในระดับชาติและนานาชาติเพื่อก่อให้เกิดเครือข่ายวิจัยมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ที่ทันยุคสมัย

77. หน่วยวิจัยด้านการดูแลสุขภาพครอบครัวแบบองค์รวมแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

Thammasat University Research Unit in Holistic Family Health Care

หัวหน้าหน่วยวิจัย :

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ณัฐพัชร์ บัวบุญ

สังกัด :

คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

     พันธกิจของหน่วยวิจัย

     - สร้างองค์ความรู้ด้านการดูแลสุขภาพครอบครัวแบบองค์รวม เช่น การส่งเสริมความรู้และทักษะแก่ผู้ดูแลในการดูแลสมาชิกครอบครัวที่เจ็บป่วยหรือมีภาวะสุขภาพที่เบี่ยงเบนไปโดยเน้นการดูแลสุขภาพแบบองค์รวม การลดภาระการดูแลของสตรีหรือสมาชิกครอบครัว การส่งเสริมและการดูแลสุขภาพครอบครัวทุกช่วงพัฒนาการแบบองค์รวมในประเด็นต่าง ๆ

     - สร้างนวัตกรรมที่เกี่ยวข้องกับการดูแลสุขภาพครอบครัวแบบองค์รวม เช่น การพัฒนาเครื่องมือประเมินสุขภาพครอบครัวภายใต้ความเชื่อและวัฒนธรรมของไทย การพัฒนาโปรแกรมที่เกี่ยวข้องกับการดูแลสุขภาพครอบครัว

     - เป็นศูนย์ให้ความรู้และพัฒนาทักษะการดูแลสุขภาพครอบครัวแบบองค์รวมให้กับบุคลากร ทางสุขภาพ

     - การพัฒนาความร่วมมือทางด้านงานวิจัยและการปฏิบัติการพยาบาลในการดูแลสุขภาพครอบครัวแบบองค์รวม กับหน่วยงานพันธมิตรต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องระดับชาติและนานาชาติ

     - ผลิตผลงานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับการดูแลสุขภาพครอบครัวแบบองค์รวม ตีพิมพ์ในวารสารที่อยู่ในฐานข้อมูล SJR, Scopus

     วัตถุประสงค์ของหน่วยวิจัย

     - พัฒนาองค์ความรู้ใหม่/นวัตกรรมด้านการดูแลสุขภาพครอบครัวแบบองค์รวมในระบบที่หลากหลาย

     - ศึกษากลยุทธ์ หรือวิธีที่มีประสิทธิภาพในการดูแลสุขภาพครอบครัวแบบองค์รวมโดยใช้หลักฐานเชิงประจักษ์ที่เป็นไปได้เพื่อลดช่องว่างระหว่างความรู้และการปฏิบัติ

     - พัฒนากลยุทธ์สร้างเสริมสุขภาพแบบองค์รวม และตัวชี้วัดสุขภาพแบบองค์รวม

     - ให้ข้อมูลเชิงเสนอแนะในการขับเคลื่อนนโยบายในการดูแลสุขภาพครอบครัวแบบองค์รวม

     - สร้างคู่ความร่วมมือระหว่างนักวิจัย นักการศึกษา และนักปฏิบัติการพยาบาล ด้านการดูแลสุขภาพครอบครัว แบบองค์รวม ทั้งในและต่างประเทศ

78. หน่วยวิจัยด้านเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และพลวัตระหว่างประเทศแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

Thammasat University Research Unit in Southeast Asia and International Dynamics

หัวหน้าหน่วยวิจัย :

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.อรธิชา ดวงรัตน์

สังกัด :

วิทยาลัยนานาชาติ ปรีดี พนมยงค์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

     พันธกิจของหน่วยวิจัย

      หน่วยวิจัยมีความประสงค์ที่จะเสนอความเข้าใจที่ลึกซึ้งมากขึ้นเกี่ยวกับความสัมพันธ์ของภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้กับพลวัตระหว่างประเทศในมิติที่หลากหลาย โดยการสำรวจทางประวัติศาสตร์ การวิจัยข้อมูลปัจจุบัน และการวิเคราะห์ที่มุ่งสู่การคาดการณ์อนาคต การศึกษาของหน่วยวิจัยไม่เพียงแต่จะมุ่งเน้นบทบาทของภูมิภาคและรัฐในการดำเนินงานต่าง ๆ ในเวทีระดับนานาชาติ แต่ยังครอบคลุมกลไกระหว่างประเทศและเวทีโลกที่มีอิทธิพลต่อการเมือง เศรษฐกิจ เทคโนโลยีและสารสนเทศ และภูมิวัฒนธรรมของรัฐในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

     วัตถุประสงค์ของหน่วยวิจัย

     1. เพื่อเผยแพร่การศึกษาที่เกี่ยวข้องกับภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ในการมีส่วนร่วมกับประเทศต่าง ๆ ในโลก รวมถึงประเทศมหาอำนาจ และองค์กรระหว่างประเทศมีบทบาทกับภูมิทัศน์ทางภูมิศาสตร์การเมือง เศรษฐกิจ เศรษฐกิจดิจิทัล และวัฒนธรรมในปัจจุบันของภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้อย่างไร

     2. เพื่อวิเคราะห์แนวโน้ม โอกาส และความท้าทายที่เกิดขึ้นในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เพื่อให้สามารถให้คำแนะนำด้านนโยบายที่เป็นประโยชน์และนำไปปฏิบัติจริงได้

     3. เพื่อส่งเสริมการวิจัยแบบสหวิทยาการเพื่อสร้างเครือข่ายนักวิจัยที่มีมุมมองที่หลากหลายจากสาขาต่าง ๆ เช่น รัฐศาสตร์ เศรษฐศาสตร์ ประวัติศาสตร์ วัฒนธรรมศึกษา เทคโนโลยีและสารสนเทศ ที่เน้นการศึกษาภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ในบริบทระหว่างประเทศ

     4. เพื่อการตีพิมพ์ผลงานวิจัยหรือการจัดเสวนา เพื่อเพิ่มความเข้าใจของสาธารณะชนเกี่ยวกับเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และบทบาทของภูมิภาคในบริบทโลก

79. หน่วยวิจัยด้านสรีรวิทยาและการแพทย์บูรณาการแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

Thammasat University Research Unit in Physiology and Integrated Medicine

หัวหน้าหน่วยวิจัย :

อาจารย์ ดร.สุภาวดี ภาบับภา

สังกัด :

วิทยาลัยแพทย์ศาสตร์นานาชาติจุฬาภรณ์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

     พันธกิจของหน่วยวิจัย

     เพื่อพัฒนาผลงานวิจัยด้านสรีรวิทยาทางการแพทย์ทั้งในมนุษย์และสัตว์ทดลอง โดยมีการบูรณาการศาสตร์วิชาความรู้ด้านต่าง ๆ เข้ามาใช้ร่วมด้วย ผ่านกระบวนการวิจัยที่ถูกต้องและเหมาะสม รวมทั้งสร้างเครือข่ายงานวิจัยทั้งภายในภายนอกมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

     วัตถุประสงค์ของหน่วยวิจัย

     1. เพื่อผลิตและพัฒนาผลงานวิจัยด้านสรีรวิทยาทางการแพทย์

     2. เพื่อสร้างเครือข่ายงานวิจัยทั้งภายในและภายนอกมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

     3. เพื่อส่งเสริมนักวิจัยรุ่นใหม่ให้มีผลงานทางวิชาการมากขึ้น

     4. เพื่อการนำเสนอผลงานวิจัยไปสู่ระดับนานาชาติ

80. หน่วยวิจัยด้านการประยุกต์ใช้เทคโนโลยี และระบบอัตโนมัติในอุตสาหกรรม เพื่อความยั่งยืนแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

Thammasat University Research Unit in Application of Technology and Automation Systems in Industrial for Sustainability

หัวหน้าหน่วยวิจัย :

ว่าที่ร้อยตรี ดร.ณัฐพล ใจสำรวม

สังกัด :

คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

     พันธกิจของหน่วยวิจัย

     1. พัฒนาและผลิตผลงานวิจัยทางด้านทฤษฎีและการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีและระบบอัตโนมัติสำหรับการควบคุมอุตสาหกรรมขั้นสูงที่ส่งผลกระทบต่อสังคมเพื่อความยั่งยืน

     2. สร้างเครือข่ายงานวิจัยทางด้านทฤษฎีและการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีและระบบอัตโนมัติในงานอุตสาหกรรมทั้งภายใน และ ภายนอกองค์กรณ์ ทั้งภาครัฐ ภาคเอกชนเพื่อความยั่งยืน

     3. นำองค์ความรู้ที่ได้จากงานวิจัยและเครือข่ายที่มีเพื่อต่อยอดและสร้างนวัตกรรมในเชิงพาณิชย์และในภาคอุตสาหกรรมเพื่อความยั่งยืน

     วัตถุประสงค์ของหน่วยวิจัย

     1. ใช้องค์ความรู้ทางด้านเทคโนโลยีและระบบอัตโนมัติในการควบคุมขั้นสูงเพื่อวิจัยตอบโจทย์ปัญหาที่ท้าทายทั้งเชิงวิชาการและเชิงพาณิชย์ (1) ที่สามารถเผยแพร่ผลงานวิจัยลงในวารสารระดับนานาชาติซึ่งอยู่ในฐานข้อมูล SCOPUS หรือ ISI web of science อย่างน้อย 2 บทความต่อปี หรือ (2) ได้ทุนวิจัยจากเครือข่ายความร่วมมือจากหน่วยงานภายนอก 1 ทุนและบทความวิจัย 1 บทความ หรือ (3) ต้นแบบนวัตกรรมเชิงพาณิชย์ 1 ต้นแบบ และ บทความวิจัย 1 บทความ

     2. สร้างบุคลากรทางด้านงานวิจัยเกี่ยวกับเทคโนโลยีระบบอัตโนมัติและการควบคุมขั้นสูง ที่สามารถสร้างต้นแบบนวัตกรรมเชิงพาณิชย์และเผยแพร่บทความวิจัยชั้นแนวหน้าได้

     3. สร้างเครือข่ายความร่วมมือด้านงานวิจัยทางด้านเทคโนโลยีระบบอัตโนมัติและการควบคุมขั้นสูงทั้งภายในองค์กรณ์ และ ภายนอกองค์กรณ์ ทั้งภายในประเทศหรือต่างประเทศ