Loading...

01. ศูนย์แห่งความเป็นเลิศทางวิชาการด้านวิศวกรรมชีวการแพทย์

Center of Excellence in Biomedical Engineering

หัวหน้าศูนย์ :

ศาสตราจารย์ ดร. สแตนนิสลาฟ มาคานอฟ

สังกัด :

สถาบันเทคโนโลยีนานาชาติสิรินธร มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

     The main objectives of the BioMed are to develop reliable and practical applications in the biomedical engineering, produce research papers, conduct an efficient collaborative supervision of graduate students and arrange for cooperation with other faculties of TU and other research groups and universities in the country. The unit attracts computer science experts working in the field of biomedical applications and researchers working in practical medicine to find common grounds and joint applications. The idea of this CoE is the multidisciplinary research when the computer scientists and medical experts offer their vision and contribute collaboratively. There is no discussion of what is more important: academic or application, medical experience or artificial intelligence. Every part of our joint knowledge must by combined appropriately

ติดตามได้ที่ :

https://www.facebook.com/BioMED.SIIT/

02. ศูนย์แห่งความเป็นเลิศทางวิชาการด้านวิจัยโรคหลอดเลือดสมอง

Center of Excellence in Stroke

หัวหน้าศูนย์ :

รองศาสตราจารย์ นายแพทย์ สมบัติ มุ่งทวีพงษา

สังกัด :

คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

     โรคหลอดเลือดสมองเป็นโรคที่พบบ่อยโดยเฉพาะในกลุ่มผู้สูงอายุ เป็นโรคที่เป็นสาเหตุการตายที่อยู่ในอันดับต้นๆของประเทศไทย นอกจากนี้ยังเป็นสาเหตุของภาวะทุพพลภาพที่สำคัญ และส่งผลถึงการสูญเสียทางเศรษฐกิจสูง ประมาณการค่าใช้จ่ายในการดูแลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองไม่ต่ำกว่า 50,000 – 100,000 บาทต่อราย วิธีการดูแลรักษาหลายอย่างยังต้องพึ่งพาเทคโนโลยีจากต่างประเทศ

     ศูนย์มีวัตถุประสงค์ในการเชื่อมโยงความรู้วิทยาศาสตร์ ทางวิศวกรรม ทางการแพทย์คลินิก ทางเวชศาสตร์ฟื้นฟู เพื่อการวิจัยโรคหลอดเลือดสมอง ส่งผลให้ลดอัตราการเสียชีวิตและทุพลภาพในผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง ก่อให้เกิดการเรียนรู้ที่นำไปสู่การแก้ปัญหา และนำไปพัฒนาเป็นหลักสูตรของการศึกษาโดยใช้ผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองเป็นศูนย์กลาง

03. ศูนย์แห่งความเป็นเลิศทางวิชาการด้านการแพทย์แผนไทยประยุกต์

Center of Excellence in Applied Thai Traditional Medicine

หัวหน้าศูนย์ :

รองศาสตราจารย์ ดร. อรุณพร อิฐรัตน์

สังกัด :

คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

     ศูนย์แห่งความเป็นเลิศทางวิชาการด้านการแพทย์แผนไทยประยุกต์ มีวัตถุประสงค์เพื่อวิจัยและพัฒนาองค์ความรู้ด้านแพทย์แผนไทย ยาไทย และอาหารเสริมสุขภาพ จากสมุนไพรไทยอย่างครบวงจร จนได้ผลิตภัณฑ์และมีการจดสิทธิบัตรผลิตภัณฑ์ โดยเน้นการพัฒนายาไทย เพื่อรักษาโรคเรื้อรัง ที่เป็นปัญหาสาธารณสุขสำคัญของประเทศ เช่น โรคที่ต้อใช้ยาติดต่อกันเป็นเวลานาน อาทิ โรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง โรคไขมันในเลือดสูง โรคอัมพฤกอัมพาต โรคอัลไซน์เมอร์ โรคภูมิแพ้ และโรคร้ายแรงที่ยาแผนปัจจุบันรักษาไม่ได้ อาทิ โรคมะเร็ง และเอดส์ เป็นต้น นอกจากนี้ ยังพัฒนาผลิตภัณฑ์อาหารเสริมสุขภาพ เพื่อผู้ป่วยโรคเหล่านี้ เป้าหมายของกลุ่มในระยะแรกจะมุ่งเน้นการวิจัยไปที่ยาไทยในบัญชียาหลักแห่งชาติ เพื่อทำให้เห็นเป็นเชิงประจักษ์ว่า ยาไทยสามารถใช้ทดแทนยาต่างประเทศได้ ซึ่งจะทำให้ได้เปรียบในด้านของทรัพยากร (ความรู้และความเชี่ยวชาญของผู้วิจัยและคณะ แหล่งตัวอย่างหรือวัตถุดิบ ภูมิปัญญาท้องถิ่น) สร้างจุดเด่นให้โครงการวิจัย นำไปสู่ผลลัพธ์อันเป็นรูปธรรม

04. ศูนย์แห่งความเป็นเลิศทางวิชาการด้านการใช้ประโยชน์จากพลังงานแม่เหล็กไฟฟ้าในงานวิศวกรรม

Center of Excellence in Electromagnetic Energy Utilization in Engineering (CEEE)

หัวหน้าศูนย์ :

ศาสตราจารย์ ดร. ผดุงศักดิ์ รัตนเดโช

สังกัด :

คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

     ศูนย์มุ่งเน้นวิจัยเชิงสหวิทยาการ (Multi-disciplinary) และบูรณาการที่ครบวงจร กล่าวคือ ในส่วนของงานวิจัยพื้นฐาน (Basic Research) ผ่านกระบวนการทางโมเดลเชิงคณิตศาสตร์ชั้นสูงควบคู่ระเบียบวิธีการคำนวณเชิงตัวเลขชั้นสูงที่ศูนย์ฯพัฒนาขึ้นมาเอง ซึ่งได้มุ่งเป้าในเชิงวิชาการ (Academic side) และสร้างผลงานคุณภาพบ่งบอกถึงการค้นหาองค์ความรู้ใหม่ที่สามารถตีพิมพ์ในวารสารนานาชาติที่มี Impact Factor และ H-Index สูง ในส่วนของงานวิจัยประยุกต์ (Applied Research) ได้ต่อยอดองค์ความรู้จากงานวิจัยพื้นฐาน เพื่อมุ่งเป้าพัฒนาเทคโนโลยีเพื่อสอดคล้องกับความต้องการของประเทศ โดยในชั้นนี้ผลสรุปงานวิจัยจะออกมาในรูปออก Experimental Data และงานวิจัยอุตสาหกรรม (Industry Research) โดยเป็นการนำองค์ความรู้มาต่อยอดเป็นรูปแบบกระบวนการที่เหมาะสมสำหรับการพัฒนาต่อเนื่องให้อยู่ในรูป Pilot Scale และ Commercial Scale ซึ่งเป็นภาคส่วนสุดท้ายของงานวิจัยที่ครบวงจร ซึ่งในส่วนนี้ผู้วิจัยได้สร้างเครื่องต้นแบบทั้งในระดับ Pilot scale และ Commercial scale ที่สามารถจดสิทธิบัตรได้และสามารถนำไปใช้งานได้จริง รวมทั้งเป็นศูนย์กลางของนักวิจัย ทางด้านไมโครเวฟในงานอุตสาหกรรมและงานวิศวกรรมทางการแพทย์ภายในประเทศ และเป็นศูนย์วิจัยที่มีศักยภาพในการวิจัย

05. ศูนย์แห่งความเป็นเลิศทางวิชาการด้านวัสดุศาสตร์ การก่อสร้าง และเทคโนโลยีการบำรุงรักษา

Center of Excellence in Materials Science, Construction and Maintenance Technology

หัวหน้าศูนย์ :

ศาสตราจารย์ ดร. สมนึก ตั้งเติมสิริกุล

สังกัด :

สถาบันเทคโนโลยีนานาชาติสิรินธร มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

     ศูนย์แห่งความเป็นเลิศทางวิชาการด้านวัสดุศาสตร์ การก่อสร้าง และ เทคโนโลยีการบำรุงรักษา มีวัตถุประสงค์ที่จะเสริมสร้างความเข้มแข็งของอุตสาหกรรมก่อสร้างไทย โดยการดำเนินการดังต่อไปนี้

     - การดำเนินการวิจัยด้านวัสดุศาสตร์สำหรับการประยุกต์ใช้งานในอุตสาหกรรมที่หลากหลาย เช่น อุตสาหกรรมพลาสติก การผลิตยา อุตสาหกรรมพลังงาน และอุตสาหกรรมก่อสร้าง รวมไปถึงเทคโนโลยีประหยัดใช้พลังงานและอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม เช่น การนำวัสดุเหลือใช้มาทำเป็นผลิตภัณฑ์ต่างๆ การพัฒนาวัสดุที่มีคุณสมบัติและอายุการใช้งานดีขึ้น โดยใช้วัตถุดิบและพลังงานในการผลิตให้น้อยลง

     - ศึกษาวิจัยเกี่ยวกับการลดปริมาณก๊าซเรือนกระจกด้วยกระบวนการผลิตวัสดุก่อสร้าง การลดพลังงานที่ใช้ในการผลิตวัสดุต่างๆ (ตั้งแต่การผลิตไปจนถึงพลังงานที่ใช้ระหว่างการใช้งาน)

     - พัฒนาวิธีการลดการใช้ทรัพยากรธรรมชาติในอุตสาหกรรมต่างๆ เช่น การแทนที่วัตถุดิบด้วยวัสดุเหลือใช้ หรือ การออกแบบให้วัสดุมีอายุการใช้งานปลอดการบำรุงรักษา (Maintenance-Free Service Life) ยาวนานมากยิ่งขึ้นอันจะทำให้การเพิ่มประสิทธิภาพในการใช้ทรัพยากรธรรมชาติ

     - ร่วมกับหน่วยงานรัฐและสมาคมวิชาชีพต่างๆ ในการกำหนดมาตรฐานเกี่ยวกับวัสดุต่างๆ การใช้วัสดุในงานอุตสาหกรรม และการบำรุงรักษาอุปกรณ์และโครงสร้าง อันจะช่วยให้อุตสาหกรรมของไทยเป็นไปอย่างมีมาตรฐานและเหมาะสมกับอัตลักษณ์ของประเทศไทย

     - ศึกษาวิจัยเกี่ยวกับเทคโนโลยีในการออกแบบผลิตภัณฑ์และโครงสร้างแบบต่างๆ การสร้างแบบจำลองทางคณิตศาสตร์แบบต่างๆ เพื่อทำนายพฤติกรรมของวัสดุก่อสร้างและโครงสร้างในด้านต่างๆ เช่น การเสียรูปและการเสื่อมสภาพรูปแบบต่างๆ

     - ศึกษาวิธีการตรวจสอบคุณภาพของผลิตภัณฑ์และสภาพของโครงสร้าง โดยเฉพาะอย่างยิ่งการใช้เครื่องมือที่ทันสมัยแบบต่างๆ เช่น การใช้คลื่นเรดาร์ การใช้คลื่นอัลตราโซนิค การใช้กล้องอินฟราเรด ในการตรวจสอบผลิตภัณฑ์และโครงสร้างรูปแบบต่างๆ

     - พัฒนาและเป็นที่ปรึกษาในการวางแผนดูแลบำรุงรักษาโครงสร้างพื้นฐานของประเทศไทย เช่น ทางด่วน เขื่อน โรงไฟฟ้า โรงผลิตน้ำประปา โรงงานอุตสาหกรรม โดยพิจารณาความคุ้มค่าทางด้านเศรษฐกิจและผลกระทบทางสังคม

06. ศูนย์แห่งความเป็นเลิศทางวิชาการด้านเภสัชวิทยาและชีววิทยาระดับโมเลกุลของโรคมาลาเรียและมะเร็งท่อน้ำดี

Center of Excellence in Pharmacology and Molecular Biology of Malaria and Cholangiocarcinoma

หัวหน้าศูนย์ :

ศาสตราจารย์ ดร. เกศรา ณ บางช้าง

สังกัด :

วิทยาลัยแพทยศาสตร์นานาชาติจุฬาภรณ์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

     โรคมาลาเรียและโรคมะเร็งท่อน้ำดีเป็นปัญหาทางสาธารณสุขที่สำคัญของประเทศไทย อุบัติการณ์การดื้อยาของเชื้อมาลาเรียเพิ่มมากขึ้น ทำให้เกิดปัญหาในการรักษาและผู้ป่วยอาจเสียชีวิต โดยเฉพาะอย่างยิ่งโรคมาลาเรียที่เกิดจากการติดเชื้อ Plasmodium falciparum อาจทำให้เกิดอาการรุนแรง เช่น ขึ้นสมอง (Cerebral malaria) และปัญหาที่สำคัญคือการดื้อยาของเชื้อต่อยาต้านมาลาเรียหลายชนิดที่มีอยู่ (Multidrug resistance)

     สำหรับโรคมะเร็งท่อน้ำดีนั้น แม้ว่าจะไม่พบอุบัติการณ์การดื้อยาและเชื้อพยาธิตอบสนองต่อการรักษาด้วยยามาตรฐาน Praziquantel ดี แต่กลับพบว่าผู้ป่วยที่เคยติดเชื้อพยาธิใบไม้ตับคนมีการพัฒนาเป็นมะเร็งท่อน้ำดี ซึ่งมีอุบัติการณ์การเสียชีวิตสูงมาก เนื่องจากไม่มียาเคมีบำบัดที่มีประสิทธิภาพเป็นที่น่าพอใจ และที่สำคัญผู้ป่วยมักมีอาการแสดงและมารับการรักษาเมื่อโรคลุกลามไปแล้ว (Advanced stage) ศูนย์มีวัตถุประสงค์เพื่อการวิจัยที่ครบวงจรในการประยุกต์ใช้ความรู้ทางเภสัชวิทยาและชีววิทยาระดับโมเลกุล เพื่อการศึกษาพยาธิวิทยา ปัจจัยของผู้ป่วย เชื้อมาลาเรียและมะเร็งท่อน้ำดี การพัฒนาการวินิจฉัยโรค และการค้นคว้าพัฒนายา เพื่อแก้ปัญหาสาธารณสุขของประเทศอย่างยั่งยืน

07. ศูนย์แห่งความเป็นทางวิชาการด้านการออกแบบและพัฒนาต้นแบบทางวิศวกรรมอย่างสร้างสรรค์

Center of Excellence in Creative Engineering Design and Development

หัวหน้าศูนย์ :

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. บรรยงค์ รุ่งเรืองด้วยบุญ

สังกัด :

คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

     ศูนย์วัตถุประสงค์หลักในการมุ่งเน้นการสร้างนวัตกรรมเพื่อแก้ปัญหาหลักของประเทศผ่านการออกแบบและพัฒนาต้นแบบทางวิศวกรรมอย่างสร้างสรรค์ (Creative Engineering Design & Development, CED2) ในรูปแบบของการบูรณาการองค์ความรู้จากหลากหลายสาขาวิชา โดยเน้นการสร้างนวัตกรรมทางด้านสุขภาพเพื่อคนที่ด้อยโอกาสในประเทศไทย และเพื่อพัฒนานวัตกรรมให้สามารถนำไปสู่การใช้งานจริง เพื่อสร้างมูลค่าทั้งในรูปแบบเชิงพานิชและสร้างประโยชน์สุขเชิงสาธารณะ โดยในช่วงแรกจะเน้นการออกแบบและพัฒนานวัตกรรมทางด้านสุขภาพ สำหรับผู้ป่วย คนพิการและผู้สูงอายุ และเพิ่มช่องทางเพื่อนำผลงานนวัตกรรมไปสู่เชิงพานิชเพื่อนำรายได้กลับมาเป็นทุนวิจัยทำให้เกิดวงจรงานวิจัยที่ยั่งยืน

08. ศูนย์แห่งความเป็นเลิศทางวิชาการด้านการวิจัยเซลล์ต้นกำเนิด

Center of Excellence in Stem Cell Research

หัวหน้าศูนย์ :

รองศาสตราจารย์ ดร. ศิริกุล มะโนจันทร์

สังกัด :

คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

     ศูนย์แห่งความเป็นเลิศทางวิชาการด้านการวิจัยเซลล์ต้นกำเนิด มุ่งเน้นการศึกษา ค้นคว้า และวิจัยเพื่อสร้างองค์ความรู้และนวัตกรรมทางด้านเซลล์ต้นกำเนิด และพัฒนาต่อยอดองค์ความรู้จากงานวิจัยพื้นฐานไปสู่การประยุกต์ใช้ในทางการแพทย์ รวมทั้งพัฒนาให้เป็นศูนย์ฝึกอบรมและสร้างนักวิจัยที่มีความรู้ความชำนาญทางด้านเซลล์ต้นกำเนิดเพื่อเพิ่มขีดความสามารถของนักวิจัยไทยในการแข่งขันกับประเทศอื่นๆ ในภูมิภาคเอเชียอาคเนย์ ศูนย์ มุ่งเน้นการวิจัยทางด้าน adult stem cell ที่สามารถนำมาประยุกต์ใช้ทางคลินิกได้ในเวลาอันสั้น 2 ชนิด คือ เซลล์ต้นกำเนิดชนิดมีเซนไคม์ (Mesenchymal stem cell หรือ MSC) และ เซลล์ตัวอ่อนของเยื่อบุผนังหลอดเลือด (Endothelial progenitor cell หรือ EPC) รวมทั้ง Induced pluripotent stem cell โดยเน้นการสร้างเซลล์ต้นกำเนิด iPS จากผู้ป่วยโรคต่างๆ และการควบคุมการเจริญพัฒนาให้เป็นเซลล์ที่ต้องการเพื่อนำมาศึกษากลไกการเกิดโรค รวมทั้งการหาวิธีการรักษาและการพัฒนายาเพื่อรักษาโรคดังกล่าว

ติดตามได้ที่ :

https://www.facebook.com/TU-Stem-Cell-1528182664102816/

09. ศูนย์แห่งความเป็นเลิศทางวิชาการด้านสารสนเทศอัจฉริยะ เทคโนโลยีเสียงพูดและภาษา และนวัตกรรมด้านบริการ

Center of Excellence in Intelligent Informatics, Speech and Language Technology and Service Innovation

หัวหน้าศูนย์ :

ศาสตราจารย์ ดร. ธนารักษ์ ธีระมั่นคง

สังกัด :

สถาบันเทคโนโลยีนานาชาติสิรินธร มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

     ศูนย์แห่งความเป็นเลิศทางวิชาการด้านสารสนเทศอัจฉริยะและนวัตกรรมด้านบริการ มีวัตถุประสงค์ที่จะสร้างเทคโนโลยีด้านสารสนเทศอัจฉริยะและนวัตกรรมด้านบริการใหม่ๆ โดยการดำเนินการดังต่อไปนี้

     - ศึกษาวิจัยพัฒนาเทคโนโลยีสารสนเทศอัจฉริยะ โดยศึกษาการนำศาสตร์ด้านปัญญาประดิษฐ์ การประมวลผลภาษาธรรมชาติ และ การทำเหมืองข้อมูลมาใช้สร้างนวัตกรรมบนเครือข่ายคอมพิวเตอร์และอุปกรณ์สื่อสาร เช่น ระบบสนับสนุนความคิดสร้างสรรค์บนเครือข่ายคอมพิวเตอร์,ระบบสนับสนุนการสื่อสารและการถ่ายทอดข้อมูลสำหรับการทำงานเป็นกลุ่ม,ระบบสนับสนุนการตัดสินใจเป็นต้น

     - ศึกษาวิจัยพัฒนาเทคโนโลยีการทำเหมืองข้อมูล โดยการแปลงข้อมูลจำนวนมหาศาลถูกสร้างขึ้นใหม่และเผยแพร่ตลอดเวลา เช่น ข้อมูลตัวเลข ข้อมูลการคลิก ข้อความสั้น ข่าว บทความ บันทึกต่างๆ บนอินเตอร์เน็ต และที่แลกเปลี่ยนบนเครือข่ายอุปกรณ์สื่อสารต่างๆ มาสร้างมูลค่าเพิ่ม โดนนำเทคโนโลยีด้านการค้นพบความรู้และทำเหมืองข้อมูล การประมวลผลภาษาธรรมชาติ การสืบค้นและสกัดข้อมูล เช่น ระบบคัดกรองและแนะนำข่าวสารอัตโนมัติตามคุณลักษณะและความชื่นชอบของผู้ใช้แต่ละคน ระบบสื่อสารและแนะนำผู้ใช้อย่างชาญฉลาด ระบบสนับสนุนช่วยเหลือ เชิงกายภาพที่รับมาจากเซ็นเซอร์ต่างๆ ซึ่งจะนำไปสู่การเสนอแนะการกระทำที่เหมาะสมในสถานการณ์นั้นๆ

     - ศึกษาวิจัยพัฒนาเทคโนโลยีสารสนเทศที่เกี่ยวข้องที่นำข้อมูลบริบทมาใช้งานสร้างความชาญฉลาดในระบบสารสนเทศ โดยศึกษาและประยุกต์ใช้เทคโนโลยีด้านโครงข่ายเซ็นเซอร์และเทคโนโลยีฝังตัว เพื่อพัฒนาต้นแบบระบบป้อนข้อมูลชาญฉลาดและต้นแบบระบบรู้จำอัตโนมัติ ที่จะทำให้คอมพิวเตอร์เข้าใจถึงข้อมูลที่ได้รับจากผู้ใช้ในรูปแบบต่างๆ เช่น เสียง ท่าทาง การเคลื่อนไหว และบริบทอื่นๆ โครงการนี้จะมุ่งเน้นในการใช้โครงข่ายเซ็นเซอร์ร่างกายแบบสวมใส่ โครงข่ายเซ็นเซอร์สิ่งแวดล้อม และ อุปกรณ์คอมพิวเตอร์แบบพกพา มาใช้ออกแบบพัฒนางานประยุกต์ต่างๆที่รับรู้บริบท และใช้ข้อมูลบริบทเพื่อเสนอบริการที่เหมาะสมกับผู้ใช้ ศึกษาพัฒนาเพื่อสร้างมูลค่าเพิ่มให้ข้อมูลสารสนเทศ และอำนวยความสะดวกให้ผู้ใช้ในการเลือกรับข้อมูลในยุคข้อมูลข่าวสาร

     - ศึกษาวิธีการและการประยุกต์ใช้งานการประมวลผลเสียงพูด (Speech Processing) การประมวญผลภาษาศาสตร์ (Natural Language Processing) และเทคโนโลยีภาษามนุษย์ (Human Language Technology) ทำให้สามารถนำไปประยุกต์ใช้งานได้หลากหลาย เช่น การเพิ่มประสิทธิภาพเสียงพูด การตรวจสอบเสียงพูด การรู้จำเสียงพูด การสังเคราะห์เสียงพูด เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสิทธิผลในระบบสื่อสารโทรคมนาคม ระบบคัดกรองและสนับสนุนการวินิจฉัยโรคทางการแพทย์ การสนับสนุนและอำนวยความสะดวกแก่ผู้ใช้งานและผู้บกพร่องทางภาษา การติดต่อสื่อสารในชีวิตประจำวัน การเรียนการสอนในชั้นเรียน

     - ศึกษาวิธีการประมวลผลสำหรับการจัดเก็บและระบบฐานความรู้ (Knowledge Representation and Knowledge Base) โดยใช้ภาษาตรรกศาสตร์ (Logical languages) และเทคโนโลยีเชิงความหมาย (Semantic Technology) โดยเฉพาะอย่างยิ่ง วิธีการวัดค่าความเหมือนระหว่างหน่วยคำศัพท์ (Concept Similarity Measure) และ การโต้แย้งโดยเหตุและผล (Logical Argumentation)

     - วิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีด้านการสนับสนุนข้อมูลด้านการแพทย์ด้านต่างๆ ได้แก่ ระบบสื่อสารทางไกลและระบบสื่อสารไร้สายระบบอัจฉริยะเชิงสิ่งแวดล้อมและสารสนเทศชาญฉลาด ระบบข้อมูลโรคและยา เพื่อนำมาเพิ่มประสิทธิภาพและประสิทธิผลทางด้านการทำงานของการวินิจฉัยโรค

10. ศูนย์แห่งความเป็นเลิศทางวิชาการด้านระบาดวิทยาประยุกต์

Center of Excellence in Applied Epidemiology

หัวหน้าศูนย์ :

รองศาสตราจารย์ นายแพทย์ ภาสกร ศรีทิพย์สุโข

สังกัด :

คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

     ระบาดวิทยา (epidemiology) เป็นการศึกษาการกระจายของโรคและปัญหาสุขภาพ ปัจจัยที่สัมพันธ์ต่อปัญหาสุขภาพ การศึกษาทางระบาดวิทยารูปแบบต่างๆ การเฝ้าระวัง การวิจัยเชิงพรรณนา การวิจัยเชิงวิเคราะห์ และการศึกษาแบบทดลอง การเลือกรูปแบบการวิจัยให้เหมาะสมกับคำถามการวิจัยทางระบาดวิทยาและเหตุผล ข้อดี ข้อเสีย และข้อจำกัดของรูปแบบการวิจัยแบบต่างๆ ความหมายและการควบคุมอคติ ตัวแปรกวนและความคลาดเคลื่อนต่างๆ การวิจารณ์คุณภาพงานวิจัยทางระบาดวิทยา Screening test และการประเมิน Screening program หลักการของ Causality

     ดังนั้น ระบาดวิทยาประยุกต์ (applied epidemiology) จึงเป็นการประยุกต์ใช้หลักการของระบาดวิทยาซึ่งเป็นศาสตร์ที่เป็นพื้นฐานที่สำคัญในการออกแบบงานวิจัยทางสุขภาพ ร่วมกับความรู้ด้านชีวสถิติ (biostatistics) ซึ่งเกี่ยวกับทักษะในการวิเคราะห์ข้อมูล การพัฒนาแบบจำลองทางสถิติเพื่อทดสอบสมมติฐาน และหลักการทางเศรษฐศาสตร์ทางสาธารณสุขในการประเมินการบริการทางสุขภาพ จะช่วยนักวิจัยที่ทำงานวิจัยด้านสุขภาพสามารถผลิตงานวิจัยที่มีคุณภาพ มีความน่าเชื่อถือตามหลักการทางวิทยาศาสตร์ สามารถตอบคำถามวิจัยได้อย่างถูกต้อง สามารถนำผลการศึกษาไปใช้ประโยชน์ในการวางแผนแก้ปัญหาทางสาธารณสุขและดูแลรักษาผู้ป่วยในเวชปฏิบัติตามหลักการแพทย์เชิงประจักษ์ (evidence-based medicine) ได้อย่างเหมะสม

     ศูนย์มีวัตถุประสงค์ในการผลิตงานวิจัยที่ตอบปัญหาสาธารณสุขที่สำคัญของประเทศ และประเมินวิธีการป้องกันรักษาภาวะผิดปกติของสุขภาพกายและใจ ใน community และ clinical setting โดยประยุกต์หลักการทางระบาดวิทยาและชีวสถิติ เพื่อเพิ่มปริมาณและพัฒนาคุณภาพนักวิจัยทางด้านสุขภาพในบุคลากรทางการแพทย์และสาธารณสุข ทั้งในระดับ community และ hospital setting โดยบูรณาการความรู้ด้านระบาดวิทยาและทักษะการวิเคราะห์ข้อมูลทางชีวสถิติ เพื่อพัฒนาเครื่องมือการประเมินคุณภาพชีวิตและสุขภาพจิตที่เหมาะสมกับบริบทของสังคมไทยในการนำไปใช้ในงานวิจัยและงานบริการสุขภาพ

11. ศูนย์แห่งความเป็นเลิศทางวิชาการด้านการจัดการการปฏิบัติการและสารสนเทศ

Center of Excellence in Operations and Information

หัวหน้าศูนย์ :

รองศาสตราจารย์ ดร. ปีเตอร์ รักธรรม

สังกัด :

คณะพาณิชย์ศาสตร์และการบัญชี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

     ศูนย์ความเป็นเลิศด้านการจัดการการปฏิบัติการและสารสนเทศ มีวัตถุประสงค์ที่จะพัฒนาและเผยแพร่ความรู้ด้านการจัดการการปฏิบัติการ (Operations Management) และ การจัดการสารสนเทศ (Information Management) รวมถึงแนวปฏิบัติการจัดการการปฏิบัติการและสารสนเทศที่มีความก้าวหน้าซึ่งองค์กรธุรกิจจะสามารถนำไปใช้ในการดำเนินการทางธุรกิจได้ อีกทั้งทางศูนย์ยังมีเป้าหมายหลักที่ต้องการทำวิจัยเชิงวิชาการ (Scholarly Research) ที่มีความเข้มข้นผ่านรูปแบบการวิจัยที่มีความหลากหลาย เช่น การพัฒนาทฤษฎี (Theory Development) ตัวแบบ (Modelling) การทดสอบทฤษฎีผ่านการใช้ข้อมูลเชิงประจักษ์ (Theory Testing with Empirical Data) และการพัฒนาเครื่องมือเชิงประยุกต์ (Developing of Application-based Tools) เพื่อที่จะสามารถตอบโจทย์วิจัยทางธุรกิจที่มีความซับซ้อนได้ วัตถุประสงค์ของการทำวิจัยหลัก คือ การเผยแพร่ความรู้ให้กับ นักวิชาการ ผู้ประกอบการและนักธุรกิจ ผู้ที่มีส่วนในการวางแผนและการสร้างนโยบาย ผู้ให้คำปรึกษาด้านธุรกิจอีกทั้งการเผยแพร่สู่สังคมในวงกว้างผ่านการตีพิมพ์ในวารสารวิชาการ

ติดตามได้ที่ :

http://www.coe-oim.com/

12. ศูนย์แห่งความเป็นเลิศทางวิชาการด้านตัวเร่งปฏิกริยาเคมีและการดูดซับด้านสิ่งแวดล้อม

Center of Excellence in Environmental Catalysis and Adsorption

หัวหน้าศูนย์ :

รองศาสตราจารย์ นุรักษ์ กฤษดานุรักษ์

สังกัด :

คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

ศูนย์มีวัตถุประสงค์ในการสร้างความโดเด่นในการวิจัยด้านตัวเร่งปฏิกิริยาและตัวดูดซับ ในกลุ่มต่างๆดังนี้

     1. ถ่านกัมมันต์ มีพื้นที่ผิวมาก สามารถพัฒนาไปในเชิงการค้า และใช้งานได้เพราะราคาถูกสุด โดยจะพัฒนาเป็นตัวดูดซับไอปรอท และเพิ่มประสิทธิภาพโดยการ Surface modification แบบต่างๆๆ

     2. คาร์บอนนาโนทิวส์ มีพื้นที่ผิวมากแต่ด้วยราคาที่สูง จึงจะพัฒนาในเชิง Sensor

     3. ตัวเร่งปฏิกิริยา เน้นตัวเร่งปิฏิกิริยาเชิงแสง เพื่อสลายสารเคมีที่มีอันตรายสูง โดยกลุ่มนี้จะมี TiO2 ZnO Graphene CuS เป็นต้น

     4. ตัวรีดิวซ์รุนแรง เพื่อปฏิกิริยาการทำร้าย หรือ ลดความเป็นอันตรายของสาร Arsenic โดยกลุ่มนี้จะมี NZVI Modified NZVI เป็นต้น

     5. ตัวเก็บประจุพิเศษ เน้นการกักเก็บพลังงานโดยสังเคราะห์จาก วัสดุทางการเกษตร เช่น Biochar และพืชตระกูลเขียวจัด

ติดตามได้ที่ :

https://ceecaengrtu.wordpress.com/

13. ศูนย์ความเป็นเลิศทางวิชาการด้านวิศวกรรมวัสดุสมบัติพิเศษขั้นสูง

Center of Excellence in Function Advanced Materials Engineering : CoE FAME

หัวหน้าศูนย์ :

รองศาสตราจารย์ ดร. ปกรณ์ โอภาประกาสิต

สังกัด :

สถาบันเทคโนโลยีนานาชาติสิรินธร มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

     ศูนย์มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนางานวิจัยด้านวัสดุและเทคโนโลยีพลาสมาสู่งานวิจัยระดับนานาชาติ ที่มีผลกระทบสูงต่อการพัฒนาประเทศ และสนับสนุนการพัฒนาแบบระยะยาว (long term development) ของประเทศด้านการวิจัยและการสร้างบุคลากรผู้มีความรู้ทางด้านวัสดุและเทคโนโลยีพลาสมา และส่งเสริมกิจกรรมวิจัยทางด้านเทคโนโลยีพลาสมาและพลังงานนิวเคลียร์ฟิวชันของประเทศไทย เพื่อสนับสนุนข้อตกลงทางการวิจัยระหว่าง สถาบันเทคโนโลยีนานาชาติสิรินธร/สถาบันเทคโนโลยีนิวเคลียร์แห่งชาติ และหน่วยวิจัย Commissariat à l’Energie Atomique (CEA) ประเทศฝรั่งเศส อีกทั้งมีเป้าหมายเพื่อเป็นศูนย์วิจัยชั้นนำของประเทศ ที่ดำเนินงานวิจัยและพัฒนา ตั้งแต่ระดับพื้นฐานและการประยุกต์อย่างครับวงจรจนนำไปสู่การประยุกต์ใช้ประโยชน์ผลงานวิจัยในระดับอุตสาหกรรม เพื่อสร้างงาน สร้างรายได้ อันจะส่งผลกระทบอย่างสูงต่อการพัฒนาประเทศ

14. ศูนย์แห่งความเป็นเลิศทางวิชาการด้านวิจัยและนวัตกรรมเพื่อการขนส่งเมือง

Center of Excellent in Urban Mobility Research and Innovation

หัวหน้าศูนย์ :

รองศาสตราจารย์ ดร. ภาวิณี เอี่ยมตระกูล

สังกัด :

คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์และการผังเมือง มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

     จากปัญหาการเติบโตอย่างรวดเร็วของเมืองทั้งในมิติสังคม เศรษฐกิจ และสิ่งแวดล้อม รวมถึงปัญหา จากการเพิ่มขึ้นของจำนวนประชากรอันส่งผลต่อการพัฒนาทางด้านโครงสร้างพื้นฐานเพื่อรองรับการพัฒนา โดยเฉพาะทางด้านระบบคมนาคมขนส่งของเมือง (Urban Transportation) ซึ่งเป็นหนึ่งในปัจจัยสำคัญของการ ขับเคลื่อนแนวทางการพัฒนาของเมือง จึงจำเป็นอย่างยิ่งที่ต้องพัฒนาระบบคมนาคมขนส่งของเมืองให้เกิดประสิทธิภาพมากขึ้นด้วย การพัฒนาภายใต้การพัฒนาอย่างชาญฉลาด (Smart city) เพื่อส่งเสริมการพัฒนาอย่างยั่งยืน (Sustainable development) ทั้งนี้ในการขับเคลื่อนการพัฒนา จำเป็นต้องอาศัยการบูรณาการศาสตร์ทั้งวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ร่วมกับด้านสังคมศาสตร์ในการตอบโจทย์และสร้างนวัตกรรมทุกด้านของการพัฒนาให้เกิดความยั่งยืน

     ศูนย์จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาแนวทางการแก้ไขปัญหาคมนาคมขนส่งเมืองเชิงนวัตกรรมอย่างบูรณาการและยั่งยืน (Sustainable Transportation Innovation) ตามกลุ่มประเด็นการพัฒนา 5 ด้าน อันประกอบด้วย ด้านนวัตกรรมระบบคมนาคมขนส่ง ด้านนวัตกรรมระบบสารสนเทศเพื่อการบริการ ด้านนวัตกรรมพลังงานทางเลือกที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ด้านการบริหารจัดการของรัฐเพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตทางสังคม และด้านศักยภาพและความสามารถในการแข่งขันทางเศรษฐกิจ และเพื่อพัฒนาฐานองค์ความรู้และเครื่องมือในการวิเคราะห์ (Integrated Knowledge) ภายใต้การพิจารณา การมีส่วนร่วม (Participation) และการประเมินผลอย่างบูรณาการ (Implementation) อันจะก่อให้เกิดประสิทธิภาพและความคุ้มค่าในการขนส่งคนและสินค้า รวมถึงการก่อให้เกิดคุณภาพของสภาพแวดล้อมเมืองซึ่งเป็นประโยชน์แก่ประชาชน สังคม และเศรษฐกิจ

15. ศูนย์แห่งความเป็นเลิศทางวิชาการด้านวิทยาศาสตร์และนวัตกรรมทางอาหารแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

Thammasat University Center of Excellence in Food Science and Innovation

หัวหน้าศูนย์ :

รองศาสตราจารย์ ดร. ประภาศรี เทพรักษา

สังกัด :

คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

     ศูนย์ก่อตั้งขึ้นด้วยการรวมตัวของอาจารย์กลุ่มหนึ่งในสาขาวิชาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการอาหาร และผู้เชี่ยวชาญต่างประเทศ ที่มีประสบการณ์ในการวิจัยสร้างองค์ความรู้ใหม่ตีพิมพ์เผยแพร่ในวารสารวิชาการ และยังสามารถนำองค์ความรู้มาประยุกต์ใช้ในการผลิตผลงานสิ่งประดิษฐ์ที่พัฒนาสินค้าเกษตรไปสู่ผลิตภัณฑ์อาหารที่มีมูลค่าสูง และสามารถใช้ประโยชน์ในเชิงพาณิชย์ได้จริง โดยศูนย์มีวัตถุประสงค์ดังนี้

     1. ผลิตผลงานวิจัยวิทยาศาสตร์และนวัตกรรมทางอาหารตีพิมพ์เผยแพร่ในวารสารวิชาการระดับชาติและระดับนานาชาติ

     2. ผลิตผลงานสิ่งประดิษฐ์ทางด้านนวัตกรรมอาหาร ที่พร้อมต่อยอดสู่การผลิตเชิงพาณิชย์ทั้งในระดับชาติและระดับนานาชาติ

     3. ผลิตนักวิจัยระดับปริญญาโท ปริญญาเอก และหลังปริญญาเอก ทางด้านวิทยาศาสตร์และนวัตกรรมทางอาหาร

     4. เผยแพร่ผลงาน และประสานงานงานความร่วมมือวิจัย กับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทั้งภายในและภายนอกประเทศ

16. ศูนย์แห่งความเป็นเลิศทางวิชาการด้านนวัตกรรมการเกษตรตลอดห่วงโซ่อุปทานและคุณค่าแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

Thammasat University Center of Excellence in Agriculture Innovation Centre through Supply Chain and Value Chain

หัวหน้าศูนย์ :

รองศาสตราจารย์ ดร. วรภัทร ลัคนทินวงศ์

สังกัด :

คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

     พันธกิจของศูนย์

     1. วิจัยและพัฒนานวัตกรรมการเกษตรตลอด supply chain เพื่อพัฒนาเกษตรกรและภาคเกษตรอุตสาหกรรมเพื่อการแข่งขันในตลาดภายในและภายนอกประเทศ ผลงานวิจัยนำไปตีพิมพ์และบริการวิชาการแก่ภาครัฐและเอกชน ทั้งในและนอกประเทศ

     2. สรรหางบวิจัยจากแหล่งทุนต่างๆภายนอกมหาวิทยาลัย จากหน่วยงานให้ทุนจากภาครัฐและเอกชนทั้งในและนอกประเทศ

     3. สร้างความร่วมมือทางวิชาการและธุรกิจนวัตกรรม เพื่อนำนวัตกรรมจากการวิจัยไปใช้ประโยชน์จริงกับภาคเอกชนทั้งในและต่างประเทศ

     4. ตีพิมพ์หรือเผยแพร่ผลงานทางวิชาการในวารสารวิชาการในระดับนานาชาติที่ปรากฏอยู่ในฐานข้อมูลสากล

     5. ผลิตผลงานทางวิชาการที่ถูกนำไปใช้ประโยชน์ในภาครัฐ เอกชน ชุมชน หรือสังคม

     6. ผลงานทางวิชาการได้รับรางวัลในระดับชาติและนานาชาติ

     7. ผลิตผลงานวิชาการรับใช้สังคม

     8. แลกเปลี่ยนนักวิจัยหรือนักศึกษากับสถาบันวิจัยในต่างประเทศ

     วัตถุประสงค์ของหน่วยวิจัย

     1. วิจัยและพัฒนานวัตกรรมการเกษตรตลอด supply chain เพื่อพัฒนาเกษตรกรและภาคเกษตรอุตสาหกรรมเพื่อการแข่งขันในตลาดภายในและภายนอกประเทศ

     2. สร้างความร่วมมือทางวิชาการกับภาครัฐและเอกชน เพื่อการวิจัยและพัฒนานวัตกรรมการเกษตรไปใช้ประโยชน์จริงในเชิงพาณิชย์

     3. ผลิตบัณฑิตที่มีคุณภาพ และสร้างสรรผลงานเพื่อตีพิมพ์

17. ศูนย์แห่งความเป็นเลิศทางวิชาการด้านโรคระบบทางเดินอาหารแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

Thammasat University Center of Excellence in Digestive Diseases

หัวหน้าศูนย์ :

ศาสตราจารย์ ดร. นายแพทย์ รัฐกร วิไลชนม์

สังกัด :

คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

     พันธกิจของศูนย์

     1. เป็นศูนย์การวิจัยเพื่อสร้างองความรู้ที่นำไปสู่การประเมินความเสี่ยง การวินิจฉัยโรค การดูแลรักษารวมทั้งการพยากรณ์โรคระบบทางเดินอาหาร เพื่อแก้ปัญหาสุขภาพของประชาชน

     2. ผลิตผลงานวิจัยด้านโรคระบบทางเดินอาหารที่ครบวงจร และเผยแพร่ข้อมูลงานวิจัยไทยสู่ระดับโลก

     3. ผลิตบัณฑิตและบุคลากรที่มีศักยภาพด้านการวิจัย

     วัตถุประสงค์ของหน่วยวิจัย

     1. เป็นศูนย์กลางการวิจัยแบบสหสาขาด้านโรคระบบทางเดินอาหาร เพื่อผลิตผลงานวิจัยที่มีคุณภาพ ได้รับการอ้างอิงทั้งระดับชาติและนานาชาติ เพื่อผลักดันให้มหาวิทยาลัยมีชื่อเสียงเป็นที่รู้จักในวงแวดวงวิชาการทั้งในระดับชาติและนานาชาติ

     2. ผลิตบัณฑิตระดับหลังปริญญา ที่มีศักยภาพด้านการวิจัย

     3. เป็นแหล่งข้อมูลและองค์ความรู้ด้านกลไกการเกิดโรคระบบทางเดินอาหาร โดยอาศัยข้อมูลในประเทศไทยและเปรียบเทียบกับประเทศอื่นๆ ทั้งในเอเชีย ยุโรป และอเมริกา อันจะเป็นการป้องกันการเกิดโรค เพิ่มประสิทธิภาพในการรักษาโรค สร้างความสัมพันธ์อันดีระหว่างประเทศที่ศึกษาร่วมกัน ตลอดจนสร้างงานวิจัยไทยออกสู่ระดับสากล

18. ศูนย์แห่งความเป็นเลิศทางวิชาการด้านเทคโนโลยีสมัยใหม่และการผลิตขั้นสูงสำหรับนวัตกรรมทางการแพทย์แห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

Thammasat University Center of Excellence in Modern Technology and Advanced Manufacturing for Medical innovation

หัวหน้าศูนย์ :

ศาสตราจารย์ ดร. นายแพทย์อดิศว์ ทัศณรงค์

สังกัด :

วิทยาลัยแพทยศาสตร์นานาชาติจุฬาภรณ์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

     พันธกิจเพื่อความเข้มแข็งทางการบริหารจัดการ

     1. สนับสนุนและผลักดันให้เกิดการทำวิจัย สร้างต้นแบบการพัฒนานวัตกรรมทางการแพทย์ในประเทศเพื่อให้เป็นไปตามแผนยุทธศาสตร์ของชาติในการพัฒนาประเทศไทยให้เป็นศูนย์กลางสุขภาพนานาชาติและให้มีการดำเนินการเป็นโครงการขนาดใหญ่ ซึ่งจะประกอบไปด้วยนักวิจัยรุ่นใหม่ นักวิจัยรุ่นกลาง และนักวิจัยอาวุโสทำงานวิจัยร่วมกัน

     2. นำความพร้อมของนักวิจัยที่ทำงานด้านวิทยาศาสตร์สุขภาพและวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีของมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์มารวมกัน และช่วยสนับสนุนและผลักดันในการแสวงหาแหล่งทุน ครุภัณฑ์ และวัสดุอุปกรณ์ให้เพิ่มมากขึ้น

     3. สร้างนวัตกรรมผลิตภัณฑ์ บริการ สภาพแวดล้อม และโครงสร้างพื้นฐาน โดยได้ดำเนินการจัดทำแผนการพัฒนาพื้นที่นวัตกรรมการแพทย์ของมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ให้เป็นศูนย์กลางและการรักษาและการพัฒนานวัตกรรมสุขภาพต้นแบบขึ้น โดยมีเครื่องมือและกลไกที่เอื้อต่อการประกอบธุรกิจและส่งเสริมคุณภาพชีวิต อันก่อให้เกิดการเชื่อมต่อ (connecting) ของผู้คนและแนวความคิดการพัฒนานวัตกรรม รวมถึงการมีกลไกที่ส่งเสริมการสร้างสรรค์นวัตกรรม (co-creation) และการแบ่งปันความรู้ระหว่างกัน (knowledge sharing)

     พันธกิจเพื่อความเข้มแข็งทางด้านวิชาการ

     1. สร้างวัสดุ เซนเซอร์ อุปกรณ์ เครื่องมือและเวชภัณฑ์ทางการแพทย์เพื่อใช้ในอุตสาหกรรมการแพทย์และสาธารณสุข ที่มีความเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมและร่างกายมนุษย์ จะมุ่งเน้นการเพิ่มความสามารถในการแข่งขันด้านงานวิจัยและพัฒนาของประเทศ เป็นการทำงานแบบบูรณาการร่วมกับผู้ใช้งานจริง มีความเชื่อมโยงกับอุตสาหกรรมเป้าหมายอย่างชัดเจน โดยจะสนับสนุนงานวิจัยทั้งด้านพื้นฐานและประยุกต์ที่ตอบโจทย์/ปัญหาของประเทศ เพื่อยกระดับการศึกษาและการวิจัยของมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ให้เป็นที่ยอมรับในระดับสากล ให้เป็นเทคโนโลยีหลักที่ทำให้ประเทศไทยเข้มแข็ง เชื่อมโยงและตอบสนองต่อการพัฒนาทั้งภาคการผลิต เศรษฐกิจ และสังคม

     2. สนับสนุนให้เกิดการรวมกลุ่มการทำวิจัยในลักษณะสหสาขาวิชา (Interdisciplinary) โดยการนำความพร้อมของนักวิจัยที่ทำงานด้านวิทยาศาสตร์สุขภาพและวิทยาศาสตร์เทคโนโลยี ของมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์มารวมกัน และช่วยผลักดันในการแสวงหาแหล่งทุน ครุภัณฑ์ และวัสดุอุปกรณ์ให้เพิ่มมากขึ้น โดยมีการดำเนินการเป็นโครงการขนาดใหญ่ ซึ่งจะประกอบไปด้วยนักวิจัยรุ่นใหม่ นักวิจัยรุ่นกลาง และนักวิจัยอาวุโสทำงานวิจัยร่วมกัน

     3. ผลักดันให้มีการวิจัยร่วมกับกลุ่มวิจัยทั้งในและนอกประเทศรวมทั้งภาคเอกชนและอุตสาหกรรมให้มากยิ่งขึ้น

     4. ผลักดันให้เกิดงานวิจัยและบริหารวิชาการที่สามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้จริง ทั้งในส่วนของชุมชน สังคม และ ภาคอุตสาหกรรมให้มากขึ้น

     5. จัดรูปแบบการบริหารงานวิจัยเพื่อนำไปสู่การพึ่งตนเอง

     6. ผลักดันให้นักวิจัยด้านวัสดุศาสตร์นำความรู้ที่ได้จากงานวิจัยมาบริการวิชาการเพื่อให้สอดคล้องกับความต้องการของชุมชนท้องถิ่นและภาคอุตสาหกรรมมากยิ่งขึ้น ทั้งยังเผยแพร่ข้อมูลศักยภาพนักวิจัยและเครื่องมือที่ใช้ในการบริการวิเคราะห์ เพื่อให้เกิดการบริการวิขาการมากยิ่งขึ้น พร้อมทั้งแสงวงหาโจทย์วิจัยเพื่อพัฒนา ภาคอุตสาหกรรม ชุมชน สังคม และผลักดันให้เกิดงานวิจัยและบริการวิชาการร่วมกันทั้งสองฝ่าย

     วัตถุประสงค์ของหน่วยวิจัย

     สร้าง ประดิษฐ์ และพัฒนานวัตกรรมเครื่องมือ เวชภัณฑ์ทางการแพทย์ วัสดุ เซนเซอร์ และอุปกรณ์ ไปใช้ประโยชน์ในการทำหน้าที่ต่างๆ (ใช้ในการทดแทนส่วนของร่างกายที่เสียหาย, ช่วยรักษาการบาดเจ็บของร่างกาย, ปรับปรุงการทำงานของร่างกาย, เพื่อเพิ่มความสวยงาม, ช่วยในการวิเคราะห์โรคและการรักษา) เพื่อประยุกต์ในอุตสาหกรรมการแพทย์ (แผนไทยและแผนปัจจุบัน) และสาธารณสุขที่มีความเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมและร่างกายมนุษย์

19. ศูนย์แห่งความเป็นเลิศทางวิชาการด้านสังคมสงเคราะห์ศาสตร์และนโยบายสังคมแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

Thammasat University Center of Excellence in Social Work and Social Policy

หัวหน้าศูนย์ :

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. ภุชงค์ เสนานุช

สังกัด :

คณะสังคมสงเคราะห์ศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

     พันธกิจของศูนย์

     1. สนับสนุน ผลักดัน ให้เกิดการทำงานวิจัยและนวัตกรรมสังคม แบบสหวิทยาการ ที่สอดคล้องกับยุทธศาสตร์ชาติผ่านงานวิจัยด้านสังคมสงเคราะห์ และนโยบายสังคม

     2. บูรณาการการทำงานวิจัยและนวัตกรรมสังคม มุ่งตอบโจทย์การพัฒนาประเทศนำไปสู่การแลกเปลี่ยนเรียนรู้ระหว่างสถาบันการศึกษา กลุ่มเป้าหมาย หน่วยงานภาครัฐ หน่วยงานเอกชน ทั้งในและต่างประเทศ รวมทั้งองค์การระหว่างประเทศ ทางสังคมทั้งเชิงวาระแห่งชาติ (Agenda-based) เชิงประเด็น (Issue-based) เชิงพื้นที่ (Area-based) กับแหล่งทุนภายนอกในการขับเคลื่อนประเทศ

     3. นำผลงานวิจัยไปพัฒนาต่อยอดและใช้ประโยชน์เพื่อตอบโจทย์การวิจัยของประเทศ และไปพัฒนา เป็นนโยบายให้เกิดเป็นบริการกับกลุ่มเป้าหมายในแต่ละช่วงวัย ในระดับพื้นที่ขององค์กรปกครอง ส่วนท้องถิ่น

     วัตถุประสงค์ของศูนย์

     1. เพื่อผลิตผลงานวิจัยที่เกิดจากความร่วมมือระหว่างสถาบันการศึกษา หน่วยงานภาครัฐ หน่วยงาน เอกชนทั้งในและต่างประเทศ รวมทั้งองค,การระหว่างประเทศ

     2. เพื่อพัฒนาสร้างศูนย์เรียนรู้ต้นแบบด้านการวิจัยและนวัตกรรมทางสังคมด้านสังคมสงเคราะห์ศาสตร์ และนโยบายสังคม

     3. พัฒนาองค์ความรู้ใหม่ด้านสังคมสงเคราะห์ศาสตร์และนโยบายสังคมที่จะนำไปสู่การพัฒนาทาง วิชาการ การพัฒนาคุณภาพชีวิตของประชาชนกลุ่มเป้าหมายทุกช่วงวัย (วัยเด็ก วัยทำงาน วัยสูงอายุ)

20. ศูนย์แห่งความเป็นเลิศทางวิชาการด้านวิศวกรรมและเทคโนโลยีโลจิสติกส์และโซ่อุปทานแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

Thammasat University Center of Excellence in Logistics and Supply Chain Systems Engineering and Technology (LogEn)

หัวหน้าศูนย์ :

รองศาสตราจารย์ ดร. ชวลิต จีนอนันต์

สังกัด :

สถาบันเทคโนโลยีนานาชาติสิรินธร มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

     พันธกิจของศูนย์

     1. ด้านการวิจัย ศูนย์วิจัยมีจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานวิจัยทางด้านระบบ และเทคโนโลยีด้านโลจิสติกส์และโซ่อุปทาน ที่สามารถตอบสนองความต้องการของประเทศ ซึ่งจะช่วยพัฒนาประเทศในด้านโลจิสติกส์และโซ่อุปทานได้

     2. ด้านการบริการวิชาการแก่สังคม ศูนย์วิจัยมุ่งเน้นให้การบริการวิชาการแก่สังคม ในลักษณะการฝึกอบรม และการให้คำปรึกษาทางด้านโลจิสติกส์และโซ่อุปทาน ทั้งหน่วยงานภาครัฐและภาคธุรกิจ สถาบันการศึกษาและสถานประกอบการ เพื่อยกระดับคุณภาพบุคลากรให้สูงขึ้น เพื่อเพิ่มขีดความสามารถการแข่งขันขององค์กร

     3. ด้านพัฒนาบัณฑิตและนักวิจัย ศูนย์วิจัยมุ่งเน้นพัฒนาบัณฑิตระดับปริญญาโทและปริญญาเอกในการวิจัยพัฒนาระบบและเทคโนโลยีด้านโลจิสติกส์และโซ่อุปทาน โดยงานวิจัยมาจากความต้องการจากภาคธุรกิจและสถานประกอบการ

     วัตถุประสงค์ของศูนย์

     1. เพื่อพัฒนางานวิจัยเชิงวิชาการและงานวิจัยประยุกต์ในศาสตร์ด้านวิศวกรรมและเทคโนโลยีโลจิสติกส์และโซ่อุปทาน เพื่อให้เกิดองค์ความรู้และนวัตกรรมที่ตอบสนองความต้องการของอุตสาหกรรมสมัยใหม่

     2. เพื่อสร้างความร่วมมือความเป็นเครือข่ายทางวิชาการและวิชาชีพกับ สถาบันการศึกษา รวมถึงหน่วยงานอื่นๆ ในการผลิตงานวิจัยและพัฒนาศักยภาพด้านโลจิสติกส์และโซ่อุปทานทั้งในประเทศและต่างประเทศ

     3. เพื่อให้บริการวิชาการด้านวิศวกรรมและเทคโนโลยีด้านโลจิสติกส์และโซ่อุปทาน ทั้งภาคธุรกิจและอุตสาหกรรม โดยการสร้างเสริมศักยภาพ ให้แก่บุคลากรและองค์กร

     4. เพื่อพัฒนาบัณฑิตทางด้านวิศวกรรมและเทคโนโลยีโลจิสติกส์และโซ่อุปทาน โดยมุ่งเน้นให้มีความเป็นเลิศทางวิชาการ ความเป็นสากล และตอบสนองความต้องการของอุตสาหกรรม

21. ศูนย์แห่งความเป็นเลิศทางวิชาการด้านกลศาสตร์และวิศวกรรมทางการแพทย์ด้วยการคำนวณแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

Thammasat University Center of Excellence in Computational Mechanics and Medical Engineering

หัวหน้าศูนย์ :

รองศาสตราจารย์ ดร.วิโรจน์ ลิ่มตระการ

สังกัด :

คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

     พันธกิจของศูนย์

     มุ่งมั่นพัฒนาองค์ความรู้ด้านการคำนวณขั้นสูงของกลศาสตร์และวิศวกรรมทางการแพทย์ของศูนย์ฯ ให้มีผลงานเป็นที่ประจักษ์ มีนวัตกรรมที่ดีและใช้งานได้จริง มีมาตรฐานสากล และแข่งขันกับต่างประเทศได้

     วัตถุประสงค์ของศูนย์

     พัฒนาองค์ความรู้ด้านกลศาสตร์และวิศวกรรมทางการแพทย์ด้วยการคำนวณ ทั้งในด้านวิชาการและนวัตกรรมให้ไปสู่ความเป็นเลิศในระดับสากลและยั่งยืน

22. ศูนย์แห่งความเป็นเลิศทางวิชาการด้านความเชื่อมโยงแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

Thammasat University Center of Excellence in Connectivity

หัวหน้าศูนย์ :

ศาสตราจารย์ ดร.รุธิร์ พนมยงค์

สังกัด :

คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

     พันธกิจของศูนย์

     สร้างงานวิจัยทางด้านการจัดการการขนส่ง การจัดการโลจิสติกส์และห่วงโซ่อุปทานที่จะก่อให้เกิดประโยชน์ทั้งทางวิชาการและการดําเนินการทางธุรกิจในระดับองค์กรและการบริหารจัดการนโยบายในระดับประเทศ

     วัตถุประสงค์ของศูนย์

     1. พัฒนาและส่งเสริมงานวิจัยด้านการจัดการการขนส่ง การจัดการโลจิสติกส์และห่วงโซ่อุปทาน

     2. สร้างความร่วมมือกับองค์กรธุรกิจและหน่วยงานภาครัฐเพื่อทําการแลกเปลี่ยนองค์ความรู้และร่วมมือกัน พัฒนาโครงการที่เกี่ยวข้องกับการจัดการการขนส่ง การจัดการโลจิสติกส์และห่วงโซ่อุปทาน

     3. พัฒนานักวิจัยและนักศึกษาระดับบัณฑิตศึกษาผ่านการทําวิจัยและการเรียนในส่วนที่เกี่ยวข้องกับองค์ ความรู้ด้านการจัดการการขนส่ง การจัดการโลจิสติกส์และห่วงโซ่อุปทาน